วันจันทร์ที่ 5 ตุลาคม พ.ศ. 2558

“ปัญจมหาราชา” ๕ พระบูรพกษัตราธิราชเจ้าแห่งพระบรมราชจักรีวงศ์

“ปัญจมหาราชา” ๕ พระบูรพกษัตราธิราชเจ้าแห่งพระบรมราชจักรีวงศ์
คือรัชกาลที่ ๔-๗ และรัชกาลที่ ๙ ภายใต้ร่มเงาเศวตฉัตรแห่งพระบวรพุทธศาสนา

 สมเด็จพระสังฆราชเจ้า กรมหลวงวชิรญาณวงศ์ (ม.ร.ว.ชื่น นภวงศ์ สุจิตฺโต) วัดบวรนิเวศวิหาร พระราชอุปัธยาจารย์ ของ พระภิกษุพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลปัจจุบัน ทรงเลือกพระองค์เมื่อครั้งทรงเป็นพระราชาคณะชั้นเทพที่ พระโศภณคณาภรณ์ ให้เป็น “พระอภิบาล” (พระพี่เลี้ยง) ของพระภิกษุพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ในระหว่างที่ทรงผนวชเป็นพระภิกษุ และเสด็จประทับ ณ วัดบวรนิเวศวิหาร โดยเสด็จมาประทับ ณ พระตำหนักปั้นหยา หนึ่งคืนตามพระราชประเพณี แล้วจึงเสด็จมาประทับ ณ พระตำหนักทรงพรต ที่สร้างขึ้นในสมัยรัชกาลที่ ๕

  ทรงเป็นพระมหากษัตริย์พระองค์ที่ ๒ แห่งพระบรมราชจักรีวงศ์ ที่เสด็จออกทรงพระผนวชขณะทรงครองราชย์อยู่
(พระองค์แรกคือพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๕) และทรงเป็นพระมหากษัตริย์พระองค์ที่ ๕ แห่งพระบรมราชจักรีวงศ์ ที่ได้เสด็จออกทรงพระผนวชต่อจากพระบูรพกษัตราธิราชเจ้ารัชกาลที่ ๔-๗

วัดประจำรัชกาล

วัดประจำรัชกาล


รัชกาลที่ ๑ พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช
วัดประจำรัชกาลที่ ๑ คือ วัดพระเชตุพนวิมลมังคลารามราชวรมหาวิหาร
ตั้งอยู่ริมถนนสนามไชยและถนนมหาราช ติดกับพระบรมมหาราชวัง แขวงพระบรมมหาราชวัง เขตพระนคร กรุงเทพมหานคร
ความสำคัญ : พระอารามหลวง ชั้นเอก ชนิดราชวรมหาวิหาร ๑ ใน ๖ ของไทย และเป็นวัดประจำรัชกาลที่ ๑





รัชกาลที่ ๒ พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย
วัดประจำรัชกาลที่ ๒ คือ วัดอรุณราชวรารามราชวรมหาวิหาร
ตั้งอยู่ทางทิศตะวันตกของแม่น้ำเจ้าพระยา ถนนอรุณอมรินทร์ แขวงวัดอรุณ เขตบางกอกใหญ่ กรุงเทพมหานคร
ความสำคัญ : พระอารามหลวง ชั้นเอก ชนิดราชวรมหาวิหาร ๑ ใน ๖ ของไทย และเป็นวัดประจำรัชกาลที่ ๒




ที่มารูปภาพ : http://www.uppices.com/images/15617391339012511122.jpg


รัชกาลที่ ๓ พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว
วัดประจำรัชกาลที่ ๓ คือ วัดราชโอรสารามราชวรวิหาร
ตั้งอยู่ที่ : ถนนเอกชัย แขวงบางค้อ เขตจอมทอง กรุงเทพมหานคร
ความสำคัญ : พระอารามหลวง ชั้นเอก เป็นวัดประจำรัชกาลที่ ๓





รัชกาลที่ ๔ พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
วัดประจำรัชกาลที่ ๔ คือ วัดราชประดิษฐสถิตมหาสีมาราม ราชวรวิหาร
ตั้งอยู่ที่ : ถนนสราญรมย์ แขวงพระบรมมหาราชวัง เขตพระนคร กรุงเทพมหานคร
ความสำคัญ : พระอารามหลวง ชั้นเอก ชนิดราชวรวิหาร เป็นวัดประจำรัชกาลที่ ๔


 

รัชกาลที่ ๕ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
วัดประจำรัชกาลที่ ๕ คือ วัดราชบพิธสถิตมหาสีมารามราชวรวิหาร
ตั้งอยูที่ : ถนนเฟื่องนคร แขวงวัดราชบพิธ เขตพระนคร กรุงเทพมหานคร
ความสำคัญ : พระอารามหลวง ชั้นเอก ชนิดราชวรวิหาร วัดประจำรัชกาลที่ ๕
พระบรมราชสรีรางคาร : รัชกาลที่ ๕ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว บรรจุที่ฐานพระพุทธชินราช(จำลอง)
ในพระอุโบสถ วัดเบญจมบพิตรดุสิตวนาราม และใต้ฐานพระพุทธอังคีรสในพระอุโบสถวัดราชบพิธสถิตมหาสีมาราม
เพราะได้ทรงตั้งใจก่อสร้างไว้อย่างสวยงาม





รัชกาลที่ ๖ พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว
วัดประจำรัชกาลที่ ๖ คือ ไม่มีวัดประจำรัชกาล แต่มีพระบรมราชโองการสถาปนาโรงเรียนมหาดเล็กหลวง
หรือวชิราวุธวิทยาลัยในปัจจุบัน ขึ้นแทนวัดประจำรัชกาล
พระบรมราชสรีรางคาร : รัชกาลที่ ๖ พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว บรรจุที่ฐานพระร่วงโรจนฤทธิ์ พระปฐมเจดีย์ จังหวัดนครปฐม
และฐานพระพุทธชินสีห์ วัดบวรนิเวศวิหาร ตามที่มีพระบรมราชโองการสั่งไว้ในพระราชพินัยกรรม





รัชกาลที่ ๗ พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว
วัดประจำรัชกาลที่ ๗ คือ วัดราชบพิธสถิตมหาสีมารามราชวรวิหาร
พระบรมราชสรีรางคาร : รัชกาลที่ ๗ พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว บรรจุที่ฐานพระพุทธอังคีรส ในพระอุโบสถ
วัดราชบพิธสถิตมหาสีมาราม เพราะเคยได้ทรงปฏิสังขรณ์ใหญ่





รัชกาลที่ ๘ พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาอานันทมหิดล
วัดประจำรัชกาลที่ ๘ คือ ไม่มีวัดประจำรัชกาล
พระบรมราชสรีรางคาร รัชกาลที่ ๘ พระบาทสมเด็จพระอัฐมรามาธิบดินทร บรรจุที่ฐานพระศรีศากยมุนี ในพระวิหารหลวง วัดสุทัศนเทพวราราม
เพราะเคยเสด็จพระราชดำเนินมาทอดพระเนตร แล้วมีพระราชดำรัสว่าวัดนี้สงบน่าอยู่จริง จึงมีผู้เห็นว่าเป็นวัดประจำรัชกาลที่ ๘ ไป





รัชกาลที่ ๙ พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช
วัดประจำรัชกาลที่ ๙ คือ วัดพระราม ๙ กาญจนาภิเษก
เป็นพระอารามหลวงประจำรัชกาลพระองค์ เกิดขึ้นเมื่อปี พ.ศ. ๒๕๓๘ ตามแนวพระราชดำริให้เป็นวัดตัวอย่างของวัดขนาดเล็กในชุมชนเมือง
เน้นความเงียบง่าย สงบ ประหยัดและประโยชน์ใช้สอยสูงสุด ตั้งอยู่บนเนื้อที่ ๘ ไร่ ๒ งาน ๕๔ ตารางวา บนถนนพระราม ๙ เขตห้วยขวาง


วันอาทิตย์ที่ 4 ตุลาคม พ.ศ. 2558

พระอารามหลวง คืออะไร แบ่งเป็นกี่ชั้น เพื่ออะไร

 วัดทั้งหมดทั่วประเทศแบ่งออกเป็น ๒ ลักษณะ คือ วัดที่ได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมา และสำนักสงฆ์ วัดที่ได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมา คือวัดที่มีอุโบสถเป็นที่ทำสังฆกรรม คำว่า วิสุงคามสีมา ในที่นี้หมายถึงเขตที่ พระมหากษัตริย์พระราชทานแก่สงฆ์เพื่อใช้เป็นที่สร้างโบสถ์ ส่วนสำนักสงฆ์ คือ วัดที่ยังไม่ได้รับพระราชทาน วิสุงคามสีมา จึงไม่มีอุโบสถ
ประเทศไทยเป็นประเทศที่ประชาชนส่วนใหญ่นับถือพระพุทธศาสนา สถานที่ชุมนุมสำคัญ ของพุทธศาสนาสนิกชน หรือสถานที่ที่เป็นศูนย์กลางของพุทธศาสนาก็คือ วัด ในประเทศไทยมีวัดเป็นจำนวนมาก แบ่งออกเป็น พระอารามหลวง หรือ วัดหลวง วัดราษฎร์ และวัดร้าง
พระอารามหลวง คือวัดที่พระมหากษัตริย์ หรือพระบรมวงศานุวงศ์ เช่น สมเด็จพระบรมราชินี สมเด็จพระยุพราช ทรงสร้างหรือทรงบูรณปฏิสังขรณ์ หรือมีผู้สร้างน้อมเกล้าน้อมกระหม่อมถวายเป็นวัดหลวง และวัดที่ราษฎรสร้าง หรือบูรณปฏิสังขรณ์ และขอพระราชทานให้ทรงรับไว้เป็นพระอารามหลวง เช่น วัดอรุณราชวรารามราชวรมหาวิหาร
วัดราษฎร์ ได้แก่วัดที่ประชาชนสร้าง หรือปฏิสังขรณ์ เช่น วัดประสาทบุญญาวาส
วัดร้าง คือวัดที่ทรุดโทรม ไม่มีพระสงฆ์พำนักอาศัยจำพรรษา ทางราชการจะขึ้นทะเบียนไว้ ซึ่งหากบูรณะได้อาจยกเป็นวัดมีพระสงฆ์ต่อไป เช่น วัดไชยวัฒนาราม (พระนครศรีอยุธยา)

[วัดเบญจมบพิตรดุสิตวนาราม พระอารามหลวง ชั้นเอก ชนิด ราชวรวิหาร]
     พระอารามหลวง ซึ่งหมายถึงวัดที่พระมหากษัตริย์ทรงสร้าง หรือทรงรับไว้เป็นวัดของพระราชวงศ์ หรือเป็นวัดที่ทรงอุปถัมภ์นั้น แต่ละวัดอาจมีฐานะ หรือระดับชั้นแตกต่างกันออกไป การจัดลำดับชั้นของวัดหลวง เริ่มมีขึ้นในรัชกาลพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว เมื่อ พ.ศ.๒๔๘๕ ซึ่งทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้จัดระเบียบแบ่งชั้นพระอารามหลวงออกเป็น ๓ ชั้น คือ ชั้นเอก ชั้นโท และชั้นตรี แต่ละชั้นยังแยกระดับออกไปอีกหลายระดับ โดยมีสร้อยต่อท้ายชื่อวัดตามฐานะดังนี้
๑.พระอารามหลวง ชั้นเอก ได้แก่ วัดที่มีความสำคัญ มีเจดียสถานบรรจุพระบรมอัฐิ หรือเป็นวัดที่มีเกียรติสูง มี ๓ ระดับ คือ
   ๑) ราชวรมหาวิหาร
   ๒) ราชวรวิหาร
   ๓) วรมหาวิหาร
๒.พระอารามหลวง ชั้นโท ได้แก่วัดที่มีเจดียสถานสำคัญ หรือวัดที่มีเกียรติ มี ๔ ระดับ คือ
   ๑) ราชวรมหาวิหาร
   ๒) ราชวรวิหาร
   ๓) วรมหาวิหาร
   ๔) วรวิหาร
๓.พระอารามหลวง ชั้นตรี ได้แก่วัดที่มีเกียรติ วัดประจำหัวเมือง หรือวัดที่มีความสำคัญชั้นรอง มี ๓ ระดับ คือ
   ๑) ราชวรวิหาร
   ๒) วรวิหาร
   ๓) วัดที่ไม่มีสร้อยต่อท้าย (สามัญ)

     การกำหนดแบ่งชนิดของพระอารามหลวงเริ่มมีขึ้นเมื่อปี พ.ศ. ๒๔๕๗ วัดหลวงที่มีฐานะสูงสุด คือ ชั้นเอกพิเศษ ชนิดราชวรมหาวิหาร มีทั้งหมด ๖ วัด อยู่ในกรุงเทพมหานคร ๔ วัด คือ

วัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม

วัดมหาธาตุยุวราชรังสฤษดิ์

วัดสุทัศนเทพวราราม

วัดอรุณราชวราราม
ที่เหลืออีก ๒ วัดนั้นอยู่ต่างจังหวัด ได้แก่

วันพฤหัสบดีที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2558

ประวัติคณะสงฆ์ธรรมยุติกนิกาย

รูปภาพ
พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 4 ในขณะทรงศีล


ประวัติคณะสงฆ์ธรรมยุติกนิกาย


นับแต่อดีตพระพุทธศาสนาได้เข้ามาเผยแผ่และประดิษฐานอยู่ในประเทศไทยเกินกว่าพันปีแล้ว โดยเข้ามาทั้งสายอาจริยวาท (มหายาน) และเถรวาท (หินยาน) แต่ในปัจจุบันสายอาจริยวาทนั้นมีผู้นับถือเพียงส่วนน้อยเป็นกลุ่มๆ ไปในแต่ละแห่ง เช่น คณะสงฆ์จีนนิกาย คณะสงฆ์อนัมนิกาย (พระญวน) เป็นต้น มีเพียงสายเถรวาทที่ยังคงเจริญรุ่งเรืองแพร่หลายและนับถือสืบทอดกันมาในทุก ภูมิภาคและยังได้แพร่หลายไปในต่างประเทศด้วย โดยคณะสงฆ์สายเถรวาทในประเทศไทยนั้นแบ่งย่อยเป็น 2 นิกายด้วยกัน คือ มหานิกาย ซึ่งมีพระสงฆ์อยู่จำนวน 80 กว่า% ของพระสงฆ์ทั้งหมด ส่วนที่เหลืออีก 10 กว่า% คือพระสงฆ์ใน ธรรมยุติกนิกาย

คณะสงฆ์มหานิกาย คือ คณะสงฆ์ที่นับถือและปฏิบัติสืบมาแต่นิกายลังกาวงศ์ คือประเทศศรีลังกา อันเป็นแบบดั้งเดิม ส่วน คณะสงฆ์ธรรมยุติกนิกาย นั้น สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาวชิรญาณวโรรส ทรงให้ความหมายไว้ว่า “ธรรมยุติกนิกาย คือ พระสงฆ์ออกจากมหานิกายนั้นเอง แต่ได้รับอุปสมบทในรามัญนิกายด้วยสืบสายต่อกันลงมา” คำว่า “ธรรมยุต” แปลว่า “ผู้ประกอบด้วยธรรม” หรือ “ชอบด้วยธรรม” หรือ “ยุติตามธรรม” หมายถึง คณะสงฆ์นี้เกิดขึ้นด้วยมุ่งแสวงหาว่าข้อใดเป็นธรรม เป็นวินัย เป็นคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า แล้วปฏิบัติในข้อนั้น โดยเว้นข้อที่ไม่เป็นธรรม ไม่เป็นวินัย ไม่เป็นคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า แม้จะเป็นข้อปฏิบัติที่ประพฤติตามกันมาแต่ผิดธรรมวินัยก็ตาม

คณะสงฆ์ธรรมยุติกนิกาย กำเนิดขึ้นจากการที่ พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 4 แต่ครั้งยังมิได้ทรงครองราชย์ และได้ทรงผนวชเป็นพระภิกษุในคณะสงฆ์มหานิกายอันนับถือกันมาแต่ดั้งเดิม เมื่อ พ.ศ.2367 มีพระนามว่า “วชิรญาโณ” เสด็จประทับ ณ วัดมหาธาตุ และได้เสด็จไปทรงศึกษาด้านวิปัสสนาธุระที่วัดสมอราย (วัดราชาธิวาส ในปัจจุบัน) และวัดราชสิทธาราม จนทรงเข้าใจเจนจบสิ้นความรู้ของพระอาจารย์ที่จะสอนได้ เมื่อทรงสงสัยไต่ถาม พระอาจารย์ก็มิสามารถตอบได้ ทูลแต่ว่าครูอาจารย์เคยสอนมาอย่างนี้เท่านั้น เป็นเหตุให้ทรงท้อถอยในด้านวิปัสสนาธุระ จึงเสด็จกลับมาประทับที่วัดมหาธาตุเพื่อศึกษาด้านคันถธุระ เพื่อให้สามารถอ่านพระไตรปิฎกได้ด้วยพระองค์เอง ทรง ศึกษาด้านภาษาบาลีจนแตกฉาน กระทั่งครั้งหนึ่งได้เข้าแปลพระปริยัติธรรมต่อหน้าพระที่นั่งตามที่พระบาท สมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 3 ทรงขอให้แปลให้ฟัง จึงทรงแปลพอเฉลิมพระราชศรัทธาเพียง 5 ประโยค ทั้งที่ทรงภูมิความรู้สูงกว่านั้น พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวจึงพระราชทานพัดยศสำหรับเปรียญเอก 9 ประโยคให้ทรงถือเป็นสมณศักดิ์

เมื่อทรงศึกษาพระไตรปิฎกโดยละเอียด ก็ทรงพบว่าข้อปฏิบัติทางพระธรรมวินัยของภิกษุบางหมู่ในเวลานั้น มีความผิดพลาดคลาดเคลื่อนไปจากพระธรรมวินัยมาช้านานแล้ว จึงสลดพระทัยในการจะทรงเพศบรรพชิตต่อไป วัน หนึ่งเสด็จเข้าสู่พระอุโบสถ วัดมหาธาตุ ทรงอธิษฐานขอให้ได้พบวงศ์บรรพชาอุปสมบท ที่บริสุทธิ์สืบเนื่องมาแต่พระพุทธเจ้าแต่ดั้งเดิมภายใน 7 วัน มิฉะนั้นจะทรงเข้าพระทัยว่าพระพุทธศาสนาที่บริสุทธิ์สิ้นแล้ว ก็จะลาสิกขาเสียจากสมณเพศไปเป็นฆราวาสรักษาศีลห้าศีลแปด ครั้นผ่านไปได้สักสองสามวัน ก็ได้ทรงได้ยินข่าวพระเถระชาวรามัญ (มอญ) รูปหนึ่งชื่อ ซาย พุทธวํโส (ซาย ในภาษามอญว่าหมายถึง น้ำผึ้ง) อุปสมบทมาจากเมืองมอญ ได้เป็นพระราชาคณะที่ พระสุเมธมุนี และเป็นเจ้าอาวาสวัดบวรมงคล หรือมีชื่อที่เรียกกันทั่วๆ ไปว่า วัดลิงขบ (เป็นวัดเก่าแก่ตั้งอยู่ริมแม่น้ำเจ้าพระยาตรงกันข้ามกับวัดสมอราย) เป็นผู้ชำนาญในพระวินัยปิฎกและประพฤติปฏิบัติอย่างเคร่งครัด จึงเสด็จไปทรงศึกษาด้วย พระสุเมธมุนีได้ทูลอธิบายถึงวัตรปฏิบัติของ คณะสงฆ์รามัญนิกายสีมากัลยาณี ที่ท่านได้อุปสมบทมาให้ทรงทราบอย่างละเอียด ชี้ให้เห็นชัดว่าวงศ์บรรพชาอุปสมบทนี้มีเชื้อสายมาจากพระอนุรุทธเถระ (พระอรหันตสาวกในสมัยพุทธกาล ผู้เป็นเลิศทางด้านทิพยจักษุหรือตาทิพย์) เชื่อมโยงมาจนถึงพระอุปัชฌาย์ของพระสุเมธมุนีได้ 88 ชั่วคนแล้ว ทรงพิจารณาเห็นว่าถูกต้องตามพระพุทธพจน์ที่ทรงศึกษาจากพระไตรปิฎก จึงมีพระราชศรัทธาที่จะประพฤติตามแบบพระมอญ และ เนื่องจากทรงพิจาณาเห็นว่าอุปสมบทวิธีตามแบบรามัญน่าจะถูกต้องตามพระพุทธ บัญญัติมากที่สุดในเวลานั้น จึงทรงทำทัฬหีกรรม คือ ทรงอุปสมบทซ้ำในคณะสงฆ์รามัญนิกายสีมากัลยาณีอีกครั้งหนึ่ง ณ วัดสมอราย โดยมีพระสุเมธมุนี (ซาย พุทธวํโส) เป็นพระอุปัชฌาย์ เมื่อ พ.ศ.2368 อันเป็นปีที่ทรงผนวชได้ 2 พรรษา และเสด็จกลับไปประทับอยู่ที่วัดมหาธาตุตามเดิม

คณะสงฆ์รามัญนิกายสีมากัลยาณี คือ พระภิกษุสงฆ์ผู้อุปสมบทในอุโบสถ ชื่อว่า กัลยาณีสีมา (Kalyani Sima) เมืองหงสาวดี ในรามัญประเทศ (ปัจจุบันคือเมืองพะโค-Bago ประเทศพม่า) ซึ่งเป็นนิกายเดียวกับ คณะสงฆ์ลังกาวงศ์ ในประเทศศรีลังกา กล่าวคือ เมื่อพระพุทธเจ้าปรินิพพานได้ 208 ปี หลังจากพระเจ้าอโศกมหาราช แห่งกรุงปาฏลีบุตร และพระโมคคัลลีบุตรติสสเถระ ได้ชำระพระพุทธศาสนาให้บริสุทธิ์จากเดียรถีย์ที่ปลอมบวชเข้ามาและสังคายนา พระไตรปิฎกครั้งที่ 3 แล้ว ได้ทรงส่งพระเถระทั้งหลายไปประกาศพระพุทธศาสนาในนานาประเทศ เช่น พระมหินทเถระ ซึ่งเป็นโอรสของพระเจ้าอโศกมหาราช เป็นหัวหน้านำพระพุทธศาสนาไปประดิษฐานในประเทศลังกา พระโสณะและพระอุตตระ เป็นหัวหน้านำพระพุทธศาสนาไปประดิษฐานในประเทศสุวรรณภูมิ (บริเวณเมืองมอญ ประเทศพม่า และประเทศไทยในปัจจุบัน) พระพุทธศาสนาใน 2 ดินแดนนี้จึงมีที่มาจากแหล่งเดียวกัน เมื่อเจริญแล้วก็เสื่อม แล้วกลับเจริญอีก สลับกันไปมาอยู่อย่างนี้มาตลอด โดยเมื่อใดที่พระพุทธศาสนาในดินแดนใดเสื่อม ก็จะไปนำพระพุทธศาสนาจากอีกดินแดนหนึ่งกลับมาฟื้นฟูอีกสลับกันไปมา

รูปภาพ
รูปปั้นพระเจ้ารามาธิบดี (พระเจ้าธรรมเจดีย์) กษัตริย์มอญ ณ ลานเจดีย์ไจ้ปุ่น
เมืองหงสาวดี (ปัจจุบันคือเมืองพะโค-Bago) ประเทศพม่า


พ.ศ.2018 พระเจ้ารามาธิบดี (พระเจ้าธรรมเจดีย์) แห่งเมืองหงสาวดี รามัญประเทศ ทรงพิจารณาเห็นว่าพระพุทธศาสนาในรามัญประเทศไม่บริสุทธิ์ เพราะสีมาที่ใช้อุปสมบทภิกษุทั้งหลายนั้นผูกอย่างไม่ถูกต้อง ภิกษุผู้ชำนาญพระไตรปิฎกวินิจฉัยว่าเป็นสีมาวิบัติ จึงทรงดำริถึงพระสงฆ์ในลังกาทวีปซึ่งสืบมาแต่ภิกษุคณะมหาวิหาร อันเป็นคณะที่บริสุทธิ์ ปฏิบัติถูกต้องตามพระธรรมวินัยและสืบมาแต่พระมหินทเถระ และทรงเห็นว่าควรส่งพระภิกษุผู้ฉลาดให้ไปนำอุปสมบทอันบริสุทธิ์ในลังกาทวีป มาประดิษฐานในรามัญประเทศ จึงทรงส่งพระภิกษุ 44 รูปให้ไปรับอุปสมบทจากภิกษุคณะมหาวิหารในประเทศลังกา ขณะนั้นพระเจ้าภูวเนกพาหุ แห่งชัยวัฒนบุรี (อยู่ในเขตเมืองโคลัมโบ ในปัจจุบัน) ทรง ต้อนรับคณะภิกษุรามัญ และรับสั่งให้คัดภิกษุคณะมหาวิหาร 24 รูป ให้อุปสมบทแก่คณะภิกษุรามัญ ในอุทกุกเขปสีมา คือ บนเรือขนานผูกอยู่กลางแม่น้ำกัลยาณี โดยคณะภิกษุรามัญทั้งหมดต้องสึกก่อน แล้วจึงอุปสมบทใหม่เพื่อให้บริสุทธิ์แท้ เมื่อคณะภิกษุรามัญได้รับอุปสมบทใหม่แล้วก็เดินทางกลับเมืองหงสาวดี

พระเจ้ารามาธิบดี (พระเจ้าธรรมเจดีย์) โปรดให้ถางป่าด้านทิศตะวันตกของพระมหาเจดีย์ชเวมอว์ดอว์ (พระธาตุมุเตา) เพื่อสร้างอุโบสถกำหนด เป็นที่ผูกสีมาใหม่ และโปรดให้คัดภิกษุรามัญผู้ไปรับอุปสมบทใหม่ในอุทกุกเขปสีมา กลางแม่น้ำกัลยาณี โดยคัดมาเฉพาะผู้ที่เป็นผู้บริสุทธิ์ ไม่ประกอบด้วยโทษอันเป็นที่ครหาจริงๆ เป็นผู้ทำพิธีผูกสีมานั้น และพระราชทานนามอุโบสถนี้ว่า “กัลยาณีสีมา” (Kalyani Sima) ครั้นสมมติสีมาในปี พ.ศ.2019 แล้ว ก็ทรงให้สืบหาพระภิกษุผู้รับอุปสมบทในคณะสงฆ์คณะมหาวิหารแห่งลังกา ที่มีอายุพรรษามากพอจะเป็นพระอุปัชฌาย์ได้ (คณะสงฆ์ที่เพิ่งบวชใหม่มาจากลังกามีพรรษาน้อยจึงเป็นพระอุปัชฌาย์ไม่ได้) ก็ได้พระเถระองค์หนึ่งมีพรรษา 26 พรรษา ชื่อว่า สุวัณณโสภณ เป็นผู้ตั้งมั่นในธุดงควัตร อยู่ในป่าโดยปกติ จึงทรงตั้งให้เป็น พระกัลยาณีดิสสเถระ เพื่อเป็นพระอุปัชฌาย์ให้การอุปสมบทใหม่แก่ภิกษุรามัญทั้งหลาย และทรงขอให้ภิกษุทั้งหลายปฏิบัติเหมือนอย่างภิกษุคณะมหาวิหารเพื่อให้เป็น นิกายเดียวกัน นับแต่ปี พ.ศ.2019 ถึง 2022 มีภิกษุรามัญบวชแปลงกันถึง 15,666 รูป จึงเกิดเป็น คณะสงฆ์รามัญนิกายสีมากัลยาณี ขึ้นด้วยเหตุนี้

รูปภาพ
กัลยาณีสีมา (Kalyani Sima) เมืองหงสาวดี (ปัจจุบันคือเมืองพะโค-Bago) ประเทศพม่า
อันเป็นสีมาต้นกำเนิดแห่งคณะสงฆ์ธรรมยุติกนิกายในประเทศไทย


รูปภาพ
ภายใน “กัลยาณีสีมา” (Kalyani Sima) ด้านบนประดิษฐานองค์พระพุทธรูป
พระพุทธเจ้าในอดีต 28 พระองค์ ส่วนด้านล่างที่โคนเสาทุกต้นมีเทวดายืนพนมมือ


เมื่อ ภิกษุพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงรับอุปสมบท ในคณะสงฆ์รามัญนิกายสีมากัลยาณี และเสด็จมาประทับอยู่ที่วัดมหาธาตุ จึงถือเป็นจุดเริ่มต้นของการปรับปรุงแก้ไขข้อวัตรปฏิบัติของภิกษุสงฆ์ไทย เป็นเหตุให้มีภิกษุอื่นเกิดความเลื่อมใสพากันมาถวายตัวเป็นศิษย์ เพื่อเล่าเรียนพระปริยัติธรรมและประพฤติปฏิบัติตามแนวพระราชดำริราว 5-6 รูป อาทิ สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาปวเรศวริยาลงกรณ์ สมเด็จพระสังฆราช (สา ปุสฺสเทโว) สมเด็จพระวันรัต (ทับ พุทฺธสิริ) เป็นต้น โดยทรงแนะนำให้ภิกษุเหล่านี้รับอุปสมบทในคณะสงฆ์รามัญเช่นเดียวกับพระองค์ ด้วย ต่อมาทรงเห็นว่าการที่จะทรงปฏิบัติตามพระธรรมวินัย แต่มีความแตกต่างกันในบางประการกับระเบียบแบบแผนของวัดมหาธาตุ อันเป็นที่ประทับของ สมเด็จพระสังฆราช (ด่อน) นั้น ดูจะเป็นการไม่เหมาะสม จึงเสด็จไปประทับอยู่ที่วัดสมอราย อันเป็นวัดป่าอยู่นอกกำแพงพระนคร (ปัจจุบันคือวัดราชาธิวาส) เมื่อ พ.ศ.2372 โดยสานุศิษย์บางส่วนก็ได้ตามไปอยู่ด้วย บางส่วนยังคงอยู่ที่วัดมหาธาตุ บางส่วนอยู่ที่วัดอื่นแต่ไปประชุมรวมกันที่วัดสมอรายก็มี จึงเกิดเป็น คณะสงฆ์ธรรมยุติกนิกาย ขึ้นตั้งแต่นั้นมา

เมื่อเสด็จมาประทับที่วัดสมอราย วันหนึ่งทรงให้ขุดลูกนิมิตอุโบสถวัดสมอรายขึ้นมาตรวจ ก็ทรงพบว่าเป็นสีมาวิบัติเพราะว่าลูกนิมิตเล็กไม่ได้ขนาด จึงทรงให้แสวงหาคณะสงฆ์รามัญนิกายสีมากัลยาณีมา 18 รูป แล้วทรงทำทัฬหีกรรม คือ อุปสมบทซ้ำอีกในอุทกุกเขปสีมา คือ แพกลางน้ำเจ้าพระยาหน้าวัดสมอรายนั้น เมื่อ พ.ศ.2373 เพื่อให้ได้ศาสนวงศ์ที่บริสุทธิ์ถูกต้องจริงๆ พร้อมกันนี้บรรดาศิษยานุศิษย์ของพระองค์ก็ได้ทำทัฬหีกรรมพร้อมกับพระองค์ ด้วยเช่นกัน เมื่อทรงตั้งสำนักอยู่ที่วัดสมอราย ก็มีภิกษุสามเณรมาถวายตัวเป็นศิษย์มากขึ้นเรื่อยๆ ฝ่ายคฤหัสถ์ก็พากันเลื่อมใส พากันไปฟังเทศน์ฟังธรรมมากขึ้น พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวจึงทรงตั้งภิกษุพระบาทสมเด็จพระ จอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเป็นพระราชาคณะ

พ.ศ.2379 เมื่อวัดใหม่ในกำแพงพระนคร ซึ่ง สมเด็จพระบวรราชเจ้ามหาศักดิพลเสพ วังหน้าในรัชกาลที่ 3 ทรงสร้างขึ้น ว่างเจ้าอาวาส พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวจึงอาราธนาภิกษุพระบาทสมเด็จพระ จอมเกล้าเจ้าอยู่หัวมาครองวัด เมื่อวันที่ 11 มกราคม พ.ศ.2379 โดยพระราชทานนามวัดใหม่ว่า วัดบวรนิเวศวิหาร และให้เลื่อนสมณศักดิ์ขึ้นเสมอพระราชาคณะเจ้าคณะรอง เมื่อแห่เสด็จจากวัดสมอรายตามประเพณีพระราชาคณะไปครองวัด พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวโปรดให้จัดขบวนเรือแห่อย่างแห่เสด็จพระ มหาอุปราช

เมื่อเสด็จมาครองวัดบวรนิเวศวิหารแล้ว ทรงพาบรรดาศิษยานุศิษย์ที่ยังเหลืออยู่ที่วัดมหาธาตุ มาอยู่ที่วัดบวรนิเวศวิหารทั้งหมด ส่วนสำนักวัดสมอรายนั้นโปรดให้สมเด็จพระวันรัต (ทับ พุทฺธสิริ) แต่ครั้งยังดำรงสมณศักดิ์ที่ พระอริยมุนี เป็นหัวหน้า จึงนับว่าเป็นครั้งแรกที่พระสงฆ์ธรรมยุตมีสำนักเป็นเอกเทศ และกล่าวได้ว่าวัดบวรนิเวศวิหารเป็นวัดธรรมยุตแห่งแรก เพราะเมื่อครั้งที่ประทับอยู่ที่วัดมหาธาตุและวัดสมอรายนั้น ทรงอยู่ในฐานะพระลูกวัด มิได้เป็นเจ้าอาวาส บรรดาศิษยานุศิษย์ทั้งหลายเพียงแต่มาปฏิบัติรวมกันที่วัดสมอรายเท่านั้น คณะสงฆ์ธรรมยุติกนิกาย จึงถือว่าวันที่คณะธรรมยุตตั้งขึ้น คือ วันที่ 11 มกราคม พ.ศ.2379 นั่นเอง

พระ มหาเถระที่ถือว่าเป็นต้นวงศ์พระธรรมยุต มี 10 รูป ซึ่งปรากฏชื่อในคาถาพระราชนิพนธ์ของพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ครั้งยังทรงผนวช ในหนังสือสีมาวิจารณ์ ได้แก่

1. พระวชิรญาณเถระ คือ พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 4

2. พระปัญญาอัคคเถระ คือ สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาปวเรศวริยาลงกรณ์ (พระองค์เจ้าฤกษ์ ปญฺญาอคฺโค) วัดบวรนิเวศวิหาร

3. พระปุสสเถระ คือ สมเด็จพระอริยวงศาคตญาณ สมเด็จพระสังฆราช (สา ปุสฺสเทโว) วัดราชประดิษฐสถิตมหาสีมาราม (อุปสมบทครั้งแรกต่อมาลาสิกขา และเมื่ออุปสมบทใหม่มีฉายาว่า ปุสฺสเทโว)

4. พระพุทธสิริเถระ คือ สมเด็จพระวันรัต (ทับ พุทฺธสิริ) วัดโสมนัสวิหาร

5. พระธัมมสิริเถระ คือ พระเทพโมลี (เอี่ยม ธมฺมสิริ) วัดเครือวัลย์

6. พระพุทธิสัณหเถระ คือ พระอมรโมลี (นพ พุทฺธิสณฺโห) วัดบุปผาราม

7. พระสุวัฑฒนเถระ คือ พระปลัดเรือง สุวฑฺฒโน วัดบวรนิเวศวิหาร

8. พระพรหมสรเถระ คือ พระญาณรักขิต (สุข พรหมสโร) วัดบรมนิวาส
ต่อมาลาสิกขาเป็นขุนนางที่ พระธรรมการบดี

9. พระโสภิตเถระ คือ พระศรีวิสุทธิวงศ์ (ฟัก โสภิโต) วัดบวรนิเวศวิหาร
ต่อมาลาสิกขาเป็นขุนนางที่ พระยาศรีสุนทรโวหาร

10. พระธัมมรักขิตเถระ คือ พระครูปลัดทัด ธมฺมรักขิโต วัดบวรนิเวศวิหาร
ต่อมาลาสิกขาเป็นขุนนางที่ พระศรีภูริปรีชา

เมื่อเสด็จมาตั้งคณะธรรมยุตที่วัดบวรนิเวศวิหารแล้ว พระองค์ได้ส่งบรรดาศิษยานุศิษย์ไปตั้งสำนักสาขาขึ้นอีกหลายแห่ง เช่น วัดบรมนิวาส วัดเครือวัลย์ วัดบุปผาราม เป็นต้น และได้ทรงจัดการศึกษาปฏิบัติพระธรรมวินัยและทรงตั้งขนบธรรมเนียมในการ ประพฤติปฏิบัติต่างๆ ไว้เป็นอันมาก ซึ่งมิได้เหมือนของคณะสงฆ์รามัญทุกประการไป สุดแต่จะทรงพิจารณาเห็นว่าน่าจะถูกต้องใกล้เคียงกับของเดิมและพระธรรมวินัย มากที่สุด เช่น ธรรมเนียมการสวดมนต์ทำวัตรเช้า-เย็นและการอุปสมบท ได้ทรงแต่งคำทำวัตรเช้า-เย็นและคำขออุปสมบทขึ้นใหม่ และใช้สืบมาจนถึงปัจจุบัน ธรรมเนียมการห่มผ้า ทรงใช้การห่มแหวกตามแบบมอญ ซึ่งต่างไปจากพระมหานิกายที่ใช้ห่มดอง และ ธรรมเนียมสวดมนต์ การออกเสียงภาษามคธแบบพระธรรมยุต ไม่ใช่ทั้งแบบรามัญและลังกา แต่เกิดจากการที่ทรงศึกษาค้นคว้าและเห็นว่าน่าจะใกล้เคียงของเดิมมากที่สุด เป็นต้น เหล่านี้เป็นผลให้มีผู้เลื่อมใสและมาบวชในคณะสงฆ์ธรรมยุตมากขึ้นเรื่อยๆ และมีการขยายออกไปตั้งวัดต่างๆ มากขึ้นเป็นลำดับ โดยส่วนใหญ่จะขยายในเขตพระนครก่อน ต่อมาเมื่อมีพระภิกษุที่เดิมเป็นชาวต่างจังหวัดเข้ามาบวชในคณะธรรมยุตมาก ขึ้น จึงได้เผยแพร่ออกไปในจังหวัดต่างๆ โดยการส่งพระภิกษุเหล่านั้นออกไปเผยแพร่ในจังหวัดบ้านเดิมของตนนั่นเอง เช่น ทรงส่ง พระอาจารย์ดี พนฺธุโล และพระอาจารย์ม้าว เทวธมฺมี ไปเผยแผ่คณะสงฆ์ธรรมยุตที่จังหวัดอุบลราชธานี เมื่อราวปี พ.ศ.2394-2395 โดยการสร้าง วัดสุปัฏนาราม ขึ้นที่จังหวัดอุบลราชธานี ให้เป็นวัดธรรมยุตแห่งแรกในภาคอีสาน สำเร็จเมื่อปี พ.ศ.2396

ใน ปัจจุบันพระสงฆ์ธรรมยุตนับว่ามีจำนวนน้อยกว่าพระสงฆ์มหานิกายมาก โดยในจำนวนพระธรรมยุตที่มีอยู่ทั้งหมดนั้น ในภาคอีสานนับว่าเป็นภาคที่คณะสงฆ์ธรรมยุตแพร่หลายมากที่สุด อันสืบมาเนื่องมาจากภายหลังจากที่พระอาจารย์ดี พนฺธุโล และพระอาจารย์ม้าว เทวธมฺมี ได้ตั้งคณะธรรมยุตที่จังหวัดอุบลราชธานีแล้ว กระทั่งเป็นผลให้เกิดวัดธรรมยุตขึ้นอีกหลายวัดในจังหวัดนั้น เช่น วัดศรีทอง วัดเลียบ วัดใต้ วัดบูรพา เป็นต้น และต่อมาก็ได้แพร่หลายไปในจังหวัดอื่น เช่น วัดสร่างโศก จังหวัดยโสธร วัดมหาชัย จังหวัดหนองบัวลำภู วัดโพธิสมภรณ์ จังหวัดอุดรธานี วัดศรีเทพประดิษฐาราม จังหวัดนครพนม วัดศรีจันทร์ จังหวัดขอนแก่น วัดสุทธจินดา จังหวัดนครราชสีมา เป็นต้น ประกอบกับในระยะ พ.ศ. 2435-2492 มีพระธรรมยุต 2 รูปที่ปฏิบัติดีปฏิบัติชอบตามพระธรรมวินัย อยู่ตามป่าเขาเป็นปกติ มุ่งแสวงหาความพ้นทุกข์แต่เพียงฝ่ายเดียว มิได้ยุ่งเกี่ยวด้วยการปกครองหมู่คณะ คือ พระอาจารย์เสาร์ กนฺตสีโล และพระอาจารย์มั่น ภูริทตฺโต ชื่อเสียงเกียรติคุณของท่านขจรไปไกล เป็นเหตุให้มีผู้เลื่อมใสมาอุปสมบทเป็นพระธรรมยุตและถวายตัวเป็นศิษย์เพื่อ ศึกษากับท่านทั้งสองเป็นจำนวนมาก และบรรดาศิษย์ของทั้งสองท่าน เช่น พระอาจารย์ฝั้น อาจาโร พระอาจารย์ขาว อนาลโย พระอาจารย์อ่อน ญาณสิริ พระอาจารย์เทสก์ เทสรํสี เป็นต้น ก็ได้เผยแผ่ศาสนาต่อไปอีก ก็มีผู้เลื่อมใสนับถือจำนวนมากเช่นกัน ด้วยเหตุนี้จึงทำให้มีวัดและพระธรรมยุตแพร่หลายไปในภาคอีสานเป็นจำนวนมากที่ สุด แม้แต่ในภาคเหนือซึ่งแม้จะมีวัดและพระธรรมยุตไม่แพร่หลายมากเท่าภาคอีสาน แต่ก็นับว่ามีจำนวนไม่น้อยเช่นเดียวกัน เนื่องจากพระอาจารย์มั่นเคยไปอยู่ในภาคเหนือราว 10 ปี คณะสงฆ์ธรรมยุตจึงได้แพร่หลายไปในภาคนั้น ประกอบกับมีสานุศิษย์ของท่านหลายองค์ที่ได้อยู่เป็นหลักในภาคเหนือต่อมา เช่น พระอาจารย์แหวน สุจิณฺโณ พระอาจารย์ตื้อ อจลธมฺโม พระอาจารย์สิม พุทฺธาจาโร เป็นต้น ส่วนภาคใต้นั้นนับว่ามีพระธรรมยุตน้อยเมื่อเทียบกับภาคอื่น

การ ปกครองคณะสงฆ์ธรรมยุตในระยะแรกนั้น ภิกษุพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงปกครองเองมาตลอด โดยยังรวมอยู่ในคณะกลางของคณะสงฆ์มหานิกายอันมีมาแต่เดิม ซึ่งมี สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระปรมานุชิตชิโนรส วัดพระเชตุพนฯ ทรงปกครองอยู่ ครั้นเมื่อพระองค์ทรงลาผนวชในปี พ.ศ.2494 เพื่อครองสิริราชสมบัติ จึงทรงสถาปนาสมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาปวเรศวริยาลงกรณ์ แต่ครั้งยังเป็นพระองค์เจ้าฤกษ์ ขึ้นเป็นกรมหมื่นบวรรังษีสุริยพันธุ์ เจ้าอาวาสวัดบวรนิเวศวิหาร และเป็นรองจากสมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระปรมานุชิตชิโนรส ในการปกครองคณะกลางนั้น โดยยกฐานะคณะสงฆ์ธรรมยุตขึ้นเป็นกิ่งหนึ่งของคณะกลาง และเมื่อสมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระปรมานุชิตชิโนรส สิ้นพระชนม์ จึงแยกคณะสงฆ์ธรรมยุตออกเป็นอิสระปกครองกันเองต่างหากจากคณะสงฆ์มหานิกาย โดยมีสมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาปวเรศวริยาลงกรณ์ ทรงเป็นสังฆปริณายกแห่งคณะธรรมยุต (เจ้าคณะใหญ่ธรรมยุต) ปกครองคณะสงฆ์ธรรมยุตให้เป็นไปตามพระธรรมวินัย ตามธรรมเนียมการปกครองคณะสงฆ์ที่พระพุทธเจ้าได้ทรงวางไว้ 3 ประการ กล่าวคือ

1. พระปกครองพระ
ด้วยพระพุทธเจ้าทรงประสงค์ให้พระเคารพเชื่อฟังพระด้วยกัน

2. ปกครองให้เป็นไปตามพระธรรมวินัย
เพราะเมื่อใกล้จะปรินิพพานพระพุทธเจ้าได้ตรัสยกพระธรรมวินัยเป็นศาสดาแทนพระองค์

3. แบ่งการปกครองตามนิกาย
เมื่อ ภิกษุแยกกันเป็นนิกาย ก็ทรงให้ปกครองกันตามนิกายของตน ไม่ทรงบังคับให้ปกครองร่วมกัน เช่น กรณีภิกษุเมืองโกสัมพีที่เคยแตกกันเป็น 2 ฝ่าย ก็ทรงมีพุทธานุญาตให้ทำอุโบสถสังฆกรรมแยกกัน

รายนามพระสังฆปริณายกแห่งคณะธรรมยุต ที่ปกครองคณะสงฆ์ธรรมยุตมาตั้งแต่เริ่มต้นจนถึงบัดนี้ ได้แก่

1. พระวชิรญาณเถระ พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 4
เมื่อครั้งทรงผนวช (พ.ศ.2368-2394)

2. สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาปวเรศวริยาลงกรณ์ (พระองค์เจ้าฤกษ์ ปญฺญาอคฺโค)
วัดบวรนิเวศวิหาร (พ.ศ.2394-2435)

3. สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาวชิรญาณวโรรส
วัดบวรนิเวศวิหาร (พ.ศ.2435-2464)

4. พระเจ้าวรวงศ์เธอ กรมหลวงชินวรสิริวัฒน์ สมเด็จพระสังฆราชเจ้า
วัดราชบพิธสถิตมหาสีมาราม (พ.ศ.2464-2480)

5. สมเด็จพระสังฆราชเจ้า กรมหลวงวชิรญาณวงศ์ (หม่อมราชวงศ์ชื่น นภวงศ์ สุจิตฺโต)
วัดบวรนิเวศวิหาร (พ.ศ.2480-2501)

6. สมเด็จพระอริยวงศาคตญาณ สมเด็จพระสังฆราช (จวน อุฏฺฐายี)
วัดมกุฏกษัตริยาราม (พ.ศ.2501-2514)

7. สมเด็จพระอริยวงศาคตญาณ สมเด็จพระสังฆราช (วาสน์ วาสโน)
วัดราชบพิธสถิตมหาสีมาราม (พ.ศ.2514-2531)

8. สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช (เจริญ สุวฑฺฒโน)
วัดบวรนิเวศวิหาร (พ.ศ.2531-2556)

การที่คณะสงฆ์ไทยได้แยกออกเป็น 2 นิกายนี้ มีคนจำนวนมากที่ไม่เข้าใจว่า เหตุใดต้องตั้งคณะสงฆ์ธรรมยุตขึ้นเป็นนิกายใหม่ บาง คนถึงขั้นติเตียนพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 4 ว่าทรงทำสังฆเภท คือทำให้สงฆ์แตกกัน อันเป็นอนันตริยกรรมคือกรรมอันชั่วช้าที่สุดในทางพระพุทธศาสนา บางคนมีความคิดที่จะพยายามรวมคณะสงฆ์มหานิกายและคณะสงฆ์ธรรมยุติกนิกายเข้า ด้วยกัน แต่ในความเป็นจริงนั้น เมื่อพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงตั้งคณะสงฆ์ธรรมยุตขึ้น โดยยึดพระธรรมวินัยเป็นหลักในการประพฤติปฏิบัติ เป็นผลให้มีการปรับปรุงการปฏิบัติตนทางด้านพระธรรมวินัยของคณะสงฆ์ทั่ว ประเทศ ตลอดถึงปรับปรุงการปกครองคณะสงฆ์ ซึ่งเป็นผลทำให้พระพุทธศาสนาเจริญมั่นคงสืบมาถึงปัจจุบัน สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก (เจริญ สุวฑฺฒโน) สมเด็จพระสังฆราชพระองค์ที่ ๑๙ แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ เมื่อครั้งทรงดำรงตำแหน่งเจ้าคณะใหญ่ธรรมยุตด้วย ได้ทรงกล่าวไว้ตอนหนึ่งว่า

“...การ ที่ภิกษุสงฆ์แยกออกเป็นนิกายต่างๆ ไม่ใช่เป็นการแปลก มีในทุกๆ ประเทศที่นับถือพระพุทธศาสนา และการที่แยกกันออกไปนี้ อาจกล่าวได้ตามประวัติศาสตร์ว่าต้องมีเป็นธรรมดา ถึงพยายามรวมให้เป็นหนึ่งสักเท่าไรก็ไม่สำเร็จ อาจสำเร็จได้ชั่วคราว แต่ต่อมาไม่นานก็กลับแยกกันออกไปอีก ในศาสนาอื่นๆ ก็มีแยกเป็นลัทธินิกายต่างๆ เหมือนกัน การอุปถัมภ์พระพุทธศาสนามิใช่อยู่ที่การพยายามเพื่อรวมนิกายสงฆ์ แต่อยู่ที่การพยายามให้พระสงฆ์ทุกนิกายตั้งอยู่ในพระธรรมวินัย ส่วนการรวมกันนั้น เมื่อดีเสมอกันหรือเสื่อมเสมอกัน ก็รวมกันเข้าได้เอง...”

สำหรับ ความแตกต่างกันของพระมหานิกายและพระธรรมยุตนั้น นอกจากจะมีที่มาต่างกันดังกล่าวแล้ว ยังมีข้อปฏิบัติหลายประการที่ต่างกันอย่างมาก เนื่องจากคณะธรรมยุตยึดถือพระธรรมวินัยเป็นหลักปฏิบัติ จึงเคร่งครัดในด้านพระวินัยเป็นอย่างยิ่ง เช่น การอุปสมบท นาคจะต้องกล่าวคำขออุปสมบทให้ได้ด้วยตนเอง โดยจะต้องถูกต้องตามสำเนียงภาษามคธ ซึ่งออกเสียงค่อนข้างยากสำหรับผู้ไม่คุ้นเคย จะไม่มีการบอกให้นาคพูดตาม หากไม่สามารถกล่าวคำขออุปสมบทด้วยตนเอง จะไม่ได้รับอนุญาตให้อุปสมบท การสวดมนต์ก็จะสวดด้วยสำเนียงภาษามคธด้วยเช่นกัน นอกจากนี้พระธรรมยุตจะไม่จับเงิน เนื่องจากปฏิบัติตามพระวินัยซึ่งมีมาในพระปาฏิโมกข์ข้อที่ห้ามจับเงินจับทอง หากคฤหัสถ์จะถวายปัจจัย (คือเงิน) จะต้องถวายด้วยใบปวารณาแทน ส่วนปัจจัยให้มอบต่อไวยาวัจกรหรือโยมวัดจัดการแทน การห่มผ้าของพระธรรมยุตจะเหมือนกันหมดทั้งหมด คือ ห่มแหวก โดยใช้ผ้าสีแก่นขนุน (คล้ายสีน้ำตาล) และผ้าสังฆาฏิจะเป็นผ้า 2 ชั้น คือเหมือนผ้าจีวร 2 ผืนเย็บติดกันนั่นเอง เป็นต้น

การประพฤติ ปฏิบัติตามพระธรรมวินัยอย่างเคร่งครัดนี้มิได้มีแต่ในคณะสงฆ์ธรรมยุตเท่า นั้น แต่ในคณะสงฆ์มหานิกายบางกลุ่มก็มีการปฏิบัติตามพระธรรมวินัยอย่างเคร่งครัด ด้วยเช่นกัน เช่น กลุ่มพระมหานิกายศิษย์พระอาจารย์ชา สุภทฺโท แห่งวัดหนองป่าพง เนื่องจากพระอาจารย์ชาเป็นหนึ่งในพระมหานิกายหลายรูปที่ได้ไปศึกษาปฏิบัติ ธรรมกับพระอาจารย์มั่น ภูริทตฺโต โดยมิได้อุปสมบทใหม่เป็นพระธรรมยุต เช่นเดียวกับพระอาจารย์ทองรัตน์ กนฺตสีโล พระอาจารย์กินรี จนฺทิโย พระอาจารย์มี ญาณมุนี ด้วยพระอาจารย์มั่น ประสงค์จะให้มีผู้นำในการปฏิบัติดีปฏิบัติชอบในฝ่ายมหานิกายด้วย จึงไม่อนุญาตให้ศิษย์เหล่านี้อุปสมบทเป็นพระธรรมยุต โดยท่านให้เหตุผลว่ามรรคผลไม่ได้ขึ้นอยู่กับนิกาย แต่ขึ้นอยู่กับการปฏิบัติดีปฏิบัติชอบตามธรรมวินัยที่พระพุทธเจ้าได้สั่งสอน ไว้ และต่อมาก็ได้ปรากฏพระมหานิกายผู้ที่มีหลักฐานและเหตุผลอันควรเชื่อถือได้ ว่าเป็นพระอริยเจ้าผู้ทรงมรรคผลจริง ดังนั้น จะเห็นได้ว่าการปฏิบัติตนให้ถูกต้องตามคำสอนของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าจึงมี ความสำคัญเหนือนิกายและสิ่งอื่นใดทั้งสิ้น และเป็นเหตุนำไปสู่ความพ้นทุกข์ได้อย่างแท้จริง


รูปภาพ
พระบรมรูปปั้นพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 4
ด้านหน้าพระประธานในพระอุโบสถ วัดบวรนิเวศวิหาร
ซึ่งเป็นวัดของคณะสงฆ์ธรรมยุติกนิกายแห่งแรกในประเทศไทย 

วันเสาร์ที่ 26 กันยายน พ.ศ. 2558

การเรียงลำดับของรูปแบบรายงาน


การเรียงลำดับของรูปแบบรายงาน

การจัดรูปแบบการเขียนรายงาน เรียงลำดับตามนี้
  1. หน้าปก –> คลิ๊กอ่านรายละเอียด
  2. หน้ารองปก (กระดาษเปล่า)
  3. หน้าปกใน (รายละเอียดเหมือนหน้าปกแต่ใช้กระดาษสีขาว)
  4. คำนำ (คลิ๊กอ่านรายละเอียด)
  5. สารบัญ (คลิ๊กอ่านรายละเอียด)
  6. เนื้อเรื่อง (คลิ๊กอ่านรายละเอียด)
  7. บรรณานุกรม หรือ เอกสารอ้างอิง (คลิ๊กอ่านรายละเอียด)
  8. ภาคผนวก (คลิ๊กอ่านรายละเอียด)
  9. รองปกหลัง (กระดาษเปล่า)
  10. หน้าปกหลัง
การจัดหน้ากระดาษ ใช้กระดาษ A4 โดยตั้งค่าหน้ากระดาษ ดังนี้ ครับ
  • ซ้าย ระยะห่างเท่ากับ 1.5 นิ้ว
  • ขวา ระยะห่างเท่ากับ 1 นิ้ว
  • บน ระยะห่างเท่ากับ 1.5 นิ้ว
  • ล่าง ระยะห่างเท่ากับ 1 นิ้ว
หมายเหตุ 1 นิ้ว เท่ากับ 2.54 เซนติเมตร สอนการตั้งค่าหน้ากระดาษ
Category: รูปแบบ | ไม่ให้ใส่ความเห็น
กุมภาพันธ์ 16

ตัวอย่างหน้าปกรายงาน หน้าปกรายงาน


ตัวอย่างหน้าปกรายงาน  มีรูปแบบดังนี้

ตัวอย่างหน้าปกรายงาน
ภาพตัวอย่างหน้าปกรายงาน

วิธีทำตัวอย่างหน้าปกรายงาน

วิธีการทำนั้นไม่ยากเลยครับ เพี้ยงเราแก้ตรง ข้อมูลส่วนตัวของเราไปแทนที่ได้เลย แต่บางครั้งรูปแบบของแต่ละโรงเรียนอาจไม่เหมือนกันนะครับ ถ้าอาจารย์สั่งรูปแบบของอาจารย์ เราก็เปลี่ยนตาม แต่ถ้าไม่ได้สั่งรูปแบบมาก็ยึดตามรูปแบบนี้ได้เลยครับ
ภาพด้านบนเป็น ตัวอย่างหน้าปกรายงานที่ผมทำขึ้น โดยเป็นตัวอย่างให้ดูคร่าวๆนะครับ เพื่อเป็นแนวทางในการทำ ยังไงก็ลองเอาไปปรับใช้กับรายงานได้ตามสะดวกเลยนะครับ

Category: หน้าปก | ไม่ให้ใส่ความเห็น
กุมภาพันธ์ 10

รูปแบบ การเขียนหน้าปกรายงาน



รูปแบบ การเขียนหน้าปกรายงาน มีส่วนต่างๆ ดังนี้


ชื่อเรื่อง
จัดทำโดย
ชื่อ นามสกุล ผู้ทำรายงาน
ชั้นประถมศึกษาปีที่  xx  เลขที่ xx
เสนอ
อาจารย์xxx xxx
รายงานฉบับนี้เป็นส่วนหนึ่งของรายวิชา xxxxxx
ชื่อโรงเรียน
ภาคเรียนที่ xx ปีการศึกษา xxxx
เมื่อ copy ไป วางใน word พื้นหลังจะมีสีดำแก้โดย  วิธีทำดังนี้
กุมภาพันธ์ 10

ตัวอย่างคำนำรายงาน



ตัวอย่างคำนำรายงาน

รายงานเล่มนี้่่จัดทำขึ้นเพื่อเป็นส่วนหนึ่งของวิชา…….ชั้น…เพื่อให้ได้ศึกษาหาความรู้
ในเรื่่อง……..และได้ศึกษาอย่างเข้าใจเพื่อเป็นประโยชน์กับการเรียน
ผู้จัดทำหวังว่า  รายงานเล่มนี้จะเป็นประโยชน์กับผู้อ่าน หรือนักเรียน นักศึกษา ที่กำลัง
หาข้อมูลเรื่องนี้อยู่ หากมีข้อแนะนำหรือข้อผิดพลาดประการใด ผู้จัดทำขอน้อมรับไว้และขออภัยมา
ณ ที่นี้ด้วย

ผู้จัดทำ
 วันที่…………….
กุมภาพันธ์ 14

การเขียนคำนำรายงาน

การเขียนคำนำรายงาน
มีวิธีการเขียน ดังนี้
การเขียนคำนำรายงานนั้นในส่วนของย่อหน้าแรกเราควรเขียนเพื่อเกริ่นเนื้อเรื่องไปก่อนโดย
ยังไม่เข้าเนื้อเรื่อง แต่ควรพยายามพูดชักจูงให้ผู้อ่านสนใจ หรือพูดที่มาที่ไป ก่อน เพื่อให้
ผู้อ่านอยากติดตามต่อ
ส่วนต่อมาควรกล่าวเริ่มเข้าเนื้อเรื่องของเราว่าเราจะทำรายงานเกี่ยวกับอะไร และมี
เรื่องอะไรบ้าง หรือพูดถึงเฉพาะเรื่องสำคัญๆ ก็ได้ และตอนสุดท้ายก็ปิดท้ายว่าทำเพื่ออะไร
เพื่อประโยชน์กับใคร ที่จะได้มาอ่านบทความนี้
และก็อาจกล่าวขอบคุณอาจารย์ผู้สอนหรือผู้มีส่วนเกี่ยวข้องกับรายงาน และปิดท้ายด้วย
การขอรับข้อเสนอแนะต่างๆ เพื่อให้รายงานดีขึ้น
ลักษณะของการเขียนคำนำรายงานที่ดี ตามหลักของ ราชบัณฑิต บอกไว้ว่า
1. เขียนด้วยคำพังเพย หรือสุภาษิตที่เกี่ยวกับเนื้อเรื่อง
2. เขียนอธิบายความหมายของเรื่อง
3. เขียนโดยขึ้นต้นด้วยคำกล่าวของบุคคลสำคัญ
4. เขียนด้วยการเล่าเรื่อง
5. เขียนด้วยคำถามหรือปัญหาที่สนใจ
6. เขียนด้วยการอธิบายชื่่อเรื่อง
7. เขียนคำนำด้วยคำกล่าวถึงจุดประสงค์ของเรื่องที่เขียน
8. เขียนด้วยการกล่าวถึงใจความสำคัญของเรื่องที่เขียน หวังว่าจะเป็นประโยชน์กับผู้อ่านนะครับ

ขอบคุณคับ
ยังไงก็ลองเอาแนวคิดและวิธีไปปรับใช้ให้เหมาะสมกับการเขียนคำนำรายงานที่ทำนะครับ
Category: คำนำ | ไม่ให้ใส่ความเห็น
กุมภาพันธ์ 18

ตัวอย่างบรรณานุกรม


ตัวอย่างบรรณานุกรม มีรูปแบบดังนี้

ตัวอย่างบรรณานุกรม
ตัวอย่างบรรณานุกรม

รูปแบบการเขียนบรรณานุกรม

ชื่่อ-นามสกุลผู้แต่ง.  (ปีที่พิมพ์).  ชื่อหนังสือ.  เมืองที่พิมพ์ ผู้รับผิดชอบในการพิมพ์.
เมื่อ copy ไป วางใน word พื้นหลังจะมีสีดำแก้โดย  วิธีทำดังนี้
Category: บรรณานุกรม | ไม่ให้ใส่ความเห็น
มีนาคม 7

วิธีใส่เลขหน้า word 2007


การใส่เลขหน้าใน word 2007


ขั้นตอน ใส่เลขหน้า word 2007 มีดังนี้

1. ไปที่เมนู แทรก
2. ไปที่หมายเลขหน้า
3. เลือกว่าจะไว้ด้านไหนได้เลยครับ ตามรูป
4. เรียบร้อยแล้วครับ
Category: ตั้งค่าโปรแกรม Word | ไม่ให้ใส่ความเห็น
กุมภาพันธ์ 20

วิธีตั้งค่าหน้ากระดาษให้รายงาน


ตั้งค่าหน้ากระดาษ ให้กับรายงาน

วิธีทำจะมีขั้นตอน ดังนี้
1.มาที่แถบเค้าโครงหน้ากระดาษ
2.เลือกระยะขอบ
3.ระยะของแบบกำหนดเอง
4.แก้ช่อง บน ล่าง ซ้าย ขวา
5.ตกลง เป็นอันเสร็จเรียบร้อยแล้วครับ

การเขียนคำนำรายงาน ตามแบบฉบับของผมครับ


การเขียนคำนำรายงาน ง่ายๆสไตล์ผมเองครับ

สวัสดีครับวันนี้ผมยินดีมากที่จะได้มาพูดเกี่ยวกับเรื่องการทำรายงาน โดย วิธีทำนั้นเราต้องประกอบไปด้วยส่วนต่างๆมากมายหลายส่วน และการจะทำแต่ละส่วนได้ก็ต้องศึกษาว่าเรื่องนั้นต้องเขียนอย่างไรบ้างจึงจะ ออกมาดี โดยการทำรายงานต้องมีส่วนต่างๆ ดังนี้ครับ หนึ่งหน้าปก สองคำนำ สามสารบัญ สี่ เนื้อเนื้อ และสุดท้ายคือเอกสารอ้างอิงหรือบรรณานุกรมครับ โดยในส่วนของวันนี้ผมจะขอมานำเสนอเรื่อง คำนำ
เพราะคำนำเป็นเหมือนกับการเปิดประเด็นเรื่องราวออกมาให้ผู้อ่าน ได้เริ่มรู้จักกับรายงานของเราโดยคำนำนั้นตอนเริ่มเรายังไม่ต้องบอกเนื้อหา ว่ามีอะไรบ้างจนหมดนะครับเพราะการเขียนคำนำรายงานนั้นเรา ก็ต้องกั๊กไว้ซักนิดก่อน พยายามค่อยๆให้ผู้อ่านติดตามเราและรู้สึกตื่นเต้นไปกับเนื้อหาของเราแล้ว ค่อยพาเค้าเข้าเรื่องของเราครับ
โดยการเขียนคำนำรายงานเริ่มได้ดังนี้ครับ หนึ่งพูดหว่านล้อมเกี่ยวกับเรื่องที่เกี่ยวข้อง เช่นเราอาจจะใช้โวหารบรรยายไปถึงสิ่งต่างเพื่อจะมาเปรียบเทียบเชื่อมโยงกับ เนื้อหารายงานของเราครับ ต่อมาให้พูดถึงประเด็นหลักๆ ว่ารายงานของเรามีเรื่องอะไรอยู่บ้างที่สำคัญๆ ให้บอกเรื่องใหญ่ที่เป็นประเด็นครับ แล้วก็ค่อยๆ บอกเนื้อเรื่องพร้อมเขียนเชิงเชิญชวนให้ไปอ่านต่อในส่วนของเนื้อเรื่องครับ แค่นี้เองครับในส่วนของคำนำที่เราจะต้องเขียน
เราอาจจะต้องมีการดูเรื่องคำพูดให้สละสลวยเพื่อความน่าอ่านของผู้ที่ได้ มาอ่านคำนำของเรา และเราอาจต้องวางโครงเรื่องไว้ก่อนด้วยเพื่อจะได้พูดได้ครอบคลุมเรื่องต่างๆ นั้นจนหมด แล้วยังมีเรื่องของคำผิดด้วยนะครับที่ต้องระวังเพื่อให้ให้เกิดคำผิดพลาดบน รายงานของเราเพื่อจะได้คำนำที่ออกมาอย่างถูกต้องและน่าอ่านครับ
สุดท้ายนี้การเขียนคำนำรายงานไม่ใช่เรื่องที่ยากเลยนะ ครับเพียงแต่เพื่อนๆ ต้องหมั่นคอยฝึกฝนตนเองเป็นประจำแล้วก็จะช่วยให้เพื่อนๆ เขียนได้อย่างคล่องแคล่วลื่นไหล ไม่ติดขัด เพราะเคยมีคนกล่าวไว้ว่าถ้าเราทำสิ่งใดซ้ำไปเรื่อยๆ เราก็จะชำนาญในเรื่องนั้นไปเองครับถึงกับเป็นผู้ชำนาญในด้านนั้นเลยก็ว่าได้ ครับ และถ้าเพื่อนๆคนไหนต้องการเป็นผู้ชำนาญในการเขียนคำนำรายงาน หรือการเขียนรายงานแล้ว อย่าลืมนำสิ่งที่ผมบอกลองไปปฏิบัติกันดูนะครับเผื่อวันหนึ่งเราจะได้เป็นผู้ เชี่ยวชาญด้านการทำรายงานที่ใครๆ ก็ต้องตกใจกับฝีมือของเราเลยก็ว่าได้ครับ และหากเพื่อนอยากลองดูตัวอย่างคำนำรายงานแบบง่ายๆ คลิ๊กเลยครับ ขอบคุณครับ
Category: คำนำ | ไม่ให้ใส่ความเห็น


กุมภาพันธ์ 16

วิธีแก้ ก๊อป(copy) ข้อความจาก web แล้วติดพื้นหลังสีดำ

1 .ครอบดำรายงาน (กด ctrl + A) ที่พื้นหลังเป็นสีดำ
แก้ก๊อบภาพพื้นหลังดำ1
แก้ก๊อบภาพพื้นหลังดำ1
2. เลือก การแรเงา(ภาพถังเทสี )คลิกตรงสามเหลี่ยมคว่ำนะครับ แล้วจะมีหน้าต่างสีชุดของรูปแบบแสดงออกมา
แล้วกดเลือกไม่มีสี
copyภาพจากเนตแล้วดำ
copyภาพจากเนตแล้วดำ
3.พื้นหลังสีดำจะหายไปแล้วนะครับ
แก้ก๊อบพื้นหลังสีดำ
แก้รายงานสำเร็จ

วันศุกร์ที่ 25 กันยายน พ.ศ. 2558

การเขียนรายงานที่ดี

 การเขียนรายงานที่ดี


การเขียนรายงานทางวิชาการ

การ เขียนรายงานทางวิชาการ  เป็นเรื่องสำคัญยิ่งสำหรับการเรียน ในระดับอุดมศึกษา  ทั้งนี้เนื่องจากการศึกษาในระดับนี้จะเน้นให้ผู้เรียนรู้จักศึกษาค้นคว้า ด้วยตนเอง  สามารถแสวงหาความรู้   ฝึกฝนการวิเคราะห์และสังเคราะห์ความรู้    รวมทั้งสามารถนำเสนอผลการศึกษาเรียนรู้ของตนเองได้      นักศึกษาจะเขียนรายงานทางวิชาการได้อย่างไร   รายงานลักษณะใดที่จัดว่าเป็นรายงานที่ดี    มีระเบียบวิธีการอะไรบ้างที่จะต้องเรียนรู้ก่อนทำรายงาน   ในบทความนี้จะให้คำตอบที่เป็นหลักปฏิบัติของคำถามเหล่านั้น   เพื่อให้นักศึกษาได้นำไปใช้เป็นแนวทางเบื้องต้นในการเขียนรายงาน  

ลักษณะของรายงานที่ดี
รายงานที่ดีควรมีลักษณะที่สำคัญดังต่อไปนี้  
1.      รูปเล่ม  ประกอบด้วยหน้าสำคัญต่าง ๆ ครบถ้วน  การพิมพ์ประณีตสวยงาม  การจัดย่อหน้าข้อความเป็นแนวตรงกัน    ใช้ตัวอักษรรูปแบบ (Font) เดียวกันทั้งเล่ม  จัดตำแหน่งข้อความและรูปภาพได้สอดคล้องสัมพันธ์ และอ่านง่าย
2.      เนื้อหา  เป็นการนำเสนอผลการศึกษาค้นคว้าที่น่าสนใจของผู้เขียน    แสดงถึงข้อเท็จจริงอย่างถูกต้อง  เป็นปัจจุบันทันสมัย   ครอบคลุมเรื่องได้อย่างสมบูรณ์  แสดงให้เห็นถึงความเข้าใจอย่างแจ่มแจ้งของผู้เขียน   นอกจากแสดงความรู้ในข้อเท็จจริงแล้ว ผู้เขียนควรแสดงถึงความคิดสร้างสรรค์  นำเสนอความรู้หรือประสบการณ์ใหม่ๆ ทรรศนะใหม่ ๆ    หรือแนวทางแก้ปัญหาในเรื่องที่กําลังศึกษาอยู่     ด้วยการเรียบเรียงเนื้อหาเป็นไปตามลำดับไม่ซ้ำซากวกวน    แสดงให้เห็นความสามารถในการกลั่นกรอง  สรุปความรู้และความคิดที่ได้จากแหล่งต่าง ๆ
3.      สำนวนภาษา  เป็นภาษาที่นิยมโดยทั่วไป   สละสลวย  ชัดเจน  มีการเว้นวรรคตอน สะกดการันต์ถูกต้อง  ลำดับความได้ต่อเนื่อง  และสัมพันธ์กันตลอดเรื่อง
4.      การอ้างอิงและบรรณานุกรมถูกต้องตามแบบแผน   มีการแสดงหลักฐานที่มาของข้อมูลอย่างถูกต้องละเอียดถี่ถ้วน  เมื่อกล่าวถึงเรื่องใดก็มีหลักฐานอ้างอิงเพียงพอและสมเหตุสมผล     เลือกใช้ข้อมูลจากแหล่งอ้างอิงที่เชื่อถือได้   ซึ่งการแสดงหลักฐานอ้างอิงและบรรณานุกรมจะบ่งบอกถึงคุณภาพทางวิชาการของรายงานนั้น


ข้อควรคำนึงในการทำรายงาน
วัตถุประสงค์ ของอาจารย์ผู้สอนที่กำหนดให้นักศึกษาทำรายงาน  ก็เพื่อให้รู้จักการแสวงหาความรู้ด้วยตนเอง   ซึ่งการเรียนรู้ด้วยตนเองจะทำให้ผู้เรียนสามารถติดตามความรู้ได้ทันกับการ เปลี่ยนแปลงและความก้าวหน้าทางวิชาการ  ช่วยให้จดจำเรื่องราวที่ตนศึกษาได้อย่างแม่นยำและยาวนาน   เพื่อให้บรรลุตามวัตถุประสงค์ดังกล่าว  อาจารย์ผู้สอนจึงมักจะพิจารณาประเมินคุณค่าของรายงานดังนี้
1.  ต้องไม่ใช่ผลงานที่คัดลอกของผู้อื่น (สำคัญมาก)  
2.   ต้องเป็นผลงานที่แสดงข้อเท็จจริงอย่างถูกต้องครบถ้วน  (คือมีเนื้อหาสาระที่สามารถตอบคำถาม  ใคร  ทำอะไร  ที่ไหน เมื่อไร ได้)  และมีเนื้อหาสาระที่แสดงเหตุผล แสดงความคิดหรือทรรศนะของผู้เขียน ที่เป็นผลจากการได้ศึกษาค้นคว้าเรื่องราวเหล่านั้น   (คือมีเนื้อหาที่ตอบคำถาม  ทำไม- เพราะเหตุใด   ทำอย่างไร) 
3.   ต้องเป็นผลงานที่จัดรูปเล่มอย่างประณีต  อ่านทำความเข้าใจเนื้อหาได้ง่าย    รายงานที่ดีจึงต้องจัดรูปเล่มให้อ่านง่าย  เรียบเรียงเนื้อหาให้เป็นลำดับ  กำหนดหัวข้อเรื่องไม่ซ้ำซ้อนวกวน (ต้องวางโครงเรื่องให้ดี)
4.   ต้องเป็นผลงานที่แสดงถึงจรรยาบรรณของนักวิชาการที่ดี  คือมีการอ้างอิงและทำบรรณานุกรมที่ถูกต้องตามแบบแผน  แสดงหลักฐานที่มาอย่างถูกต้องละเอียดถี่ถ้วน

ขั้นตอนการทำรายงาน

ารทำรายงานให้ประสบความสำเร็จ  ควรวางแผนดำเนินการเป็นลำดับขั้นตอน ดังนี้
1.      กำหนดเรื่อง
การกำหนดเรื่องที่จะทำรายงาน  ต้องเกิดจากความต้องการอยากรู้ในเรื่องใดเรื่องหนึ่ง ควรเป็นเรื่องที่นักศึกษาสนใจ    หรือมีความรู้ในเรื่องนั้นอยู่บ้างแล้ว    ขอบเขตของเรื่องไม่ควรกว้างหรือแคบเกินไป   เพราะถ้ากว้างเกินไปจะทำให้เขียนได้อย่างผิวเผิน หรือถ้าเรื่องแคบเกินไปอาจจะไม่มีข้อมูลเพียงพอที่จะเขียนได้   ในการกำหนดเรื่องควรคิดโครงเรื่องไว้คร่าว ๆ  ว่าจะมีเนื้อหาในหัวข้อใดบ้าง 
2.      สำรวจแหล่งข้อมูล
แหล่งข้อมูลเบื้องต้นควรเริ่มที่ห้องสมุดและอินเทอร์เน็ต  ในการสำรวจควรใช้เครื่องมือที่แหล่งนั้นจัดเตรียมไว้ให้ เช่นห้องสมุดควรใช้  บัตรรายการ  บัตรดัชนีวารสาร  และ โอแพค (OPAC)  เป็นต้น  การค้นทางอินเทอร์เน็ตควรใช้เว็บไซต์ Google, Yahoo  เป็นต้น  นักศึกษาต้องเรียนรู้วิธีใช้เครื่องมือและคำสั่งในการสืบค้นให้เข้าใจดีเสีย ก่อน  จึงจะช่วยให้ค้นคว้าได้รวดเร็วและได้เนื้อหาสาระที่ครบถ้วน     เมื่อได้ข้อมูลที่ต้องการแล้วจะต้องจัดเก็บรวบรวมให้เป็นระบบ  เป็นหมวดหมู่    เอกสารที่รวบรวมได้ทุกรายการต้องเขียนบรรณานุกรมบอกแหล่งที่มาไว้ด้วย  เพื่อใช้ค้นคืนไปยังแหล่งเดิมได้อีกในภายหลัง
3.      กำหนดโครงเรื่อง
การกำหนดโครงเรื่อง เป็นการกำหนดขอบข่ายเนื้อหาของรายงานว่าจะให้มีหัวข้อเรื่องอะไรบ้าง  โครงเรื่องที่ดีจะต้องมีสาระสำคัญที่ตอบคำถาม  5W1H ได้ครบถ้วน  กล่าวคือ เนื้อหาของรายงานควรตอบคำถามต่อไปนี้ได้   เช่น     ใครเกี่ยวข้อง (Who)  เป็นเรื่องอะไร (What)  เกิดขึ้นเมื่อไร (When)  ที่ไหน (Where)   ทำไมจึงเป็นเช่นนั้น--เพราะเหตุใด (Why)   เรื่องนั้นเกิดขึ้นได้อย่างไร หรือมีวิธีทำอย่างไร (How) 
การคิดโครงเรื่องอาจใช้ผังความคิด (Mind map) ช่วยในการกำหนดประเด็นหัวข้อใหญ่หัวข้อรอง   ส่วนการจัดเรียงหัวข้อให้มีความสัมพันธ์เป็นลำดับต่อเนื่องที่ดี อาจใช้ผังความคิดแบบก้างปลา (Fish bone diagram) หรือแบบต้นไม้ (Tree diagram)   จะช่วยให้เห็นความสัมพันธ์ของแนวคิดได้ง่ายขึ้น    การตั้งชื่อหัวข้อควรให้สั้นกระชับได้ใจความครอบคลุมเนื้อหาในตอนนั้น ๆ
4.      รวบรวมข้อมูลตามโครงเรื่อง 
เมื่อกำหนดโครงเรื่องแน่ชัดดีแล้ว  จึงลงมือสืบค้นและรวบรวมข้อมูลตามบรรณานุกรมที่รวบรวมไว้ในขั้นตอนการสำรวจ     การรวบรวมอาจจะถ่ายเอกสารจากห้องสมุด หรือพิมพ์หน้าเอกสารที่ค้นได้จากอินเทอร์เน็ต  เสร็จแล้วนำข้อมูลที่รวบรวมได้มาแยกตามหัวข้อเรื่องที่กำหนดไว้
5.      อ่านตีความ สังเคราะห์ข้อมูล และจดบันทึก
การอ่านให้เน้นอ่านจับใจความสำคัญของเรื่อง  เพื่อดึงเนื้อหาที่สอดคล้องกับประเด็น แนวคิดต่างๆ ตามโครงเรื่องที่กำหนดไว้   ทำการบันทึกเนื้อหาลงในบัตรบันทึก  เสร็จแล้วนำบัตรบันทึกมาจัดกลุ่มตามประเด็นแนวคิด เพื่อใช้ในการเรียบเรียงเนื้อหาของรายงานต่อไป    หรืออาจทำเครื่องหมายตรงใจความสำคัญ (ขีดเส้นใต้) แทนการทำบัตรบันทึก  (กรณีเป็นหนังสือของห้องสมุดไม่ควรขีดเขียนหรือทำเครื่องหมายใดๆ)
6.      เรียบเรียงเนื้อหา
เนื้อหาสาระที่นำมาเรียบเรียงต้องเป็นเนื้อหาที่ได้จากการประเมิน วิเคราะห์ และสังเคราะห์จากขั้นตอนที่ 5 มาแล้ว   (การวิเคราะห์และสังเคราะห์สารสนเทศ   สามารถศึกษาและฝึกปฏิบัติได้ในรายวิชาสารสนเทศและการศึกษาค้นคว้า)


 ส่วนประกอบของรายงาน
รายงานประกอบด้วยส่วนสำคัญ 4 ส่วนคือ 1) ส่วนนำเรื่อง ได้แก่ ปกนอก  ปกใน  คำนำ สารบัญ  2) ส่วนเนื้อเรื่อง ประกอบด้วย บทนำ  เนื้อเรื่อง และบทสรุป  3) ส่วนอ้างอิง ประกอบด้วยรายการอ้างอิง บรรณานุกรม  และ  4) ภาคผนวก  ซึ่งแต่ละส่วนควรมีสาระสำคัญดังนี้
1.  ปกนอกและปกใน  ปกนอกใช้กระดาษอ่อนที่หนากว่าปกในซึ่งอาจเลือกสีได้ตามต้องการ  ไม่ควรมีภาพประกอบใด ๆ   ส่วนปกในและเนื้อเรื่องให้ใช้กระดาษขาวขนาด A4 ความหนาไม่ต่ำกว่า 80 แกรม   ปกในพิมพ์ข้อความเช่นเดียวกับปกนอก    ข้อความที่ปกนอกปกในประกอบด้วย  ชื่อเรื่องของรายงาน  ชื่อผู้เขียน  รหัสประจำตัว  ชื่อวิชา   ชื่อสถานศึกษา  และช่วงเวลาที่ทำรายงาน  ดังตัวอย่าง

ตัวอย่าง

2.  คำนำ   กล่าวถึงความสำคัญ วัตถุประสงค์ ความเป็นมา  ประเด็นหัวข้อเนื้อหาในรายงานเพื่อให้ผู้อ่านเกิดความสนใจอยากติดตามเรื่อง ซึ่งอาจเป็นปัญหา ประโยชน์หรือผลกระทบอย่างไรต่อผู้อ่านและสังคม  อาจกล่าวขอบคุณหรือบอกแหล่งที่มาของข้อมูล เพื่อให้เกิดความน่าเชื่อถือในข้อมูลที่นำเสนอ  สุดท้ายระบุชื่อ-สกุล ผู้เขียนรายงานและวันเดือนปีในการทำรายงาน  ดังตัวอย่าง

ตัวอย่าง

3. สารบัญ   ระบุหัวข้อใหญ่ หัวข้อรอง (ถ้ามี) และเลขหน้า     ใช้จุดไข่ปลาลากโยงจากหัวข้อไปยังเลขหน้าให้ชัดเจน   การพิมพ์สารบัญต้องจัดย่อหน้าและเลขหน้าให้ตรงกัน  ดังตัวอย่าง

4.  เนื้อเรื่อง   
เนื้อเรื่องประกอบด้วยส่วนสำคัญ 3 ส่วนคือ  ส่วนนำเรื่อง  ส่วนเนื้อเรื่อง  และส่วนสรุป  
ส่วน นำเรื่องหรือบทนำ  ต้องเขียนให้ผู้อ่านเกิดความสนใจอยากที่จะอ่านเนื้อหาต่อไป    บทนำอาจกล่าวถึง ความสำคัญ  บทบาท  ปัญหา  ผลกระทบ  วัตถุประสงค์  ขอบเขตเนื้อหา  หรือประโยชน์ที่ผู้อ่านจะได้รับ เป็นต้น  ซึ่งประเด็นที่กล่าวนี้ไม่จำเป็นต้องมีทั้งหมด แต่อย่างน้อยให้มีประเด็นใดประเด็นหนึ่งดังที่กล่าว 
ตัวอย่างการเขียนบทนำเรื่องแนวคิดการจัดกิจกรรมส่งเสริมการอ่าน
 การ อ่านเป็นสื่อกลางของการเรียนรู้  ผู้ที่อ่านมากย่อมมีความรู้มาก  เราสามารถแสวงหาความรู้ได้ด้วยการอ่าน  แต่จากผลการศึกษาของสำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา (สมศ)  พบว่าความสามารถของผู้เรียนในการแสวงหาความรู้อยู่ในระดับที่ต้องปรับปรุง  การอ่านของนักเรียนไทยตกต่ำลงทุกปี  จึงเป็นปัญหาที่น่าสนใจในการช่วยกันส่งเสริมทักษะการอ่านให้กับนักเรียนไทย  เพื่อให้เกิดความรู้สึกอยากอ่าน  มากกว่าการอ่านเพื่อสอบเก็บคะแนน
ส่วนเนื้อเรื่องเป็นส่วนที่แสดงข้อเท็จจริง  ข้อเสนอแนะ  ความคิดเห็น หรือผลสรุปที่ได้จากการศึกษาค้นคว้าของผู้เขียน   การนำเสนอเนื้อหาจะต้องมีหลักฐานอ้างอิง มีข้อมูลสถิติ ภาพประกอบ ตาราง แผนที่ แผนภูมิ ตามความจำเป็น  ซึ่งจะทำให้เนื้อเรื่องมีความน่าเชื่อถือและเข้าใจได้ง่าย   (ดูตัวอย่างการอ้างอิงในข้อ 5)
ส่วน สรุป เป็นส่วนชี้ประเด็นสำคัญที่ผู้เขียนต้องการบอกผู้อ่าน  ผู้เขียนอาจสรุปเนื้อหาตามลำดับหัวข้อใหญ่แต่ละหัวข้อทั้งหมดจนจบ  โดยสรุปหัวข้อละ 1 ย่อหน้า   หรือเลือกสรุปเฉพาะประเด็นสำคัญสั้นๆ ก็ได้  ที่สำคัญในการสรุปจะต้องไม่นำเสนอประเด็นเนื้อหาใหม่อีก

5. การอ้างอิง   
การ อ้างอิงจะแทรกเป็นวงเล็บไว้ในเนื้อเรื่อง   เพื่อบอกแหล่งที่มาของข้อมูล  เป็นการยื่นยันความถูกต้องและแสดงความน่าเชื่อถือของข้อมูล   การอ้างอิงให้ระบุชื่อผู้แต่ง  ปีพิมพ์  และเลขหน้า   หรือที่เรียกว่าอ้างอิงแบบ  นาม- ปี  ซึ่งมีวิธีการดังนี้

5.1   ระบุไว้หลังข้อความที่อ้าง  เช่น 
สารสนเทศ หมายถึง ข้อเท็จจริง เหตุการณ์ ที่ผ่านกระบวนการ ประมวลผล มีการถ่ายทอด และการบันทึกไว้ในรูปแบบต่างๆ เช่น หนังสือ วารสาร หนังสือพิมพ์ รายงาน โสตทัศนวัสดุ เทปคอมพิวเตอร์ ตลอดจนการถ่ายทอดในรูปแบบอื่นๆ เช่น คำพูด โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อเผยแพร่ให้ผู้รับสารได้ทราบ   (ประภาวดี  สืบสนธิ์, 2543, หน้า 6)

5.2     ระบุไว้ก่อนข้อความที่อ้าง  เช่น
ชุติมา  สัจจานันท์ (2530, หน้า 17) ให้ความหมายของสารสนเทศไว้ว่า คือ ข้อมูล ข่าวสาร ความรู้ ข้อสนเทศ สารสนเทศ ทั้งในรูปแบบสิ่งพิมพ์ โสตทัศนวัสดุ และวัสดุย่อส่วน เพื่อใช้ประโยชน์ทางการสื่อสารและการพัฒนาด้านต่างๆ ทั้งส่วนบุคคลและสังคม

หลักธรรมาภิบาล มีองค์ประกอบที่สำคัญ 6 ประการดังนี้  (สำนักงาน ก.พ., 2550,  หน้า 15)
1.  หลักนิติธรรม
2. หลักคุณธรรม
3. หลักความโปร่งใส

บรรณานุกรม  หน้าบรรณานุกรมจะอยู่ต่อจากส่วนเนื้อเรื่อง   โดยให้รายละเอียดเกี่ยวกับหนังสือที่นำมาอ้างอิงไว้ในรายงานได้แก่  ชื่อผู้แต่ง ปีพิมพ์  ชื่อบทความ  ชื่อหนังสือ  ครั้งที่พิมพ์  และสถานที่พิมพ์  เป็นต้น 
               การเขียนบรรณานุกรมมีรูปแบบที่เป็นสากลหลายรูปแบบ  แต่ที่ใช้กันแพร่หลายในปัจจุบันมีอยู่ 2 แบบคือ แบบ MLA (Modern Language Association Style) ซึ่งนิยมใช้ในสาขามนุษยศาสตร์  และแบบ  APA (American Psychological Association Style) ซึ่งนิยมใช้ในสาขาวิทยาศาสตร์และสังคมศาสตร์       ในที่นี้จะแนะนำการเขียนบรรณานุกรมแบบ  APA   เพื่อให้นักศึกษาใช้เป็นหลักในการเขียนบรรณานุกรมประกอบการทำรายงานทางวิชาการ

    การเขียนบรรณานุกรมตามรูปแบบ APA  มีหลักเกณฑ์กำหนดแยกตามชนิดของสื่อแต่ละประเภทดังนี้

หนังสือ
               รูปแบบ: ชื่อผู้แต่ง.  (ปีพิมพ์).  ชื่อหนังสือ  (ครั้งที่พิมพ์).  สถานที่พิมพ์ : สำนักพิมพ์
                           อุทัย  หิรัญโต. (2531). หลักการบริหารบุคคล. กรุงเทพฯ : โอเดียนสโตร์.
                           Baxter, C. (1997). Race equality in health care and education.
                                     Philadelphia : Ballière Tindall.

วารสาร  นิตยสาร      
               รูปแบบ: ชื่อผู้แต่ง.  (ปีพิมพ์).  ชื่อบทความ.  ชื่อวารสาร, ปีที่(ฉบับที่), เลขหน้า.                                   
                           สำนักงานเกษตรและสหกรณ์ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ. (2537).  ความรู้ทั่วไป
                                    เกี่ยวกับเห็ดพิษ.  เกษตรก้าวหน้า, 9(2), 45-47
                           Klimoski, R., & Palmer, S. (1993). The ADA and the hiring process in
                                    organizations. Consulting Psychology Journal: Practice and
                                    Research, 45(2), 10-36.

หนังสือพิมพ์  
               รูปแบบ:          ชื่อผู้แต่ง.  (ปี, เดือน วัน).  ชื่อบทความ.  ชื่อหนังสือพิมพ์, หน้า
                           สุนทร  ไชยชนะ.  (2551, กุมภาพันธ์ 25).  หนองหานสกลนครวันนี้.  มติช, หน้า 10.
                           Brody, J. E. (1995, February 21). Health factor in vegetables still elusive.  
                                    New York Times, p. C1.

             วิทยานิพนธ์
               รูปแบบ: ชื่อผู้แต่ง. (ปี).  ชื่อวิทยานิพนธ์.  วิทยานิพนธ์ ระดับปริญญา สาขาวิชา, สถาบัน.
                                    จิราภรร์ ปุญญวิจิตร. (2547). การศึกษาความเป็นไปได้ในการบริหารจัดการ
                                    ในโรงเรียนที่จัดการเรียนการสอนระบบนานาชาติระดับชั้นอนุบาลใน
                                    จังหวัดพระนครศรีอยุธยาตามความต้องการของผู้ปกครอง.  วิทยานิพนธ์
                                    ครุศาสตร์มหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา, มหาวิทยาลัยราชภัฏ
                                    พระนครศรีอยุธยา.

อินเทอร์เน็ต
               รูปแบบ: ชื่อผู้แต่ง.  (ปี, เดือน วัน).  ชื่อบทความ.  ค้นเมื่อ วัน เดือน ปี  จาก URL
                                                  ธนู  บุญญานุวัตร. (2545).  การสืบค้นสารสนเทศทางอินเทอร์เน็ต.  ค้นเมื่อ 
                                    6 ธันวาคม 2551 จาก http://www.aru.ac.th/research.html.
                                    American Psychological Association. (1999, June 1). Electronic preference
                                    formats recommended by the American Psychological Association.
                                    Retrieved July 18, 1999, from http://www.apa.org/journals/ webref.html

การพิมพ์รายงาน

รูปเล่มรายงานที่สวยงามประณีต ชวนอ่านและอ่านง่ายนั้น  จะต้องคำนึงถึงการจัดวางหน้า ระยะขอบพิมพ์  การย่อหน้า  การใช้ตัวอักษร  ซึ่งมีหลักเกณฑ์ให้ถือปฏิบัติดังนี้   
1.      พิมพ์รายงานด้วยเครื่องเลเซอร์  ตัวอักษรที่ใช้พิมพ์ให้ใช้ตัวอักษร Angsana UPC  ขนาด  16 ปอยท์  ใช้กระดาษมาตรฐานขนาด A4 ไม่มีกรอบไม่มีเส้น หมึกพิมพ์สีดํา
2.      จัดระยะขอบกระดาษให้ขอบกระดาษบนและซ้ายห่าง 1.5 นิ้ว ขอบกระดาษล่างและขวาห่าง 1 นิ้ว    การจัดขอบข้อความด้านขวาไม่จำเป็นต้องจัดตรงทุกบรรทัด 
3.      การย่อหน้า ให้ย่อหน้าที่ 1 เว้นระยะจากขอบพิมพ์  7 ระยะตัวอักษรพิมพ์ตรงอักษรตัวที่ 8   ย่อหน้าต่อ ๆ ไป ให้เว้นเข้าไปอีกย่อหน้าละ 3  ตัวอักษร  คือย่อหน้าที่ 2  พิมพ์ตรงอักษรตัวที่ 11  และย่อหน้าที่ 3  พิมพ์ตรงอักษรตัวที่ 14  เป็นต้น 
4.      ชื่อบท ให้พิมพ์กลางหน้ากระดาษ (ได้แก่  คํานํา  สารบัญ  บทที่ 1..   บรรณานุกรม)   ชื่อบทใช้อักษร Angsana UPC  ขนาด  18 ปอยท์    เว้นบรรทัดระหว่างชื่อบทกับข้อความที่เป็นเนื้อหา 1 บรรทัด (คือพิมพ์ชื่อบทแล้วเคาะEnter 2 ครั้ง)
5.       หัวข้อใหญ่ ให้พิมพ์ชิดขอบพิมพ์ด้านขวา และทำตัวหนา-ดำ    ส่วนหัวข้อรองพิมพ์ตรงย่อหน้าที่ 1  (ตรงอักษรตัวที่ 8)  หากมีหัวข้อย่อย ๆ ภายใต้หัวข้อรองให้พิมพ์ตรงย่อหน้าที่ 2, 3…. ตามลำดับ
6.       บรรณานุกรมให้จัดพิมพ์เรียงตามลำดับตัวอักษร   เรียงบรรณานุกรมภาษาไทยก่อนภาษาอังกฤษ   บรรณานุกรมแต่ละรายการให้พิมพ์ชิดขอบพิมพ์ด้านซ้าย (ไม่ย่อหน้า)  กรณีพิมพ์ไม่จบในบรรทัดเดียว  ให้พิมพ์ต่อตรงย่อหน้าที่ 1  หรืออักษรตัวที่ 8   
สรุป
รายงาน ทางวิชาการเป็นผลจากการแสวงหาความรู้ตามขอบข่ายเนื้อหาสาระในรายวิชาต่างๆ  ที่อาจารย์ผู้สอนมอบหมาย    เพื่อให้นักศึกษามีประสบการณ์ในการเรียนรู้ด้วยตนเอง พร้อมไปกับการมีความรู้ความเข้าใจในเนื้อหาสาระของรายวิชาเหล่านั้น
การทำรายงานทางวิชาการอย่างเป็นขั้นตอน โดยเริ่มจาก  1) กำหนดเรื่อง  2) สำรวจแหล่งข้อมูล เพื่อค้นหาข้อมูลเบื้องต้นมาเป็นแนวทางในการ  3) กำหนดโครงเรื่อง   4) การรวบรวมข้อมูลตามโครงเรื่อง  5) การอ่านวิเคราะห์และสังเคราะห์  แล้วจึงลงมือ 6) เขียนรายงาน  จะช่วยลดความยุ่งยากและช่วยให้การทำรายงานสำเร็จได้โดยง่าย    
รายงานทางวิชาการที่ดี  จะพิจารณากันที่  รูปเล่ม  เนื้อหา  การเขียนอธิบายความชัดเจน  เข้าใจง่าย   มีการแสดงหลักฐานอ้างอิงและบรรณานุกรม ที่มาของข้อมูลอย่างละเอียดถี่ถ้วน ถูกต้องตามแบบแผน   

แหล่งข้อมูลอ้างอิง

http://web.aru.ac.th/thanoo/images/stories/information/report.doc