วันเสาร์ที่ 30 กรกฎาคม พ.ศ. 2559

เหตุแห่งการตั้งชื่อธรรมแต่ละหมวดหมู่ เหตุแห่งการตั้งชื่อ ของธรรมแต่ละหมวดหมู่ ชื่อว่า อินทรีย์ เพราะมีสภาวะเป็นใหญ่ ชื่อว่า พละ เพราะมีสภาวะไม่หวั่นไหว ชื่อว่า โพชฌงค์ เพราะมีสภาวะนำออก ชื่อว่า มรรค เพราะมีสภาวะเป็นเหตุ ชื่อว่า สติปัฏฐาน เพราะมีสภาวะตั้งมั่น ชื่อว่า สัมมัปปธาน เพราะมีสภาวะดำรงไว้ ชื่อว่า อิทธิบาท เพราะมีสภาวะสำเร็จ ชื่อว่า สัจจะ เพราะมีสภาวะเป็นของแท้ ชื่อว่า สมถะ เพราะมีสภาวะไม่ฟุ้งซ่าน ชื่อว่า วิปัสสนา เพราะมีสภาวะพิจารณาเห็น ชื่อว่า สมถะและวิปัสสนา เพราะมีสภาวะ เป็นรสอย่างเดียวกัน ชื่อว่า ธรรมที่เป็นคู่กัน เพราะมีสภาวะ ไม่ล่วงเลยกัน ชื่อว่า สีลวิสุทธิ เพราะมีสภาวะสำรวม ชื่อว่า จิตตวิสุทธิ เพราะมีสภาวะไม่ฟุ้งซ่าน ชื่อว่า ทิฏฐิวิสุทธิ เพราะมีสภาวะเห็น ชื่อว่า วิโมกข์ เพราะมีสภาวะหลุดพ้น ชื่อว่า วิชชา เพราะมีสภาวะรู้แจ้ง ชื่อว่า วิมุตติ เพราะมีสภาวะสละ ชื่อว่า ญาณในความสิ้นไป เพราะมีสภาวะ ตัดขาด ชื่อว่า อนุปปาทญาณ (ญาณในความไม่เกิดขึ้น) เพราะมีสภาวะสงบระงับ ชื่อว่า ฉันทะ เพราะมีสภาวะเป็นมูล ชื่อว่า มนสิการ เพราะมีสภาวะเป็น สมุฏฐาน ชื่อว่า ผัสสะ เพราะมีสภาวะประมวลมา ชื่อว่า เวทนา เพราะมีสภาวะประชุมกัน ชื่อว่า สมาธิ เพราะมีสภาวะเป็นประธาน ชื่อว่า สติ เพราะมีสภาวะเป็นใหญ่ ชื่อว่า ปัญญา เพราะมีสภาวะเป็นธรรม ยิ่งกว่าธรรมนั้น ชื่อว่า วิมุตติ เพราะมีสภาวะเป็นแก่นสาร ธรรมที่หยั่งลงสู่อมตะคือนิพพาน เพราะมีสภาวะเป็นที่สุด ธรรมใดๆ ที่รู้ยิ่งแล้ว ธรรมนั้นๆ ก็เป็นอันรู้แล้ว ชื่อว่า ญาณ เพราะมีสภาวะรู้ธรรมนั้น ชื่อว่า ปัญญา เพราะมีสภาวะรู้ชัด เพราะฉะนั้น ท่านจึงกล่าวว่า การทรงจำธรรมที่ได้สดับมาว่า “ธรรมเหล่านี้ ควรรู้ยิ่ง” ปัญญารู้ชัดธรรมที่ได้สดับมานั้น ชื่อว่า สุตมยญาณ

เหตุแห่งการตั้งชื่อธรรมแต่ละหมวดหมู่




เหตุแห่งการตั้งชื่อ

ของธรรมแต่ละหมวดหมู่

ชื่อว่า อินทรีย์           เพราะมีสภาวะเป็นใหญ่

ชื่อว่า พละ               เพราะมีสภาวะไม่หวั่นไหว

ชื่อว่า โพชฌงค์         เพราะมีสภาวะนำออก

ชื่อว่า มรรค              เพราะมีสภาวะเป็นเหตุ    

ชื่อว่า สติปัฏฐาน       เพราะมีสภาวะตั้งมั่น
ชื่อว่า สัมมัปปธาน     เพราะมีสภาวะดำรงไว้
ชื่อว่า อิทธิบาท         เพราะมีสภาวะสำเร็จ       
ชื่อว่า สัจจะ              เพราะมีสภาวะเป็นของแท้ 
ชื่อว่า สมถะ              เพราะมีสภาวะไม่ฟุ้งซ่าน
ชื่อว่า วิปัสสนา       เพราะมีสภาวะพิจารณาเห็น 
ชื่อว่า สมถะและวิปัสสนา  เพราะมีสภาวะ
เป็นรสอย่างเดียวกัน 
ชื่อว่า ธรรมที่เป็นคู่กัน  เพราะมีสภาวะ
                               ไม่ล่วงเลยกัน 
ชื่อว่า สีลวิสุทธิ         เพราะมีสภาวะสำรวม 
ชื่อว่า จิตตวิสุทธิ       เพราะมีสภาวะไม่ฟุ้งซ่าน
ชื่อว่า ทิฏฐิวิสุทธิ       เพราะมีสภาวะเห็น 
ชื่อว่า วิโมกข์            เพราะมีสภาวะหลุดพ้น 
ชื่อว่า วิชชา              เพราะมีสภาวะรู้แจ้ง  
ชื่อว่า วิมุตติ             เพราะมีสภาวะสละ  
ชื่อว่า ญาณในความสิ้นไป เพราะมีสภาวะ
                             ตัดขาด       
ชื่อว่า อนุปปาทญาณ (ญาณในความไม่เกิดขึ้น)  
เพราะมีสภาวะสงบระงับ  
ชื่อว่า ฉันทะ             เพราะมีสภาวะเป็นมูล 
ชื่อว่า มนสิการ          เพราะมีสภาวะเป็น
                              สมุฏฐาน
ชื่อว่า ผัสสะ        เพราะมีสภาวะประมวลมา  
ชื่อว่า เวทนา       เพราะมีสภาวะประชุมกัน 
ชื่อว่า สมาธิ        เพราะมีสภาวะเป็นประธาน  
ชื่อว่า สติ            เพราะมีสภาวะเป็นใหญ่ 
ชื่อว่า ปัญญา       เพราะมีสภาวะเป็นธรรม 
                         ยิ่งกว่าธรรมนั้น 
ชื่อว่า วิมุตติ         เพราะมีสภาวะเป็นแก่นสาร 
ธรรมที่หยั่งลงสู่อมตะคือนิพพาน   
เพราะมีสภาวะเป็นที่สุด  
ธรรมใดๆ ที่รู้ยิ่งแล้ว ธรรมนั้นๆ ก็เป็นอันรู้แล้ว ชื่อว่า ญาณ  เพราะมีสภาวะรู้ธรรมนั้น ชื่อว่าปัญญา เพราะมีสภาวะรู้ชัด เพราะฉะนั้น ท่านจึงกล่าวว่า การทรงจำธรรมที่ได้สดับมาว่า “ธรรมเหล่านี้ ควรรู้ยิ่ง ปัญญารู้ชัดธรรมที่ได้สดับมานั้น ชื่อว่า สุตมยญาณ

การพิจารณาเห็นธรรมในธรรม.. ทุกขอริยสัจ ฯ..*** *************************************************** [๒๙๔] ดูกรภิกษุทั้งหลาย อีกข้อหนึ่ง ภิกษุพิจารณาเห็นธรรมในธรรม คืออริยสัจ ๔ อยู่ ภิกษุพิจารณาเห็นธรรมในธรรมคืออริยสัจ ๔ อยู่ อย่างไรเล่า ภิกษุในธรรมวินัยนี้ _________ ย่อมรู้ชัดตามเป็นจริงว่า... นี้ทุกข์ นี้ทุกขสมุทัย นี้ทุกขนิโรธ นี้ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา ฯ _______ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ทุกขอริยสัจเป็นไฉน แม้ชาติก็เป็นทุกข์ แม้ชราก็ เป็นทุกข์ แม้มรณะก็เป็นทุกข์ แม้โสกะ ปริเทวะทุกข์โทมนัสอุปายาส ก็เป็น ทุกข์ แม้ความประจวบกับสิ่งไม่เป็นที่รักก็เป็นทุกข์ แม้ความพลัดพรากจากสิ่ง ที่รักก็เป็นทุกข์ ปรารถนาสิ่งใดไม่ได้ แม้อันนั้นก็เป็นทุกข์ โดยย่อ อุปาทานขันธ์ ทั้ง ๕ เป็นทุกข์ ฯ _______ [๒๙๕] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ชาติเป็นไฉน ความเกิด ความบังเกิด ความหยั่งลงเกิด เกิดจำเพาะ ความปรากฏแห่งขันธ์ ความได้อายตนะครบ ใน หมู่สัตว์นั้นๆ ของเหล่าสัตว์นั้นๆ อันนี้เรียกว่าชาติ ฯ _______ ก็ชราเป็นไฉน ความแก่ ภาวะของความแก่ ฟันหลุด ผมหงอก หนังเป็นเกลียว ความเสื่อมแห่งอายุ ความแก่หง่อมแห่งอินทรีย์ ในหมู่สัตว์นั้นๆ ของเหล่าสัตว์นั้นๆ อันนี้ เรียกว่าชรา ฯ _______ ก็มรณะเป็นไฉน ความเคลื่อน ภาวะของความเคลื่อน ความแตกทำลาย ความหายไป มฤตยู ความตาย ความทำกาละ ความทำลายแห่งขันธ์ ความทอดทิ้งซากศพไว้ ความขาดแห่งชีวิตินทรีย์ จากหมู่สัตว์นั้นๆ ของเหล่าสัตว์ นั้นๆ อันนี้เรียกว่ามรณะ ฯ _______ ก็โสกะเป็นไฉน ความแห้งใจ กิริยาที่แห้งใจ ภาวะแห่งบุคคลผู้แห้งใจ ความผาก ณ ภายใน ความแห้งผาก ณ ภายใน ของบุคคลผู้ประกอบด้วยความ พิบัติอย่างใดอย่างหนึ่ง ผู้ถูกธรรมคือทุกข์อย่างใดอย่างหนึ่งกระทบแล้ว อันนี้ เรียกว่าโสกะ ฯ ________ ก็ปริเทวะเป็นไฉน ความคร่ำครวญ ความร่ำไรรำพัน กิริยาที่คร่ำครวญ กิริยาที่ร่ำไรรำพัน ภาวะของบุคคลผู้คร่ำครวญ ภาวะของบุคคลผู้ร่ำไรรำพัน ของ บุคคล ผู้ประกอบด้วยความพิบัติอย่างใดอย่างหนึ่ง ผู้ถูกธรรมคือทุกข์อย่างใดอย่าง หนึ่งกระทบแล้ว อันนี้เรียกว่าปริเทวะ ฯ _________ ก็ทุกข์เป็นไฉน ความลำบากทางกาย ความไม่สำราญทางกาย ความ เสวยอารมณ์อันไม่ดีที่เป็นทุกข์เกิดแต่กายสัมผัส อันนี้เรียกว่าทุกข์ ฯ __________ ก็โทมนัสเป็นไฉน ความทุกข์ทางจิต ความไม่สำราญทางจิต ความเสวยอารมณ์ อันไม่ดีที่เป็นทุกข์เกิดแต่มโนสัมผัส อันนี้เรียกว่าโทมนัส ฯ ___________ ก็อุปายาสเป็นไฉน ความแค้น ความคับแค้น ภาวะของบุคคลผู้แค้น ภาวะของบุคคลผู้คับแค้น ของบุคคลผู้ประกอบด้วยความพิบัติอย่างใดอย่างหนึ่ง ผู้ถูกธรรมคือทุกข์อย่างใด อย่างหนึ่งกระทบแล้ว อันนี้เรียกว่าอุปายาส ฯ ___________ ก็ความประจวบกับสิ่งไม่เป็นที่รัก ก็เป็นทุกข์ เป็นไฉน ความประสบ ความพรั่งพร้อม ความร่วม ความระคน ด้วยรูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ อันไม่น่าปรารถนา ไม่น่าใคร่ ไม่น่าพอใจ หรือด้วยบุคคลผู้ปรารถนาสิ่งที่ไม่เป็น ประโยชน์ ปรารถนาสิ่งที่ไม่เกื้อกูลปรารถนาความไม่ผาสุก ปรารถนาความไม่ เกษมจากโยคะ ซึ่งมีแก่ผู้นั้น อันนี้เรียกว่า ความประจวบกับสิ่งไม่เป็นที่รัก ก็เป็นทุกข์ ฯ ___________ ก็ความพลัดพรากจากสิ่งที่รัก ก็เป็นทุกข์ เป็นไฉน ความไม่ประสบ ความไม่พรั่งพร้อม ความไม่ร่วม ความไม่ระคน ด้วยรูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ อันน่าปรารถนา น่าใคร่ น่าพอใจ หรือด้วยบุคคลผู้ปรารถนาประโยชน์ ปรารถนาสิ่งที่เกื้อกูล ปรารถนาความผาสุก ปรารถนาความเกษมจาก โยคะ คือ มารดา บิดา พี่ชาย น้องชาย พี่หญิง น้อง หญิง มิตร อมาตย์ หรือ ญาติสาโลหิต ซึ่งมีแก่ผู้นั้น อันนี้เรียกว่า ความพลัดพรากจากสิ่งที่รักก็ เป็นทุกข์ ฯ ____________ ก็ปรารถนาสิ่งใดไม่ได้ แม้อันนั้น ก็เป็นทุกข์ เป็นไฉน ความปรารถนา ย่อมบังเกิดแก่สัตว์ผู้มีความเกิดเป็นธรรมดา อย่างนี้ว่า โอหนอ ขอเราไม่พึงมี...ความ เกิด.....เป็นธรรมดา ขอความเกิดอย่ามีมาถึงเราเลย ข้อนั้นสัตว์ไม่พึงได้สมความ ปรารถนา แม้ข้อนี้ ก็ชื่อว่าปรารถนา สิ่งใดไม่ได้ แม้อันนั้นก็เป็นทุกข์ _____________ ความ ปรารถนาย่อมบังเกิดแก่สัตว์ผู้มีความแก่เป็นธรรมดา อย่างนี้ว่า โอหนอ ขอเรา ไม่พึงมี...ความแก่....เป็นธรรมดา ขอความแก่อย่ามีมาถึงเราเลย ข้อนั้น สัตว์ไม่พึงได้ สมความปรารถนา แม้ข้อนี้ ก็ชื่อว่า ปรารถนาสิ่งใดไม่ได้ แม้อันนั้นก็เป็นทุกข์ ______________ ความปรารถนาย่อมบังเกิดแก่สัตว์ผู้มี..ความเจ็บ..เป็นธรรมดาอย่างนี้ว่า โอหนอ ขอเราไม่พึงมี..ความเจ็บ...เป็นธรรมดา ขอ..ความเจ็บ..อย่ามีมาถึงเราเลย ข้อนั้นสัตว์ไม่พึง ได้สมความปรารถนา แม้ข้อนี้ ก็ชื่อว่า ปรารถนาสิ่งใดไม่ได้ แม้อันนั้นก็เป็นทุกข์ _______________ ความปรารถนาย่อมบังเกิดแก่สัตว์ผู้มี..ความตาย..เป็นธรรมดาอย่างนี้ว่า โอหนอ ขอเราไม่พึงมี..ความตาย..เป็นธรรมดา ขอ..ความตาย..อย่ามีมาถึงเราเลย ข้อนั้นสัตว์ ไม่พึงได้สมความปรารถนา แม้ข้อนี้ ก็ชื่อว่า ปรารถนาสิ่งใดไม่ได้ แม้อันนั้นก็ เป็นทุกข์ ---------------- ความปรารถนา ย่อมบังเกิดแก่สัตว์ผู้มี..โสกปริเทวทุกขโทมนัสอุปายาส.. เป็นธรรมดา อย่างนี้ว่า โอหนอ ขอเราไม่พึง..มีโสกปริเทวทุกขโทมนัสอุปายาส..เป็นธรรมดา ขอ..โสกปริเทว ทุกขโทมนัสอุปายาส อย่ามีมาถึงเราเลย ข้อนั้นสัตว์ ไม่พึงได้สมความปรารถนา แม้ข้อนี้ ก็ชื่อว่า ปรารถนาสิ่งใดไม่ได้ แม้อันนั้น ก็เป็นทุกข์ ฯ ----------------- ก็โดยย่อ อุปาทานขันธ์ ๕ เป็นทุกข์ เป็นไฉน อุปาทานขันธ์ คือรูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ เหล่านี้เรียกว่า โดยย่อ อุปาทานขันธ์ทั้ง ๕ เป็นทุกข์ ฯ ------------- ดูกรภิกษุทั้งหลาย อันนี้เรียกว่า ***ทุกขอริยสัจ ฯ*** ------------- พระไตรปิฎก ภาษาไทย (ฉบับหลวง) เล่มที่ ๑๐ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๒ ทีฆนิกาย มหาวรรค หน้าที่ ๒๒๖/๒๖๑ ข้อที่ ๒๙๔

การพิจารณาเห็นธรรมในธรรม.. ทุกขอริยสัจ ฯ..***
***************************************************
[๒๙๔] ดูกรภิกษุทั้งหลาย อีกข้อหนึ่ง ภิกษุพิจารณาเห็นธรรมในธรรม คืออริยสัจ ๔
อยู่ ภิกษุพิจารณาเห็นธรรมในธรรมคืออริยสัจ ๔ อยู่ อย่างไรเล่า ภิกษุในธรรมวินัยนี้
_________
ย่อมรู้ชัดตามเป็นจริงว่า...
นี้ทุกข์
นี้ทุกขสมุทัย
นี้ทุกขนิโรธ
นี้ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา ฯ
_______
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ทุกขอริยสัจเป็นไฉน
แม้ชาติก็เป็นทุกข์
แม้ชราก็ เป็นทุกข์
แม้มรณะก็เป็นทุกข์
แม้โสกะ ปริเทวะทุกข์โทมนัสอุปายาส ก็เป็น ทุกข์
แม้ความประจวบกับสิ่งไม่เป็นที่รักก็เป็นทุกข์
แม้ความพลัดพรากจากสิ่ง ที่รักก็เป็นทุกข์
ปรารถนาสิ่งใดไม่ได้ แม้อันนั้นก็เป็นทุกข์
โดยย่อ อุปาทานขันธ์ ทั้ง ๕ เป็นทุกข์ ฯ
_______
[๒๙๕] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ชาติเป็นไฉน
ความเกิด
ความบังเกิด
ความหยั่งลงเกิด
เกิดจำเพาะ
ความปรากฏแห่งขันธ์
ความได้อายตนะครบ ใน หมู่สัตว์นั้นๆ
ของเหล่าสัตว์นั้นๆ อันนี้เรียกว่าชาติ ฯ
_______
ก็ชราเป็นไฉน
ความแก่
ภาวะของความแก่ ฟันหลุด ผมหงอก หนังเป็นเกลียว
ความเสื่อมแห่งอายุ ความแก่หง่อมแห่งอินทรีย์ ในหมู่สัตว์นั้นๆ
ของเหล่าสัตว์นั้นๆ อันนี้
เรียกว่าชรา ฯ
_______
ก็มรณะเป็นไฉน
ความเคลื่อน ภาวะของความเคลื่อน ความแตกทำลาย
ความหายไป มฤตยู ความตาย ความทำกาละ
ความทำลายแห่งขันธ์ ความทอดทิ้งซากศพไว้
ความขาดแห่งชีวิตินทรีย์ จากหมู่สัตว์นั้นๆ ของเหล่าสัตว์ นั้นๆ
อันนี้เรียกว่ามรณะ ฯ
_______
ก็โสกะเป็นไฉน
ความแห้งใจ กิริยาที่แห้งใจ ภาวะแห่งบุคคลผู้แห้งใจ
ความผาก ณ ภายใน ความแห้งผาก ณ ภายใน
ของบุคคลผู้ประกอบด้วยความ พิบัติอย่างใดอย่างหนึ่ง
ผู้ถูกธรรมคือทุกข์อย่างใดอย่างหนึ่งกระทบแล้ว อันนี้
เรียกว่าโสกะ ฯ
________

ก็ปริเทวะเป็นไฉน
ความคร่ำครวญ ความร่ำไรรำพัน กิริยาที่คร่ำครวญ
กิริยาที่ร่ำไรรำพัน ภาวะของบุคคลผู้คร่ำครวญ
ภาวะของบุคคลผู้ร่ำไรรำพัน ของ บุคคล
ผู้ประกอบด้วยความพิบัติอย่างใดอย่างหนึ่ง
ผู้ถูกธรรมคือทุกข์อย่างใดอย่าง หนึ่งกระทบแล้ว
อันนี้เรียกว่าปริเทวะ ฯ
_________
ก็ทุกข์เป็นไฉน
ความลำบากทางกาย ความไม่สำราญทางกาย
ความ เสวยอารมณ์อันไม่ดีที่เป็นทุกข์เกิดแต่กายสัมผัส
อันนี้เรียกว่าทุกข์ ฯ
__________
ก็โทมนัสเป็นไฉน
ความทุกข์ทางจิต ความไม่สำราญทางจิต ความเสวยอารมณ์
อันไม่ดีที่เป็นทุกข์เกิดแต่มโนสัมผัส
อันนี้เรียกว่าโทมนัส ฯ
___________
ก็อุปายาสเป็นไฉน
ความแค้น ความคับแค้น ภาวะของบุคคลผู้แค้น
ภาวะของบุคคลผู้คับแค้น
ของบุคคลผู้ประกอบด้วยความพิบัติอย่างใดอย่างหนึ่ง
ผู้ถูกธรรมคือทุกข์อย่างใด
อย่างหนึ่งกระทบแล้ว อันนี้เรียกว่าอุปายาส ฯ
___________
ก็ความประจวบกับสิ่งไม่เป็นที่รัก ก็เป็นทุกข์ เป็นไฉน
ความประสบ ความพรั่งพร้อม ความร่วม ความระคน
ด้วยรูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ
อันไม่น่าปรารถนา ไม่น่าใคร่ ไม่น่าพอใจ
หรือด้วยบุคคลผู้ปรารถนาสิ่งที่ไม่เป็น ประโยชน์
ปรารถนาสิ่งที่ไม่เกื้อกูลปรารถนาความไม่ผาสุก
ปรารถนาความไม่ เกษมจากโยคะ ซึ่งมีแก่ผู้นั้น อันนี้เรียกว่า
ความประจวบกับสิ่งไม่เป็นที่รัก ก็เป็นทุกข์ ฯ
___________
ก็ความพลัดพรากจากสิ่งที่รัก ก็เป็นทุกข์ เป็นไฉน
ความไม่ประสบ ความไม่พรั่งพร้อม ความไม่ร่วม
ความไม่ระคน ด้วยรูป เสียง กลิ่น รส
โผฏฐัพพะ อันน่าปรารถนา น่าใคร่ น่าพอใจ
หรือด้วยบุคคลผู้ปรารถนาประโยชน์
ปรารถนาสิ่งที่เกื้อกูล ปรารถนาความผาสุก
ปรารถนาความเกษมจาก โยคะ คือ
มารดา บิดา พี่ชาย น้องชาย พี่หญิง น้อง
หญิง มิตร อมาตย์ หรือ ญาติสาโลหิต ซึ่งมีแก่ผู้นั้น อันนี้เรียกว่า
ความพลัดพรากจากสิ่งที่รักก็ เป็นทุกข์ ฯ
____________
ก็ปรารถนาสิ่งใดไม่ได้ แม้อันนั้น ก็เป็นทุกข์ เป็นไฉน
ความปรารถนา ย่อมบังเกิดแก่สัตว์ผู้มีความเกิดเป็นธรรมดา
อย่างนี้ว่า โอหนอ
ขอเราไม่พึงมี...ความ เกิด.....เป็นธรรมดา
ขอความเกิดอย่ามีมาถึงเราเลย
ข้อนั้นสัตว์ไม่พึงได้สมความ ปรารถนา
แม้ข้อนี้ ก็ชื่อว่าปรารถนา สิ่งใดไม่ได้ แม้อันนั้นก็เป็นทุกข์
_____________
ความ ปรารถนาย่อมบังเกิดแก่สัตว์ผู้มีความแก่เป็นธรรมดา
อย่างนี้ว่า โอหนอ
ขอเรา ไม่พึงมี...ความแก่....เป็นธรรมดา
ขอความแก่อย่ามีมาถึงเราเลย ข้อนั้น
สัตว์ไม่พึงได้ สมความปรารถนา แม้ข้อนี้ ก็ชื่อว่า
ปรารถนาสิ่งใดไม่ได้ แม้อันนั้นก็เป็นทุกข์
______________
ความปรารถนาย่อมบังเกิดแก่สัตว์ผู้มี..ความเจ็บ..เป็นธรรมดาอย่างนี้ว่า
โอหนอ ขอเราไม่พึงมี..ความเจ็บ...เป็นธรรมดา
ขอ..ความเจ็บ..อย่ามีมาถึงเราเลย
ข้อนั้นสัตว์ไม่พึง ได้สมความปรารถนา แม้ข้อนี้
ก็ชื่อว่า ปรารถนาสิ่งใดไม่ได้ แม้อันนั้นก็เป็นทุกข์
_______________
ความปรารถนาย่อมบังเกิดแก่สัตว์ผู้มี..ความตาย..เป็นธรรมดาอย่างนี้ว่า
โอหนอ ขอเราไม่พึงมี..ความตาย..เป็นธรรมดา
ขอ..ความตาย..อย่ามีมาถึงเราเลย
ข้อนั้นสัตว์ ไม่พึงได้สมความปรารถนา แม้ข้อนี้ ก็ชื่อว่า
ปรารถนาสิ่งใดไม่ได้ แม้อันนั้นก็ เป็นทุกข์
----------------
ความปรารถนา ย่อมบังเกิดแก่สัตว์ผู้มี..โสกปริเทวทุกขโทมนัสอุปายาส..
เป็นธรรมดา อย่างนี้ว่า โอหนอ
ขอเราไม่พึง..มีโสกปริเทวทุกขโทมนัสอุปายาส..เป็นธรรมดา
ขอ..โสกปริเทว ทุกขโทมนัสอุปายาส อย่ามีมาถึงเราเลย
ข้อนั้นสัตว์ ไม่พึงได้สมความปรารถนา แม้ข้อนี้ ก็ชื่อว่า
ปรารถนาสิ่งใดไม่ได้ แม้อันนั้น ก็เป็นทุกข์ ฯ
-----------------
ก็โดยย่อ อุปาทานขันธ์ ๕ เป็นทุกข์ เป็นไฉน
อุปาทานขันธ์ คือรูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ
เหล่านี้เรียกว่า โดยย่อ อุปาทานขันธ์ทั้ง ๕ เป็นทุกข์ ฯ

-------------
ดูกรภิกษุทั้งหลาย อันนี้เรียกว่า ***ทุกขอริยสัจ ฯ***
-------------
พระไตรปิฎก ภาษาไทย (ฉบับหลวง) เล่มที่ ๑๐
พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๒ ทีฆนิกาย มหาวรรค
หน้าที่ ๒๒๖/๒๖๑ ข้อที่ ๒๙๔

องค์สมเด็จพระมหามุนีตรัสว่า "ถ้าระงับอารมณ์ความโกรธ หรือ ความพยาบาทเสียได้ กำลังใจก็จะเต็มไปด้วยความผ่องใส คนที่มีความโกรธง่าย และ ขังความโกรธไว้เร็ว ทั้งจิตใจก็ดี ทั้งร่างกายก็ดี ทรุดโทรมง่าย จิตใจก็เต็มไปด้วยความเร่าร้อน มีแต่ความกระวนกระวาย หาความสุขไม่ได้.. หลวงพ่อพระราชพรหมยาน (หลวงพ่อฤๅษีลิงดำ)

องค์สมเด็จพระมหามุนีตรัสว่า 
"ถ้าระงับอารมณ์ความโกรธ 
หรือ ความพยาบาทเสียได้
กำลังใจก็จะเต็มไปด้วยความผ่องใส 
คนที่มีความโกรธง่าย 
และ ขังความโกรธไว้เร็ว
ทั้งจิตใจก็ดี ทั้งร่างกายก็ดี ทรุดโทรมง่าย
จิตใจก็เต็มไปด้วยความเร่าร้อน
มีแต่ความกระวนกระวาย
หาความสุขไม่ได้..

หลวงพ่อพระราชพรหมยาน
(หลวงพ่อฤๅษีลิงดำ) 

กาลามสูตร เป็นหลักแห่งความเชื่อที่พระพุทธองค์ทรงวางไว้ให้แก่พุทธศาสนิกชน ไม่ให้เชื่อสิ่งใด ๆ อย่างงมงายโดยไม่ใช้ปัญญาพิจารณาให้เห็นจริงถึงคุณโทษหรือดีไม่ดีก่อนเชื่อ มีอยู่ 10 ประการ ได้แก่ มา อนุสฺสวเนน อย่าปลงใจเชื่อ ด้วยการฟังตามๆ กันมา มา ปรมฺปราย อย่าปลงใจเชื่อ ด้วยการถือสืบๆ กันมา มา อิติกิราย อย่าปลงใจเชื่อ ด้วยการเล่าลือ มา ปิฏกสมฺปทาเนน อย่าปลงใจเชื่อ ด้วยการอ้างตำราหรือคัมภีร์ มา ตกฺกเหตุ อย่าปลงใจเชื่อ เพราะเดาว่าเป็นเหตุผลกัน มา นยเหตุ อย่าปลงใจเชื่อ เพราะการอนุมานคาดคะเน มา อาการปริวิตกฺเกน อย่าปลงใจเชื่อ ด้วยการเดาจากอาการที่เห็น มา ทิฎฐินิชฺฌานกฺขนฺติยา อย่าปลงใจเชื่อ เพราะเข้ากันได้กับทฤษฎีที่พินิจไว้แล้ว มา ภพฺพรูปตา อย่าปลงใจเชื่อ เพราะผู้พูดมีลักษณะน่าเชื่อถือ มา สมโณ โน ครูติ อย่าปลงใจเชื่อ เพราะนับถือว่า ท่านสมณะนี้ เป็นครูของเรา เมื่อใดสอบสวนจนรู้ได้ด้วยตนเองว่า ธรรมเหล่านั้นเป็นอกุศลหรือมีโทษเมื่อนั้นพึงละเสีย และเมื่อใดสอบสวนจนรู้ได้ด้วยตนเองว่า ธรรมเหล่านั้นเป็นกุศลหรือไม่มีโทษ เมื่อนั้นพึงถือปฏิบัติ

กาลามสูตร เป็นหลักแห่งความเชื่อที่พระพุทธองค์ทรงวางไว้ให้แก่พุทธศาสนิกชน ไม่ให้เชื่อสิ่งใด ๆ อย่างงมงายโดยไม่ใช้ปัญญาพิจารณาให้เห็นจริงถึงคุณโทษหรือดีไม่ดีก่อนเชื่อ มีอยู่ 10 ประการ ได้แก่

มา อนุสฺสวเนน 
อย่าปลงใจเชื่อ ด้วยการฟังตามๆ กันมา

มา ปรมฺปราย
อย่าปลงใจเชื่อ ด้วยการถือสืบๆ กันมา

มา อิติกิราย
อย่าปลงใจเชื่อ ด้วยการเล่าลือ

มา ปิฏกสมฺปทาเนน
อย่าปลงใจเชื่อ ด้วยการอ้างตำราหรือคัมภีร์

มา ตกฺกเหตุ
อย่าปลงใจเชื่อ เพราะเดาว่าเป็นเหตุผลกัน

มา นยเหตุ
อย่าปลงใจเชื่อ เพราะการอนุมานคาดคะเน

มา อาการปริวิตกฺเกน
อย่าปลงใจเชื่อ ด้วยการเดาจากอาการที่เห็น

มา ทิฎฐินิชฺฌานกฺขนฺติยา
อย่าปลงใจเชื่อ เพราะเข้ากันได้กับทฤษฎีที่พินิจไว้แล้ว

มา ภพฺพรูปตา
อย่าปลงใจเชื่อ เพราะผู้พูดมีลักษณะน่าเชื่อถือ

มา สมโณ โน ครูติ
อย่าปลงใจเชื่อ เพราะนับถือว่า ท่านสมณะนี้ เป็นครูของเรา

เมื่อใดสอบสวนจนรู้ได้ด้วยตนเองว่า ธรรมเหล่านั้นเป็นอกุศลหรือมีโทษเมื่อนั้นพึงละเสีย และเมื่อใดสอบสวนจนรู้ได้ด้วยตนเองว่า ธรรมเหล่านั้นเป็นกุศลหรือไม่มีโทษ เมื่อนั้นพึงถือปฏิบัติ

ฝนฟ้าอากาศมันก็ต้องตกไปตามเรื่องตามราว เราอยู่ในโลกก็ต้องการทั้งแดดทั้งฝน แต่ว่าความต้องการของมนุษย์นี่บางทีมันก็ขัดกัน บางที่ฝนตกไม่ชอบ บางทีแดดออกไม่ชอบ ลมพัดจัดก็ไม่ชอบ อย่างโน้นอย่างนี้ ก็ไม่ใคร่เป็นที่ชอบใจ อะไรๆ ในโลกนี้ ก็ไม่ใคร่เป็นที่ชอบใจ อะไรๆ ในโลกนี่จะเหมือนใจทุกอย่างไม่ได้ สิ่งทั้งหลายก็เป็นไปตามอำนาจของธรรมชาติ เราก็ต้องปลูกความรู้สึกในใจให้เกิดความพอดีๆ กับสิ่งเหล่านั้น คือ ให้รู้สึกในใจให้เกิดความพอดีๆ กับสิ่งเหล่านั้น คือ ให้รู้สึกพอใจแล้วก็สบาย แต่ถ้าไม่รู้สึกพอใจในเรื่องอะไรๆ ก็เกิดความทุกข์ความเดือดร้อนในชีวิตประจำวัน . ในทางธรรมะจึงสอนเราให้รู้จักสันโดษ หมายความว่า พอใจในสิ่งที่เราประสพอยู่เฉพาะหน้า คือ อะไรเกิดขึ้นเฉพาะหน้า เราก็นึกพอใจในสิ่งนั้น ความพอใจในสิ่งที่เกิดขึ้นเฉพาะหน้า คือสันโดษ เป็นศิลปะของความสุขความสบายในทางจิตใจ ในขณะใดที่เรามีความพอใจในเรื่องอะไรๆ ที่เกิดขึ้น เราก็รู้สึกสบายใจ ยิ้มได้ แต่ว่าในขณะใดที่เรารู้สึกขัดใจ ไม่ชอบใจ ในสิ่งที่เกิดมีอยู่เฉพาะหน้า ในขณะนั้นเราก็มีความทุกข์ มีความไม่สบายใจ อันความทุกข์ความเดือดร้อนใจนี่ ใครๆ ก็ไม่ค่อยชอบ ไม่ค่อยต้องการ . แต่ว่าพอเผลอ ความทุกข์ก็เกิดขึ้นในตัวเราได้ ที่ความทุกข์เกิดขึ้นได้ ก็เพราะความประมาท เผลอไป ไม่ได้ใช้ปัญญาคิดจึกตรึกตรองในเรื่องนั้น . มองอะไรก็มองแต่เพียงแง่เดียว ไม่มองไปในแง่ที่ว่า มันเป็นความจริงอย่างไร คุณ โทษ ประโยชน์ มิใช่ประโยชน์ ของสิ่งนั้นเป็นอย่างไร เรามองไม่ชัดเจนตามที่เป็นจริง เมื่อมองเห็นอะไรๆไม่ชัดเจนตามที่มันเป็นจริง ก็เป็นเหตุให้เกิดความทุกข์ ความเดือดร้อนในใจได้ . เพราะฉะนั้น ในทางพระพุทธศาสนา จึงมีหลักคำสอนว่า จงมองทุกสิ่งทุกอย่างตามที่มันเป็นจริง . ท่านใช้ศัพท์เทคนิคในทางธรรมะว่า ยถาภูตญาณทัสสนะ คำว่า "ยถาภูตญาณทัสสนะ" ถ้าแปลก็หมายความว่า "เห็นอะไรๆ ทุกอย่างตามที่มันเป็นจริงๆ" . ความจริงของสิ่งนั้นมันเป็นอย่างไร เราก็มองให้เห็นชัดในสิ่งนั้น ในขณะใดที่เรามองเห็นสิ่งนั้น ชัดแจ้งตามที่มันเป็นจริง ความหลงไม่มี ความยึดถือในสิ่งนั้นก็ไม่มี ใจเราก็ว่างจากความยึดถือ เมื่อใจว่างจากความยึดถือ เราก็มีความสงบใจ . เพราะฉะนั้นพระผู้มีพระภาคเจ้า ท่านจึงสอนเราให้หัดมองอะไรทุกอย่าง ที่ผ่านเข้ามาในวิถีชีวิตของเรา ให้รู้ชัดเห็นชัดตามที่เป็นจริงอยู่ตลอดเวลา อันการที่เราจะมองอะไรให้เห็นชัดนั้น ก็ต้องศึกษาให้รู้ธรรมะ . เพื่อเอามาใช้เป็นแว่นประกอบการมอง ประกอบการพิจารณาในสิ่งนั้นๆ จะได้รู้เข้าใจชัดเจนขึ้น เราจึงต้องมาวัดฟังธรรมบ้าง อ่านหนังสือทางศาสนาบ้าง สนทนาแลกเปลี่ยน ความคิดความเห็นในด้านธรรมะ กับผู้ที่มีความรู้ความเข้าใจบ้าง . หลวงพ่อปัญญานันทภิกขุ



ฝนฟ้าอากาศมันก็ต้องตกไปตามเรื่องตามราว
เราอยู่ในโลกก็ต้องการทั้งแดดทั้งฝน
แต่ว่าความต้องการของมนุษย์นี่บางทีมันก็ขัดกัน
บางที่ฝนตกไม่ชอบ บางทีแดดออกไม่ชอบ
ลมพัดจัดก็ไม่ชอบ อย่างโน้นอย่างนี้ ก็ไม่ใคร่เป็นที่ชอบใจ 
อะไรๆ ในโลกนี้ ก็ไม่ใคร่เป็นที่ชอบใจ
อะไรๆ ในโลกนี่จะเหมือนใจทุกอย่างไม่ได้
สิ่งทั้งหลายก็เป็นไปตามอำนาจของธรรมชาติ
เราก็ต้องปลูกความรู้สึกในใจให้เกิดความพอดีๆ กับสิ่งเหล่านั้น
คือ ให้รู้สึกในใจให้เกิดความพอดีๆ กับสิ่งเหล่านั้น
คือ ให้รู้สึกพอใจแล้วก็สบาย แต่ถ้าไม่รู้สึกพอใจในเรื่องอะไรๆ
ก็เกิดความทุกข์ความเดือดร้อนในชีวิตประจำวัน
.
ในทางธรรมะจึงสอนเราให้รู้จักสันโดษ
หมายความว่า พอใจในสิ่งที่เราประสพอยู่เฉพาะหน้า
คือ อะไรเกิดขึ้นเฉพาะหน้า เราก็นึกพอใจในสิ่งนั้น
ความพอใจในสิ่งที่เกิดขึ้นเฉพาะหน้า คือสันโดษ
เป็นศิลปะของความสุขความสบายในทางจิตใจ
ในขณะใดที่เรามีความพอใจในเรื่องอะไรๆ ที่เกิดขึ้น
เราก็รู้สึกสบายใจ ยิ้มได้
แต่ว่าในขณะใดที่เรารู้สึกขัดใจ ไม่ชอบใจ
ในสิ่งที่เกิดมีอยู่เฉพาะหน้า ในขณะนั้นเราก็มีความทุกข์
มีความไม่สบายใจ อันความทุกข์ความเดือดร้อนใจนี่
ใครๆ ก็ไม่ค่อยชอบ ไม่ค่อยต้องการ
.
แต่ว่าพอเผลอ ความทุกข์ก็เกิดขึ้นในตัวเราได้
ที่ความทุกข์เกิดขึ้นได้ ก็เพราะความประมาท เผลอไป
ไม่ได้ใช้ปัญญาคิดจึกตรึกตรองในเรื่องนั้น
.
มองอะไรก็มองแต่เพียงแง่เดียว
ไม่มองไปในแง่ที่ว่า มันเป็นความจริงอย่างไร
คุณ โทษ ประโยชน์ มิใช่ประโยชน์ ของสิ่งนั้นเป็นอย่างไร
เรามองไม่ชัดเจนตามที่เป็นจริง
เมื่อมองเห็นอะไรๆไม่ชัดเจนตามที่มันเป็นจริง
ก็เป็นเหตุให้เกิดความทุกข์ ความเดือดร้อนในใจได้
.
เพราะฉะนั้น ในทางพระพุทธศาสนา จึงมีหลักคำสอนว่า
จงมองทุกสิ่งทุกอย่างตามที่มันเป็นจริง
.
ท่านใช้ศัพท์เทคนิคในทางธรรมะว่า ยถาภูตญาณทัสสนะ
คำว่า "ยถาภูตญาณทัสสนะ" ถ้าแปลก็หมายความว่า
"เห็นอะไรๆ ทุกอย่างตามที่มันเป็นจริงๆ"
.
ความจริงของสิ่งนั้นมันเป็นอย่างไร เราก็มองให้เห็นชัดในสิ่งนั้น
ในขณะใดที่เรามองเห็นสิ่งนั้น ชัดแจ้งตามที่มันเป็นจริง
ความหลงไม่มี ความยึดถือในสิ่งนั้นก็ไม่มี
ใจเราก็ว่างจากความยึดถือ
เมื่อใจว่างจากความยึดถือ เราก็มีความสงบใจ
.
เพราะฉะนั้นพระผู้มีพระภาคเจ้า
ท่านจึงสอนเราให้หัดมองอะไรทุกอย่าง
ที่ผ่านเข้ามาในวิถีชีวิตของเรา
ให้รู้ชัดเห็นชัดตามที่เป็นจริงอยู่ตลอดเวลา
อันการที่เราจะมองอะไรให้เห็นชัดนั้น
ก็ต้องศึกษาให้รู้ธรรมะ
.
เพื่อเอามาใช้เป็นแว่นประกอบการมอง
ประกอบการพิจารณาในสิ่งนั้นๆ จะได้รู้เข้าใจชัดเจนขึ้น
เราจึงต้องมาวัดฟังธรรมบ้าง อ่านหนังสือทางศาสนาบ้าง
สนทนาแลกเปลี่ยน ความคิดความเห็นในด้านธรรมะ
กับผู้ที่มีความรู้ความเข้าใจบ้าง
.
หลวงพ่อปัญญานันทภิกขุ

วันอังคารที่ 26 กรกฎาคม พ.ศ. 2559

ทิปการจัดองค์ประกอบสำหรับการถ่ายทะเล Seascape BY FOTOFAKA · FEBRUARY 1, 2015 กฏสำหรับการถ่ายรูปนั้นคงไม่มีกฏที่แน่นอนในการจัดองค์ประกอบนัก แต่ก็เลี่ยงไม่ได้ว่าการทำตามกฏต่างๆแล้วก็ได้ผลที่ไม่แย่นัก ทำไมนะหรอ ? บางทีอาจเป็นเพราะสมองของเราเป็นผลลัพธ์จากการวิวัฒนาการมากว่าล้านปี เช่นเมื่อเราเห็นจุดสองจุดและเส้น เราก็นึกถึงใบหน้า ไม่เชื่อหรอ ดูนี่ซิ  และการที่เราชอบภาพบางภาพมากกว่าภาพอื่นๆมันก็มีเหตุผลของมัน มาดูเทคนิคเล็กๆน้อยๆ ที่สามารถนำไปใช้ได้กับทริปทะเลครั้งต่อไปของคุณได้ เริ่มทำตามกฏ ก่อนที่จะแหกกฏ ต้องรู้จักกฏให้ดีซะก่อน พยายามลองทำตามกฏ เริ่มจาก กฏสามส่วน ใครยังไม่รู้ว่าคืออะไรก็ลองคลิ๊กไปอ่านดู เราจะวางสิ่งที่น่าสนใจไว้ตรงจุดตัดเก้าช่องดังภาพ เพื่อให้ภาพดูสมดุลขึ้น  สิ่งที่น่าสนใจในรูปคือ ประภาคาร ภาพผลลัพธ์จะออกมาดังนี้  เลือกสิ่งที่น่าสนใจ ถ้าคุณใช้กฏสามส่วน แน่นอนว่าเส้นขอบฟ้าคงไม่ได้อยู๋ตรงกลาง เว้นแต่จะเป็นภาพสะท้อนสวยๆ แต่ว่าจะเอาเส้นขอบฟ้าไว้ด้านบน หรือด้านล่าง ?  ลองดูภาพตัวอย่างนี้ ให้ทะเลเป็นพระเอก เลยแบ่งไปสองส่วน และให้ฟ้า หนึ่งส่วน  จะเห็นว่ามีหินเป็นฉากหน้าที่น่าสนใจ เลยอยากจะเน้นสิ่งที่น่าสนใจ ก็เลยแบ่งให้มันไป 2/3  เช็คเส้นขอบฟ้า ไม่มีสิ่งไหนที่กวนสายตาได้เท่ากันเส้นขอบฟ้าเอียงอีกแล้ว อาจใช้ ตัววัดระดับ ที่ติดกล้องของคุณ หรืออาจซื้อ ตัว hot shoe levle มาดังภาพ  เพราะว่า เวลาที่คุณต้องมาปรับเส้นขอบฟ้าทีหลังในโปรแกรมทีหลัง ทำให้คุณต้องเสียบางส่วนของภาพไป ใช้ ความยาวโฟกัส(focal length)อย่างฉลาด  บางครั้งคุณพยายามถ่ายมาด้วยระยะที่พอดี เป็นสิ่งที่ดี แต่บางครั้ง ควรถ่ายให้กว้างขึ้นถ้าทำได้ ถ้าคุณอยู่ที่ระยะ 24mm ลองถ่ายที่ 21 หรือ 18 mm อย่าขี้เกียจ  จำไว้ว่าเมื่อไปปรับแต่งภาพทีหลังคุณไป crop จาก 21 เป็น 24 mm ได้ แต่ทำกลับกันไม่ได้  ใช้เส้นนำสายตา ภาพก็เหมือนหนังสือ ต้องทำให้สนุกและสามารรถอ่านได้ตั้งแต่ต้นจนจบ  ลองใช้เส้นเพื่อเป็นตัวนำสายตา คุณสามารถใช้ ถนน หรือเส้นที่มีอยู่ในธรรมชาติ จำไว้ว่าให้ระวัง สิ่งที่กีดขวางเส้นนั้น มันจะเป็นเหมือน การอ่านหนังสือข้ามบรรทัด คนอ่านจะสูญเสียอรรถรส และเรื่องเล่าไป และหลีกเลี่ยงการใช้เส้นนำสายตาให้นำสายตาออกไปนอกภาพด้วย  ใช้ถนนเป็นเส้นนำสายตาไปยังสิ่งที่น่าสนใจ  หลีกเลี่ยงการวางวัตถุตรงขอบ ปัญหาที่เจอบ่อยของเลนส์ Wide คือเรื่อง distortion หรือการบิดเบี้ยวของเลนส์  การวางวัตถุตรงขอบนั้นทำให้ภาพบริเวณขอบนั้นบิดเบี้ยว บางคนอาจซื้อเลนส์ที่ราคาสูงเพื่อแก้ปัญหาตรงนี้ แต่ก็มีอีกหลายวิธี เช่น อย่าถ่ายให้ sbuject มันตรงเส้น ของกฏสามส่วน ให้เข้ามาตรงกลางอีกนิด หลังจากเราแก้ไข distortion ในโปรแกรมแล้วหรือ crop แล้ว มันก็ทำให้ไปอยู่ตรงเส้นพอดี  ถ้าเราถ่ายให้บ้านหลังนั้นอยู่ใกล้ๆขอบ มันก็เกิดการบิดเบี้ยวอันเกิดจากเลนส์ เมื่อเราแก้ด้วยโปรแกรมแล้ว ทำให้เสียเส้นนำสายตาไปเพราะ ต้องcrop บางส่วนออกไป  เพิ่มมิติและขนาด เมื่อเริ่มถ่ายทะเลใหม่ๆ ผมไม่ชอบให้มีคนหรือวัตถุต่างๆที่คนสร้างคนมาในภาพ (ถ้าไม่ใช่คนที่ผมตั้งใจใส่เข้าไปในภาพ) แต่บางครั้งก็เป็นความคิดที่ดีที่ใส่สิ่งก่อสร้างเข้าไปในภาพ เหตุผลหลักๆคือเรื่องของมิติ จากภาพด้านล่าง คนดูไม่รู้หรอกว่าโขดหินนั้นมีขนาดเท่าไหร่ เพราะไม่มีอะไรเทียบ หากเขาไม่เคยไปมาก่อน การให้มีพวกสิ่งก่อสร้าง เช่นประภาคาร สะพาน โบสถ์ มันทำให้มีมิติ และเกิดการเทียบขนาดได้ หินจะดูสวยขึ้น ถ้าเรารู้ว่ามันสูงและใหญ่มาก  ประภาคารเป็นตัวที่ให้มิติกับหินต่างๆในภาพ (ลองใช้นิ้วปิดประภาคารดูซิ)  ใช้ negative space negative space เป็นพื้นที่รอบๆวัตถุในภาพ มันมีความสำคัญเท่าๆกับวัตถุนั้นแหละ ตัว Negative space ช่วยกำหนดขอบเขตของ positive space และช่วยให้ภาพสมดุล มันยังช่วยเน้นให้ subject มีความน่าสนใจยิ่งขึ้น ภาพโบสถ์ที่อยู่บนหน้าผาจะให้ความรู้สึกกล้าหาญมากขึ้น เมื่อมันท้าทายความกว้างใหญ่ของทะเล   สนุกกับมัน สุดท้ายนี้จำไว้ว่า ทุกกฏสามารถแหกได้ ถ้าเส้นขอบฟ้ามันไม่ดีนักหากวางไว้ตรงเส้นแรกของกฏสามส่วน เพราะไม่มีเมฆ ก็วางมันขึ้นไปอีก, ถ้าคุณวางประภาคารไว้ใกล้ขอบ เพื่อใช้เส้นนำสายตา ก็ทำมันซะ จุดประสงค์หลักของภาพคือไม่จำเป็นต้องทำตามกฏ แต่กระตุ้นอามรณ์ความสนใจให้คนดู สื่อสารกับคนดู จำไว้ว่าไม่มีองค์ประกอบไหนที่จะมาเอาชนะคุณได้  ประภาคารนี้อยู่ด้านขวาของเส้นในกฏสามส่วน โชคไม่ดีที่ผมไม่มีเลนส์กว้างพอ ผมต้องนำมันไว้ตรงนั้นเพราะ ไม่อยากตัดคลื่นสวยๆ ตรงขอบหินด้านมุมบนซ้าย   Credits: DPS

ทิปการจัดองค์ประกอบสำหรับการถ่ายทะเล Seascape

BY FOTOFAKA · FEBRUARY 1, 2015

กฏสำหรับการถ่ายรูปนั้นคงไม่มีกฏที่แน่นอนในการจัดองค์ประกอบนัก แต่ก็เลี่ยงไม่ได้ว่าการทำตามกฏต่างๆแล้วก็ได้ผลที่ไม่แย่นัก

ทำไมนะหรอ ? บางทีอาจเป็นเพราะสมองของเราเป็นผลลัพธ์จากการวิวัฒนาการมากว่าล้านปี เช่นเมื่อเราเห็นจุดสองจุดและเส้น เราก็นึกถึงใบหน้า ไม่เชื่อหรอ ดูนี่ซิ

และการที่เราชอบภาพบางภาพมากกว่าภาพอื่นๆมันก็มีเหตุผลของมัน มาดูเทคนิคเล็กๆน้อยๆ ที่สามารถนำไปใช้ได้กับทริปทะเลครั้งต่อไปของคุณได้

เริ่มทำตามกฏ

ก่อนที่จะแหกกฏ ต้องรู้จักกฏให้ดีซะก่อน พยายามลองทำตามกฏ เริ่มจาก กฏสามส่วน ใครยังไม่รู้ว่าคืออะไรก็ลองคลิ๊กไปอ่านดู

เราจะวางสิ่งที่น่าสนใจไว้ตรงจุดตัดเก้าช่องดังภาพ เพื่อให้ภาพดูสมดุลขึ้น

สิ่งที่น่าสนใจในรูปคือ ประภาคาร ภาพผลลัพธ์จะออกมาดังนี้

เลือกสิ่งที่น่าสนใจ

ถ้าคุณใช้กฏสามส่วน แน่นอนว่าเส้นขอบฟ้าคงไม่ได้อยู๋ตรงกลาง เว้นแต่จะเป็นภาพสะท้อนสวยๆ

แต่ว่าจะเอาเส้นขอบฟ้าไว้ด้านบน หรือด้านล่าง ?  ลองดูภาพตัวอย่างนี้ ให้ทะเลเป็นพระเอก เลยแบ่งไปสองส่วน และให้ฟ้า หนึ่งส่วน

จะเห็นว่ามีหินเป็นฉากหน้าที่น่าสนใจ เลยอยากจะเน้นสิ่งที่น่าสนใจ ก็เลยแบ่งให้มันไป 2/3

เช็คเส้นขอบฟ้า

ไม่มีสิ่งไหนที่กวนสายตาได้เท่ากันเส้นขอบฟ้าเอียงอีกแล้ว อาจใช้ ตัววัดระดับ ที่ติดกล้องของคุณ หรืออาจซื้อ ตัว hot shoe levle มาดังภาพ

เพราะว่า เวลาที่คุณต้องมาปรับเส้นขอบฟ้าทีหลังในโปรแกรมทีหลัง ทำให้คุณต้องเสียบางส่วนของภาพไป

ใช้ ความยาวโฟกัส(focal length)อย่างฉลาด 

บางครั้งคุณพยายามถ่ายมาด้วยระยะที่พอดี เป็นสิ่งที่ดี แต่บางครั้ง ควรถ่ายให้กว้างขึ้นถ้าทำได้ ถ้าคุณอยู่ที่ระยะ 24mm ลองถ่ายที่ 21 หรือ 18 mm อย่าขี้เกียจ  จำไว้ว่าเมื่อไปปรับแต่งภาพทีหลังคุณไป crop จาก 21 เป็น 24 mm ได้ แต่ทำกลับกันไม่ได้

ใช้เส้นนำสายตา

ภาพก็เหมือนหนังสือ ต้องทำให้สนุกและสามารรถอ่านได้ตั้งแต่ต้นจนจบ  ลองใช้เส้นเพื่อเป็นตัวนำสายตา คุณสามารถใช้ ถนน หรือเส้นที่มีอยู่ในธรรมชาติ จำไว้ว่าให้ระวัง สิ่งที่กีดขวางเส้นนั้น มันจะเป็นเหมือน การอ่านหนังสือข้ามบรรทัด

คนอ่านจะสูญเสียอรรถรส และเรื่องเล่าไป และหลีกเลี่ยงการใช้เส้นนำสายตาให้นำสายตาออกไปนอกภาพด้วย

ใช้ถนนเป็นเส้นนำสายตาไปยังสิ่งที่น่าสนใจ

หลีกเลี่ยงการวางวัตถุตรงขอบ

ปัญหาที่เจอบ่อยของเลนส์ Wide คือเรื่อง distortion หรือการบิดเบี้ยวของเลนส์  การวางวัตถุตรงขอบนั้นทำให้ภาพบริเวณขอบนั้นบิดเบี้ยว บางคนอาจซื้อเลนส์ที่ราคาสูงเพื่อแก้ปัญหาตรงนี้ แต่ก็มีอีกหลายวิธี เช่น อย่าถ่ายให้ sbuject มันตรงเส้น ของกฏสามส่วน ให้เข้ามาตรงกลางอีกนิด หลังจากเราแก้ไข distortion ในโปรแกรมแล้วหรือ crop แล้ว มันก็ทำให้ไปอยู่ตรงเส้นพอดี

ถ้าเราถ่ายให้บ้านหลังนั้นอยู่ใกล้ๆขอบ มันก็เกิดการบิดเบี้ยวอันเกิดจากเลนส์ เมื่อเราแก้ด้วยโปรแกรมแล้ว ทำให้เสียเส้นนำสายตาไปเพราะ ต้องcrop บางส่วนออกไป

เพิ่มมิติและขนาด

เมื่อเริ่มถ่ายทะเลใหม่ๆ ผมไม่ชอบให้มีคนหรือวัตถุต่างๆที่คนสร้างคนมาในภาพ (ถ้าไม่ใช่คนที่ผมตั้งใจใส่เข้าไปในภาพ)

แต่บางครั้งก็เป็นความคิดที่ดีที่ใส่สิ่งก่อสร้างเข้าไปในภาพ เหตุผลหลักๆคือเรื่องของมิติ จากภาพด้านล่าง คนดูไม่รู้หรอกว่าโขดหินนั้นมีขนาดเท่าไหร่ เพราะไม่มีอะไรเทียบ หากเขาไม่เคยไปมาก่อน การให้มีพวกสิ่งก่อสร้าง เช่นประภาคาร สะพาน โบสถ์ มันทำให้มีมิติ และเกิดการเทียบขนาดได้ หินจะดูสวยขึ้น ถ้าเรารู้ว่ามันสูงและใหญ่มาก


ประภาคารเป็นตัวที่ให้มิติกับหินต่างๆในภาพ (ลองใช้นิ้วปิดประภาคารดูซิ)

ใช้ negative space

negative space เป็นพื้นที่รอบๆวัตถุในภาพ มันมีความสำคัญเท่าๆกับวัตถุนั้นแหละ ตัว Negative space ช่วยกำหนดขอบเขตของ positive space และช่วยให้ภาพสมดุล มันยังช่วยเน้นให้ subject มีความน่าสนใจยิ่งขึ้น ภาพโบสถ์ที่อยู่บนหน้าผาจะให้ความรู้สึกกล้าหาญมากขึ้น เมื่อมันท้าทายความกว้างใหญ่ของทะเล

สนุกกับมัน

สุดท้ายนี้จำไว้ว่า ทุกกฏสามารถแหกได้ ถ้าเส้นขอบฟ้ามันไม่ดีนักหากวางไว้ตรงเส้นแรกของกฏสามส่วน เพราะไม่มีเมฆ ก็วางมันขึ้นไปอีก, ถ้าคุณวางประภาคารไว้ใกล้ขอบ เพื่อใช้เส้นนำสายตา ก็ทำมันซะ

จุดประสงค์หลักของภาพคือไม่จำเป็นต้องทำตามกฏ แต่กระตุ้นอามรณ์ความสนใจให้คนดู สื่อสารกับคนดู จำไว้ว่าไม่มีองค์ประกอบไหนที่จะมาเอาชนะคุณได้

ประภาคารนี้อยู่ด้านขวาของเส้นในกฏสามส่วน โชคไม่ดีที่ผมไม่มีเลนส์กว้างพอ ผมต้องนำมันไว้ตรงนั้นเพราะ ไม่อยากตัดคลื่นสวยๆ ตรงขอบหินด้านมุมบนซ้าย

 Credits: DPS

3 อย่างที่ควรคิด เมื่อคุณจัดองค์ประกอบภาพ BY FOTOFAKA · NOVEMBER 12, 2014 ในช่องมองภาพที่คุณเห็นนั้น มันเป็นส่วนสำคัญมากในการจัดองค์ประกอบภาพ และคุณควรตั้งคำถาม 3 อย่างนี้ ตอนที่คุณกำลังจัดองค์ประกอบภาพ 1) อะไรที่ควรอยู่นอกเฟรม (กรอบของภาพของคุณ) 2) อะไรที่ควรอยู่ในเฟรม 3) subject หลักของภาพควรวางไว้ที่ไหน มันฟังดูง่ายมากใช่ไหมละ แต่เอาเข้าจริงๆ คุณต้องฝึกฝนพอสมควร วิธีที่ดีที่สุดคือ ดูภาพหลายๆภาพ แล้วอธิบายด้วยหลักการ 3 ข้อข้างต้น เราลองมาดูตัวอย่างกันนะ ย่อหน้านี้จะบอกว่าส่วนไหนควรเอาออกไป  ภาพนี้เป็นภาพบุคคล พื้นหลังเป็นป่า เมื่อดูจจากสีก็จะรู้ว่า เป็นคู่สีที่อยู่ตรงข้ามกัน หรือตัดกันนั่นเอง แต่วันนี้เราจะมาพูดถึงการจัดองค์ประกอบ จึงขอเว้นเรื่องนี้ไว้ก่อน คนนี้เป็นนักร้องท้องถิ่น ที่ผมถ่ายไว้ที่ สวนพฤกษศาสตร์ Wellington ผมให้เธอเป็น subject หลักของภาพนี้ เลยถ่ายเธอโดยให้เธออยู่ด้านหน้าพิ้นหลังที่เป็นป่า ฉันใช้เลนส์ 85 mm บนกล้องฟูลเฟรม เลนส์ 85mm เป็นเลนส์เทเลระยะสั้นนี้จะเก็บรายละเอียดของพื้นหลังได้ไม่เยอะเหมือนเลนส์ wide ฉันจึงได้พื้นหลังที่เบลอ (ไม่ชัด) โดยการใช้ aperture ที่ f/2.8 นี่ทำให้ต้นไม้ ใบไม้พื้นหลังไม่ดึงดูความสนใจไปจากนางแบบ (ไม่รกตา) แต่ก็ยังเห็นว่าเป็นต้นไม้ใบไม้อยู่ ผมวางนางแบบไว้ตรงกลางเฟรม การวางแบบไว้ตรงกลางเฟรม มันจะได้ผลดีในกรณีที่แบบนั้นมีความโดดเด่นมาก ในกรณีนี้ก็เช่นกัน ดังนั้นเธอก็ไม่จำเป็นต้องไปอยู่ในกฏสามส่วน แน่นอนว่านี่เป็นเรื่องของมุมมองของแต่ละคน บางคนก็ไม่เห็นด้วยกับผม เดี๋ยวผมจะลอง crop ภาพนี้ให้เป็นไปตามกฏสามส่วน ในโลกอุดมคติเราพยายามถ่ายรูปออกมาให้สมบูรณ์แบบที่สุด แต่บางครั้งเราอาจต้องมา crop รูปเพื่อทำให้องค์ประกอบดีขึ้น ผมเอาสองเวอร์ชั่นมาให้ดูครับ  คุณชอบรูปไหนมากกว่ากัน ซ้าย หรือ ขวา ส่วนผมชอบซ้ายนะ ผมรู้สึกว่ามันสมดุลกันระหว่างนางแบบและพื้นหลัง รูปขวาเป็นรูปที่ครอป แล้วทำให้เห็นพื้นหลังน้อยลง อย่างไนก็ตามเราเห็นนักร้องใหญ่ขึ้น มันดึงดูดความสนใจจากคนดูได้มากขึ้น มันไม่มีอันไหนผิด หรือ ถูกหรอก สิ่งที่น่าสนใจคือเมื่อเรา ครอปภาพหรือเปลี่ยนองค์ประกอบนิดหน่อย มันทำให้เกิดความเปลี่ยนแปลงไปอย่างมากในภาพเดิมนั้น มาดูภาพถ่ายนางแบบที่ทะเลกันครับ ย่อนหน้านี้จะทำให้รู้ว่าอะไรที่เราควรเอาเข้ามาในเฟรม  ในตัวอย่างแรกนั้น ผมเก็บพื้นหลังมาน้อยมาก แต่ในภาพนี้ผมเก็บพื้นหลังมาเยอะพอสมควร สิ่งแวดล้อมพื้นหลังต่างๆนั้นเป็นสิ่งที่จำเป็นในการถ่ายภาพบุคคล ผมได้ถ่ายรวมทั้ง เมฆที่ครึ้มฝน ภูเขา บ้านคน โดยรวมมันจะทำให้บรรยากาศที่เปล่าเปลี่ยว ทีนี้ผมมีความคิดว่าอยากให้สายตาคนนั้นดึงนางแบบ ออกจากพื้นหลังเหล่านั้นซะ ผมเลยใช้เลนส์ไวด์ 24mm บนกล้องฟูลเฟรม ผมเข้าใกล้นางแบบมากขึ้น เลนส์นี้มันจะเก็บพื้นหลังมาเยอะพอสมควร  ผมเลยใช้ f/2.8 ทำพื้นหลังให้ชัดน้อยลงนิดหน่อย จุดที่นางแบบยืนนั้นสำคัญมากกับการจัดองค์ประกอบ ถ้าคุณเคยใช้เลนส์ไวด์ คุณจะรู้ว่า การเปลี่ยนแปลงเล็กน้อยในจุดที่ยืนนั้น ทำให้เกิดความแตกต่างในการจัดองค์ประกอบมาก  ผมเลยตั้งใจถือกล้องให้สูงพอที่จะเห็นชายหาดอยู่สูงกว่าหัวนางแบบ ตัดบ้านที่อยู่ในพื้นหลังออกไป ทำให้คุณเห็นแค่นางแบบ และ ชายหาด  ผมพยายามป้องกันไม่ให้นางแบบ และบ้านอยู่ซ้อนกัน นั่นทำให้การจัดองค์ประกอบแข็งแรงยิ่งขึ้น เทศกาลโคมไฟจีน ย่อนหน้านี้จะทำให้รู้ว่าควรวางแบบ (subject) ไว้ที่ไหน ภาพนี้ผมถ่ายเทศกาลโคมไฟจีนที่ Auckland มีโคมไฟที่น่าสนใจอยู่เป็นร้อยชิ้นเลย มันเป็น Subject ที่ดีมากๆเลย  ผมไปถ่ายมันแบบเรียบง่ายโดยใช้กล้องและเลนส์ตัวเดียว 85 mm ผมโฟกัสบนตัวแบบ และตั้งรูรับแสงให้กว้างทำให้ฉากหลังเบลอ นี่เป็นหนึ่งในรูปที่ผมชอบจากการไปที่นั่น ผมถ่ายมันจากหลายๆมุมมอง คำถามคือผมควรจะถ่ายเก็บตัวแบบนี้มามากแค่ไหน ตัวแบบเต็มๆนี้จะถือกรงนกอยู่ ถ่ายเก็บมาทั้งหมดจะทำให้องค์ประกอบดูไม่น่าสนใจ แต่ถ้าใกล้ไปก็อาจแน่นเกินไป ทางออกคือ พยายามนึกมุมมอง และลองถ่ายดูจากหลายๆมุม เข้าไปใกล้ดูหน่อย ออกห่างดูนิด คุณก็จะตัดสินใจได้ว่ารูปไหนดีทีสุด ยิ่งคุณถ่ายเยอะ คุณก็สามารถเห็นรูปหลากหลายมุมมองอย่างชัดเจนขึ้น การถ่ายแบบนี้มันเป็นการวอร์มความคิดของคุณ ให้เห็นภาพจริงๆ มันช่วยให้คุณเห็นมุมมองที่แตกต่างได้อีกหลายๆมุม มันช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการจัดองค์ประกอบของคุณได้ นี่เป็นตัวอย่างภาพจากหลายๆมุมมอง  Credits: digital-photography-school Andrew S. Gibson

3 อย่างที่ควรคิด เมื่อคุณจัดองค์ประกอบภาพ

BY FOTOFAKA · NOVEMBER 12, 2014

ในช่องมองภาพที่คุณเห็นนั้น มันเป็นส่วนสำคัญมากในการจัดองค์ประกอบภาพ

และคุณควรตั้งคำถาม 3 อย่างนี้ ตอนที่คุณกำลังจัดองค์ประกอบภาพ

1) อะไรที่ควรอยู่นอกเฟรม (กรอบของภาพของคุณ)

2) อะไรที่ควรอยู่ในเฟรม

3) subject หลักของภาพควรวางไว้ที่ไหน

มันฟังดูง่ายมากใช่ไหมละ แต่เอาเข้าจริงๆ คุณต้องฝึกฝนพอสมควร วิธีที่ดีที่สุดคือ ดูภาพหลายๆภาพ แล้วอธิบายด้วยหลักการ 3 ข้อข้างต้น

เราลองมาดูตัวอย่างกันนะ ย่อหน้านี้จะบอกว่าส่วนไหนควรเอาออกไป

ภาพนี้เป็นภาพบุคคล พื้นหลังเป็นป่า

เมื่อดูจจากสีก็จะรู้ว่า เป็นคู่สีที่อยู่ตรงข้ามกัน หรือตัดกันนั่นเอง แต่วันนี้เราจะมาพูดถึงการจัดองค์ประกอบ จึงขอเว้นเรื่องนี้ไว้ก่อน

คนนี้เป็นนักร้องท้องถิ่น ที่ผมถ่ายไว้ที่ สวนพฤกษศาสตร์ Wellington ผมให้เธอเป็น subject หลักของภาพนี้ เลยถ่ายเธอโดยให้เธออยู่ด้านหน้าพิ้นหลังที่เป็นป่า ฉันใช้เลนส์ 85 mm บนกล้องฟูลเฟรม เลนส์ 85mm เป็นเลนส์เทเลระยะสั้นนี้จะเก็บรายละเอียดของพื้นหลังได้ไม่เยอะเหมือนเลนส์ wide ฉันจึงได้พื้นหลังที่เบลอ (ไม่ชัด) โดยการใช้ aperture ที่ f/2.8 นี่ทำให้ต้นไม้ ใบไม้พื้นหลังไม่ดึงดูความสนใจไปจากนางแบบ (ไม่รกตา) แต่ก็ยังเห็นว่าเป็นต้นไม้ใบไม้อยู่

ผมวางนางแบบไว้ตรงกลางเฟรม การวางแบบไว้ตรงกลางเฟรม มันจะได้ผลดีในกรณีที่แบบนั้นมีความโดดเด่นมาก ในกรณีนี้ก็เช่นกัน ดังนั้นเธอก็ไม่จำเป็นต้องไปอยู่ในกฏสามส่วน

แน่นอนว่านี่เป็นเรื่องของมุมมองของแต่ละคน บางคนก็ไม่เห็นด้วยกับผม เดี๋ยวผมจะลอง crop ภาพนี้ให้เป็นไปตามกฏสามส่วน
ในโลกอุดมคติเราพยายามถ่ายรูปออกมาให้สมบูรณ์แบบที่สุด แต่บางครั้งเราอาจต้องมา crop รูปเพื่อทำให้องค์ประกอบดีขึ้น

ผมเอาสองเวอร์ชั่นมาให้ดูครับ

คุณชอบรูปไหนมากกว่ากัน ซ้าย หรือ ขวา ส่วนผมชอบซ้ายนะ ผมรู้สึกว่ามันสมดุลกันระหว่างนางแบบและพื้นหลัง

รูปขวาเป็นรูปที่ครอป แล้วทำให้เห็นพื้นหลังน้อยลง อย่างไนก็ตามเราเห็นนักร้องใหญ่ขึ้น มันดึงดูดความสนใจจากคนดูได้มากขึ้น

มันไม่มีอันไหนผิด หรือ ถูกหรอก สิ่งที่น่าสนใจคือเมื่อเรา ครอปภาพหรือเปลี่ยนองค์ประกอบนิดหน่อย มันทำให้เกิดความเปลี่ยนแปลงไปอย่างมากในภาพเดิมนั้น

มาดูภาพถ่ายนางแบบที่ทะเลกันครับ ย่อนหน้านี้จะทำให้รู้ว่าอะไรที่เราควรเอาเข้ามาในเฟรม

ในตัวอย่างแรกนั้น ผมเก็บพื้นหลังมาน้อยมาก แต่ในภาพนี้ผมเก็บพื้นหลังมาเยอะพอสมควร สิ่งแวดล้อมพื้นหลังต่างๆนั้นเป็นสิ่งที่จำเป็นในการถ่ายภาพบุคคล ผมได้ถ่ายรวมทั้ง เมฆที่ครึ้มฝน ภูเขา บ้านคน โดยรวมมันจะทำให้บรรยากาศที่เปล่าเปลี่ยว

ทีนี้ผมมีความคิดว่าอยากให้สายตาคนนั้นดึงนางแบบ ออกจากพื้นหลังเหล่านั้นซะ

ผมเลยใช้เลนส์ไวด์ 24mm บนกล้องฟูลเฟรม ผมเข้าใกล้นางแบบมากขึ้น เลนส์นี้มันจะเก็บพื้นหลังมาเยอะพอสมควร  ผมเลยใช้ f/2.8 ทำพื้นหลังให้ชัดน้อยลงนิดหน่อย

จุดที่นางแบบยืนนั้นสำคัญมากกับการจัดองค์ประกอบ ถ้าคุณเคยใช้เลนส์ไวด์ คุณจะรู้ว่า การเปลี่ยนแปลงเล็กน้อยในจุดที่ยืนนั้น ทำให้เกิดความแตกต่างในการจัดองค์ประกอบมาก  ผมเลยตั้งใจถือกล้องให้สูงพอที่จะเห็นชายหาดอยู่สูงกว่าหัวนางแบบ ตัดบ้านที่อยู่ในพื้นหลังออกไป ทำให้คุณเห็นแค่นางแบบ และ ชายหาด

ผมพยายามป้องกันไม่ให้นางแบบ และบ้านอยู่ซ้อนกัน นั่นทำให้การจัดองค์ประกอบแข็งแรงยิ่งขึ้น

เทศกาลโคมไฟจีน ย่อนหน้านี้จะทำให้รู้ว่าควรวางแบบ (subject) ไว้ที่ไหน

ภาพนี้ผมถ่ายเทศกาลโคมไฟจีนที่ Auckland มีโคมไฟที่น่าสนใจอยู่เป็นร้อยชิ้นเลย มันเป็น Subject ที่ดีมากๆเลย

ผมไปถ่ายมันแบบเรียบง่ายโดยใช้กล้องและเลนส์ตัวเดียว 85 mm ผมโฟกัสบนตัวแบบ และตั้งรูรับแสงให้กว้างทำให้ฉากหลังเบลอ นี่เป็นหนึ่งในรูปที่ผมชอบจากการไปที่นั่น

ผมถ่ายมันจากหลายๆมุมมอง คำถามคือผมควรจะถ่ายเก็บตัวแบบนี้มามากแค่ไหน ตัวแบบเต็มๆนี้จะถือกรงนกอยู่ ถ่ายเก็บมาทั้งหมดจะทำให้องค์ประกอบดูไม่น่าสนใจ แต่ถ้าใกล้ไปก็อาจแน่นเกินไป

ทางออกคือ พยายามนึกมุมมอง และลองถ่ายดูจากหลายๆมุม เข้าไปใกล้ดูหน่อย ออกห่างดูนิด คุณก็จะตัดสินใจได้ว่ารูปไหนดีทีสุด

ยิ่งคุณถ่ายเยอะ คุณก็สามารถเห็นรูปหลากหลายมุมมองอย่างชัดเจนขึ้น การถ่ายแบบนี้มันเป็นการวอร์มความคิดของคุณ ให้เห็นภาพจริงๆ มันช่วยให้คุณเห็นมุมมองที่แตกต่างได้อีกหลายๆมุม มันช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการจัดองค์ประกอบของคุณได้ นี่เป็นตัวอย่างภาพจากหลายๆมุมมอง

Credits: digital-photography-school Andrew S. Gibson

 บทความ / บทความแนะนำวันนี้ 6 เทคนิคในการถ่ายภาพ Abstract BY FOTOFAKA · JUNE 2, 2016 ถึงเวลาแล้วที่จะเล่นสนุกกับกล้องของคุณ ออกมาจากความเป็นจริงที่เคยอยู่ และสร้างภาพตามอารมณ์ ความรู้สึก สี แสง ฯลฯ โดยไม่ต้องคำนึงถึงความคมชัดหรือรายละเอียดต่างๆ  Abstract ตามความหมายที่บัญญัติไว้คือ การแสดงความคิดและอารมณ์โดยใช้องค์ประกอบต่างๆเช่นสีและเส้น โดยไม่พยายามที่จะสร้างภาพที่สมจริง เรื่องอุปกรณ์คุณน่าจะมีอยู่แล้ว เช่นกล้อง หรือกล้องมือถือ คราวนี้มาดูเทคนิคการทำดีกว่า 1.เคลื่อนไหวกล้อง วิธีที่ง่ายที่สุดในการสร้างภาพที่มีเส้นและสีแบบนี้คือ คือ ทำให้มันเบลอ เป็นการปลดปล่อยแนวคิด และเวลาเคลื่อนไหวกล้องก็ไม่ต้องมีกังวลเรื่องความนิ่งความคมชัดของภาพ เทคนิคเหล่านี้อาจต้องลองผิดลองถูกด้วยตัวเอง แต่ผมจะให้คำแนะนำบางอย่างสำหรับการเริ่มต้น  อย่างแรกคือตั้งค่าความเร็วชัตเตอร์ให้ช้า ประมาณ 1/10 วินาที หรือให้นานกว่านั้น เมื่อความเร็วชัตเตอร์ช้า ก็อาจชดเชยด้วยการให้ ISO ต่ำที่สุด การตั้งความเร็วชัตเตอร์ช้าๆ จะสามารถถ่ายในที่ที่แสงน้อยได้ดีอีกด้วย  ลองถ่ายโดยการเคลื่อนที่ของกล้องในทิศทางเดียวก่อน แล้วค่อยลองแบบอื่นเช่น วงกลม เป็นคลื่น หรืออิสระ เมื่อมีประสปการณ์มากขึ้น คุณจะเห็นสิ่งทที่อยู่ตรงหน้า แล้วคิดออกว่าอยากได้ภาพแบบไหน และสามารถควบคุมและเคลื่อนไหวกล้องได้อย่างที่ต้องการ  2. เคลื่อนไหววัตถุ ผมเคยเกลียดป้ายข้างๆรถไฟ จนกระทั่งได้เห็นสีสันสวยงาม เมื่อมาถ่าย Abstract ตอน๘ระที่มันวิ่ง 65 กม. ต่อ ชม. ตอนนี้ผมได้มองสิ่งที่มีสีสันบ่อยขึ้น พวกรูปร่างวัตถุต่างๆไม่ใช่สิ่งที่ผมต้องการ ผมต้องการจับภาพของสีสันและเคลื่อนที่มันไปยังแบบที่ผมต้องการ  นี่มันก็คล้ายๆการทำ light painting แต่ นี่ไม้ได้ถ่ายจากแหล่งกำเนิดแสงโดยตรง เพียงแต่เป็นการเคลื่อนที่ของวัตถุ คำเตือน: ระวังสีขาว เหลือง หรือสีที่มีความสว่างมากๆ มันอาจล้างสีอื่นในภาพของคุณได้ 3. เลนส์ซูม เลนส์ซูมจะเหมาะกับงานนี้มาก บางครั้งเลนส์กว้างเก็บรายละเอียดมามาก และ ไม่สามารถถ่ายทอดสีและอารมณ์เข้าไปได้ ลองดูภาพด้านล่าง  และ  จะเห็นว่าการซูมเพื่อเลือกรายละเอียดบางส่วนมา ช่วยให้สามารถเล่นกับความเป็น abstract ได้มากขึ้น หรืออาจหมุนเลนส์ซูมระหว่างการที่ถ่ายด้วยความเร็วชัตเตอร์ช้า ก็จะได้ภาพอีกแนวนึงเช่นกัน(ระเบิดซูม) 4. ถ่ายผ่านบางอย่าง ถ่ายผ่านบางอย่าง เช่นหาวัตถุอะไรมากั้นหน้าเลนส์ระหว่างเลนส์กับวัตถุ อาจเป็น แก้วสีสันต่างๆ , เจล หรือ ของเหลว (วาสลีน, น้ำมันมะกอก ฯลฯ) ลองหาสิ่งใก้ลตัวคุณดู  5. Multiple Exposure กล้องหลายตัวมีฟังก์ชั่น Multiple Exposure ที่สามารถรวมภาพไว้ด้วยกันได้ ส่วนมากผมจะถ่ายภาพหนึ่งให้ชัด และอีกภาพให้เบลอ หากได้ภาพที่ยังไม่ abstract มากพอ ก็อาจต้องซูมเข้าไปมากขึ้น  6. แต่งภาพ มีหลายคนที่บ่นเวลาเจอคนแต่งภาพมากเกินไป แต่งานนี้คุณสามารถละเลงได้อย่างเต็มที่ตามจินตนาการของคุณ อาจทำให้ภาพนุ่มๆ เบลอๆ  หรืออาจลองภาพเดียวกันด้วยสีต่างๆ ด้วยการ ปรับ White Balance Temperature และ Tint ใน LR หรือ มีอีกหลากหลายวิธี    สรุป  สิ่งที่ผมชอบมากที่สุดในการถ่ายภาพ abstract คือ เป็นสิ่งที่ผมชอบมัน แต่ไม่รู้ว่าทำไม เหมือนมันอยู่ในส่วนลึกของจิตใจพวกเรา และมันเป็นเรื่องที่น่าประหลาดใจเมื่อเราได้เห็นภาพ จากการที่เราได้แหกกฏการถ่ายภาพต่างๆและไม่ต้องคำนึงถึงรายละเอียด อะไรต่างๆให้มากมาย

6 เทคนิคในการถ่ายภาพ Abstract

BY FOTOFAKA · JUNE 2, 2016

ถึงเวลาแล้วที่จะเล่นสนุกกับกล้องของคุณ ออกมาจากความเป็นจริงที่เคยอยู่ และสร้างภาพตามอารมณ์ ความรู้สึก สี แสง ฯลฯ โดยไม่ต้องคำนึงถึงความคมชัดหรือรายละเอียดต่างๆ

Abstract ตามความหมายที่บัญญัติไว้คือ การแสดงความคิดและอารมณ์โดยใช้องค์ประกอบต่างๆเช่นสีและเส้น โดยไม่พยายามที่จะสร้างภาพที่สมจริง

เรื่องอุปกรณ์คุณน่าจะมีอยู่แล้ว เช่นกล้อง หรือกล้องมือถือ คราวนี้มาดูเทคนิคการทำดีกว่า

1.เคลื่อนไหวกล้อง

วิธีที่ง่ายที่สุดในการสร้างภาพที่มีเส้นและสีแบบนี้คือ คือ ทำให้มันเบลอ เป็นการปลดปล่อยแนวคิด และเวลาเคลื่อนไหวกล้องก็ไม่ต้องมีกังวลเรื่องความนิ่งความคมชัดของภาพ เทคนิคเหล่านี้อาจต้องลองผิดลองถูกด้วยตัวเอง แต่ผมจะให้คำแนะนำบางอย่างสำหรับการเริ่มต้น

อย่างแรกคือตั้งค่าความเร็วชัตเตอร์ให้ช้า ประมาณ 1/10 วินาที หรือให้นานกว่านั้น เมื่อความเร็วชัตเตอร์ช้า ก็อาจชดเชยด้วยการให้ ISO ต่ำที่สุด การตั้งความเร็วชัตเตอร์ช้าๆ จะสามารถถ่ายในที่ที่แสงน้อยได้ดีอีกด้วย

ลองถ่ายโดยการเคลื่อนที่ของกล้องในทิศทางเดียวก่อน แล้วค่อยลองแบบอื่นเช่น วงกลม เป็นคลื่น หรืออิสระ เมื่อมีประสปการณ์มากขึ้น คุณจะเห็นสิ่งทที่อยู่ตรงหน้า แล้วคิดออกว่าอยากได้ภาพแบบไหน และสามารถควบคุมและเคลื่อนไหวกล้องได้อย่างที่ต้องการ

2. เคลื่อนไหววัตถุ

ผมเคยเกลียดป้ายข้างๆรถไฟ จนกระทั่งได้เห็นสีสันสวยงาม เมื่อมาถ่าย Abstract ตอน๘ระที่มันวิ่ง 65 กม. ต่อ ชม.

ตอนนี้ผมได้มองสิ่งที่มีสีสันบ่อยขึ้น พวกรูปร่างวัตถุต่างๆไม่ใช่สิ่งที่ผมต้องการ ผมต้องการจับภาพของสีสันและเคลื่อนที่มันไปยังแบบที่ผมต้องการ

นี่มันก็คล้ายๆการทำ light painting แต่ นี่ไม้ได้ถ่ายจากแหล่งกำเนิดแสงโดยตรง เพียงแต่เป็นการเคลื่อนที่ของวัตถุ

คำเตือน: ระวังสีขาว เหลือง หรือสีที่มีความสว่างมากๆ มันอาจล้างสีอื่นในภาพของคุณได้

3. เลนส์ซูม

เลนส์ซูมจะเหมาะกับงานนี้มาก บางครั้งเลนส์กว้างเก็บรายละเอียดมามาก และ ไม่สามารถถ่ายทอดสีและอารมณ์เข้าไปได้ ลองดูภาพด้านล่าง

และ

จะเห็นว่าการซูมเพื่อเลือกรายละเอียดบางส่วนมา ช่วยให้สามารถเล่นกับความเป็น abstract ได้มากขึ้น หรืออาจหมุนเลนส์ซูมระหว่างการที่ถ่ายด้วยความเร็วชัตเตอร์ช้า ก็จะได้ภาพอีกแนวนึงเช่นกัน(ระเบิดซูม)

4. ถ่ายผ่านบางอย่าง

ถ่ายผ่านบางอย่าง เช่นหาวัตถุอะไรมากั้นหน้าเลนส์ระหว่างเลนส์กับวัตถุ อาจเป็น แก้วสีสันต่างๆ , เจล หรือ ของเหลว (วาสลีน, น้ำมันมะกอก ฯลฯ) ลองหาสิ่งใก้ลตัวคุณดู

5. Multiple Exposure

กล้องหลายตัวมีฟังก์ชั่น Multiple Exposure ที่สามารถรวมภาพไว้ด้วยกันได้ ส่วนมากผมจะถ่ายภาพหนึ่งให้ชัด และอีกภาพให้เบลอ หากได้ภาพที่ยังไม่ abstract มากพอ ก็อาจต้องซูมเข้าไปมากขึ้น

6. แต่งภาพ

มีหลายคนที่บ่นเวลาเจอคนแต่งภาพมากเกินไป แต่งานนี้คุณสามารถละเลงได้อย่างเต็มที่ตามจินตนาการของคุณ อาจทำให้ภาพนุ่มๆ เบลอๆ

หรืออาจลองภาพเดียวกันด้วยสีต่างๆ ด้วยการ ปรับ White Balance Temperature และ Tint ใน LR หรือ มีอีกหลากหลายวิธี

สรุป

สิ่งที่ผมชอบมากที่สุดในการถ่ายภาพ abstract คือ เป็นสิ่งที่ผมชอบมัน แต่ไม่รู้ว่าทำไม เหมือนมันอยู่ในส่วนลึกของจิตใจพวกเรา และมันเป็นเรื่องที่น่าประหลาดใจเมื่อเราได้เห็นภาพ จากการที่เราได้แหกกฏการถ่ายภาพต่างๆและไม่ต้องคำนึงถึงรายละเอียด อะไรต่างๆให้มากมาย