วันเสาร์ที่ 20 สิงหาคม พ.ศ. 2559

บทสวดมนต์ทำวัตรเช้าแปลและบทแผ่เมตตา

ดาว์นโหลดข้อมูลทำวัตรเช้า :บทสวดมนต์ทำวัตรเช้าแปลและบทแผ่เมตตา 



คำทำวัดเช้า และ เย็น

 คำบูชาพระรัตนตรัย
อะระหัง สัมมาสัมพุทโธ ภะคะวา,
พระผู้มีพระภาคเจ้า, เป็นพระอรหันต์ ดับเพลิงกิเลสเพลิงทุกข์สิ้นเชิง ตรัสรู้ชอบได้โดยพระองค์เอง ;
พุทธัง ภควันตัง อะภิวาเทมิ.
ข้าพเจ้าอภิวาทพระผู้มีพระภาคเจ้า, ผู้รู้ ผู้ตื่นผู้เบิกบา (กราบ)
สวากขาโต ภะคะวะตา ธัมโม,
พระธรรม เป็นธรรมที่พระผู้มีพระภาคเจ้า, ตรัสไว้ดีแล้ว ;
ธัมมัง นะนัสสามิ.
ข้าพเจ้านมัสการพระธรรม. (กราบ)
สุปะฏิปันโน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ,
พระสงฆ์สาวกของพระผู้มีพระภาคเจ้า, ปฏิบัติดีแล้ว ;
สังฆัง นะมามิ.
ข้าพเจ้านอบน้อมพระสงฆ์.   (กราบ)

คำทำวัตรเช้า
ปุพพภาคนมการ
       หันทะ มะยัง พุทธัสสะ ภะคะวะโต ปุพพะภาคะนะมะการัง กะโรมะ เส.
เชิญเถิด เราทั้งหลาย,ทำความนอบน้อมอันเป็นส่วนเบื้องต้น.แด่พระผู้มีพระภาคเจ้าเถิด
นะโม ตัสสะ ภะคะวะโต ขอนอบน้อมแด่พระผู้มี พระภาคเจ้า พระองค์นั้น ;
อะระหะโต        ซึ่งเป็นผู้ไกลจากกิเลส ;
สัมมาสัมพุทธัสสะ. ตรัสรู้ชอบได้โดยพระองค์เอง  ( ๓ ครั้ง )
๑. พุทธาภิถุติ
(หันทะ มะยัง พุทธาภิถุติง กะโรมะ เส.)
หันทะ มะยัง ธัมมาภิถุติง กะโรมะ เส.
(หันทะ มะยัง สังฆาภิถุติง กะโรมะ เส.)
หันทะ มะยัง ระตะนัตตะยัปปะณามะคาถาโย เจวะสังเวคะปะริกิตตะนะปาฐัญจะ ภะณามะ เส.)


เชิญเถิดเราทั้งหลาย,ทำความชมเชยเฉพาะ พระพุทธเจ้าเถิด
โย โส ตะถาคะโต, พระตถาคตเจ้านั้น พระองค์ใด
อะระหัง                          เป็นผู้ไกลจากกิเลส ;
สัมมาสัมพุทโธ ,   เป็นผู้ตรัสรู้ชอบได้โดยพระองค์เอง
วิชชาจะระณะสัมปันโน,  เป็นผู้ถึงพร้อมด้วยวิชชาและจรณะ
สุคะโต,         เป็นผู้ไปแล้วด้วยดี ;
โลกะวิทู,         เป็นผู้รู้โลกอย่างแจ่มแจ้ง ;
อะนุตตะโร ปุริสะทัมมะสาระถิ,
เป็นผู้สามารถฝึกบุรุษที่สมควรฝึกได้ อย่างไม่มีใครยิ่งกว่า ;
สัตถา เทวะมะนุสสานัง,    เป็นครูผู้สอน ของเทวคาและมนุษย์ทั้งหลาย ;
พุทโธ, เป็นผู้รู้ ผู้ตื่น ผู้เบิกบานด้วยธรรม ;
ภะคะวา,  เป็นผู้มีความจำเริญ จำแนกธรรมสั่งสอนสัตว์ ;
โย อิมัง โลกัง สะเทวะกัง สะมาระกัง สะพรหมะกัง, สัสสะมะณะพราหมะณิง ปะชัง สะเทวะมะนุสสัง สะยัง อะภิญญา สัจฉิกัตวา ปะเวเทสิ,
พระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์ใด, ได้ทรงทำความดับทุกข์ให้เเจ้งด้วยพระปัญญาอันยิ่งเองแล้ว, ทรงสอนโลกนี้ พร้อมทั้งเทวดา, มาร พรหม, และหมู่สัตว์พร้อมทั้งสมณพราหมณ์, พร้อมทั้งเทวดาและมนุษย์ให้รู้ตาม ;
โย ธัมมัง เทเสสิ,
พระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์ใด, ทรงแสดงธรรมแล้ว ;
อาทิกัลยาณัง,              ไพเราะในเบื้องต้น,
มัชเฌกัลยาณัง,            ไพเราะในท่ามกลาง,
ปะริโยสานะกัลยาณัง, ไพเราะในที่สุด,
สาตถัง สะพยัญชะนัง เกวะละปริปุณณัง ปะริสุทธัง พรหมะจะริยัง ปะกาเสสิ,
ทรงประกาศพรหมจรรย์ คือแบบแห่งการปฏิบัติอันประเสริฐ บริสุทธิ์ บริบูรณ์ สิ้นเชิง, พร้อมทั้งอรรถะ (คำอธิบาย) พร้อมทั้งพยัญชนะ (หัวข้อ)
ตะมะหัง ภะคะวันตัง อะภิปูชะยามิ
ข้าพเจ้าบูชาอย่างยิ่ง เฉพาะพระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น ;
มะหัง ภะคะวันตัง สิระสา นะมามิ.
ข้าพเจ้านอบน้อมพระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น ด้วยเศียรเกล้า   (กราบรำลึกพระพุทธคุณ)
๒. ธัมมาภิถุติ
      เชิญเถิดเราทั้งหลาย,ทำความชมเชยเฉพาะ พระธรรมเถิด
โย โส สวากขาโต ภะคะวะตา ธัมโม,
พระธรรมนั้นใด, เป็นสิ่งที่พระผู้มีพระภาคเจ้า ได้ตรัสไว้ดีแล้ว ;
สันทิฏฐิโก, เป็นสิ่งที่ผู้ศึกษาและปฏิบัติ พึงเห็นได้ด้วยตนเอง ;
อะกาลิโก,
เป็นสิ่งที่ปฏิบัติได้ และให้ผลได้ ไม่จำกัดกาล ;
เอหิปัสสิโก,
เป็นสิ่งที่ควรกล่าวกะผู้อื่นว่า ท่านจงมาดูเถิด ;
โอปะนะยิโก,
เป็นสิ่งที่ควรน้อมเข้ามาใส่ตัว ;
ปัจจัตตัง เวทิตัพโพ วิญญูหิ,
เป็นสิ่งที่ผู้รู้ก็รู้ได้เฉพาะตน ;
ตะมะหัง ธัมมัง อะภิปูชะยามิ,
ข้าพเจ้าบูชาอย่างยิ่ง เฉพาะพระธรรมนั้น ;
ตะมะหัง ธัมมัง สิระสา นะมามิ,
ข้าพเจ้านอบน้อมพระธรรมนั้น ด้วยเศียรเกล้า ;
(กราบรำลึกพระธรรมคุณ)
๓. สังฆาภิถุติ
เชิญเถิดเราทั้งหลาย,ทำความชมเชยเฉพาะ พระสงฆ์เถิด
โย โส สุปะฏิปันโน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ,
สงฆ์สาวกของพระผู้มีพระภาคเจ้านั้น หมู่ใด, ปฏิบัติดีแล้ว ;
อุชุปะฏิปันโน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ,
สงฆ์สาวกของพระผู้มีพระภาคเจ้าหมู่ใด, ปฏิบัติตรงแล้ว ;
ญายะปะฏิปันโน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ,
สงฆ์สาวกของพระผู้มีพระภาคเจ้าหมู่ใด, ปฏิบัติเพื่อรู้ธรรมเป็นเครื่องออกจากทุกข์แล้ว ;
สามีจิปะฏิปันโน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ,
สงฆ์สาวกของพระผู้มีพระภาคเจ้าหมู่ใด, ปฏิบัติสมควรแล้ว
ยะทิทัง,      ได้แก่บุคคลเหล่านี้คือ :
จัตตาริ ปุริสะยุคานิ อัฏฐะ ปุริสะปุคคะลา,
คู่แห่งบุรุษ ๔ คู่, นับเรียงตัวบุรุษ ได้ ๘ บุรุษ ;
เอสะ ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ,
นั่นแหละ สงฆ์สาวกของพระผู้มีพระภาคเจ้า ;
อาหุเนยโย,
เป็นสงฆ์ควรแก่สักการะที่เขานำมาบูชา ;
ปาหุเนยโย,
เป็นสงฆ์ควรแก่สักการะที่เขาจัดไว้ต้อนรับ ;
ทักขิเณยโย,
เป็นผู้ควรรับทักษิณาทาน ;
อัญชะลิกะระณีโย,
เป็นผู้ที่บุคคลทั่วไปควรทำอัญชลี ;
อะนุตตะรัง ปุญญักเขตตัง โลกัสสะ,
เป็นเนื้อนาบุญของโลก, ไม่มีนาบุญอื่นยิ่งกว่า ;
ตะมะหัง สังฆัง อะภิปูชะยามิ,
ข้าพเจ้าบูชาอย่างยิ่ง เฉพาะพระสงฆ์หมู่นั้น ;
ตะมะหัง สังฆัง สิระสา นะมามิ,
ข้าพเจ้านอบน้อมพระสงฆ์หมู่นั้น ด้วยเศียรเกล้า
(กราบรำลึกพระสังฆคุณ)
๔. รตนัตตยัปปณามคาถา
เชิญเถิดเราทั้งหลาย,กล่าวคำนอบน้อมพระรัตนตรัย,และบาลีที่กำหนดวัตถุเครื่องแสดงความสังเวชเถิด
พุทโธ สุสุทโธ กะรุณามะหัณณะโว
พระพุทธเจ้าผู้บริสุทธิ์ มีพระกรุณาดุจห้วงมหรรณพ ;
โยจจันตะสุทธัพพะระญาณะโลจะโน,
พระองค์ใด มีตาคือญาณอันประเสริฐหมดจดถึงที่สุด ;
โลกัสสะ ปาปูปะกิเลสะฆาตะโก,
เป็นผู้ฆ่าเสียซึ่งบาป และอุปกิเลสของโลก ;
วันทามิ พุทธัง อะหะมาทะเรนะ ตัง,
ข้าพเจ้าไหว้พระพุทธเจ้าพระองค์นั้น โดยใจเคารพเอื้อเฟื้อ.
ธัมโม ปะทีโป วิยะ ตัสสะ สัตถุโน,
พระธรรมของพระศาสดา สว่างรุ่งเรืองเปรียบดวงประทีป ;
โย มัคคะปากามะเภทะภินนะโก,
จำแนกประเภท คือ มรรค ผล นิพพาน, ส่วนใด
โลกุตตระ โย จะ ตะทัตถะทีปะโน,
ซึ่งเป็นตัวโลกุตตระ, และส่วนใดที่ชี้แนวแห่งโลกุตตระนั้น ;
วันทามิ ธัมมัง อะหะมาทะเรนะ ตัง,
ข้าพเจ้าไหว้พระธรรมนั้น โดยใจเคารพเอื้อเฟื้อ.
สังโฆ สุเขตตาภยะติเขตตะสัญญิโต,
พระสงฆ์เป็นนาบุญอันยิ่งใหญ่กว่านาบุญอันดีทั้งหลาย ;
โย ทิฏฐะสันโต สุคะตานุโพธะโก,
เป็นผู้เห็นพระนิพพาน, ตรัสรู้ตามพระสุคต, หมู่ใด ;
โลลัปปะหีโน อะริโย สุเมธะโส,
เป็นผู้ละกิเลสเครื่องโลเล เป็นพระอริยเจ้า มีปัญญาดี ;
วันทามิ สังฆัง อะหะมาทะเรนะ ตัง,
ข้าพเจ้าไหว้พระสงฆ์หมู่นั้น โดยใจเคารพเอื้อเฟื้อ.
อิจเจวะเมกันตะภิปูชะเนยยะกัง, วัตถุตตะยัง วันทะยะตาภิสังขะตัง, ปุญญัง มะยา ยัง มะมะ สัพพุปัททะวา, มา โหนตุ เว ตัสสะ ปะภาวะสิทธิยา.
บุญใด ที่ข้าพเจ้าผู้ไหว้อยู่ซึ่งวัตถุสาม, คือพระรัตนตรัย อันควรบูชายิ่งโดยส่วนเดียว, ได้กระทำแล้วเป็นอย่างยิ่งเช่นนี้นี้, ขออุปัททวะ (ความชั่ว) ทั้งหลาย, จงอย่ามีแก่ข้าพเจ้าเลย, ด้วยอำนาจความสำเร็จ อันเกิดจากบุญนั้น.
๕.  สังเวคปริกิตตนปาฐะ
อิธะ ตะถาคะโต โลเก อุปปันโน
พระตถาคตเจ้าเกิดขึ้นแล้ว ในโลกนี้ ;
อะระหัง สัมมาสัมพุทโธ
เป็นผู้ไกลจากกิเลส ตรัสรู้ชอบได้โดยพระองค์เอง ;
ธัมโม จะ เทสิโต นิยยานิโก,
และพระธรรมที่ทรงแสดง เป็นธรรมเครื่องออกจากทุกข์ ;
อุปะสะมิโก ปะรินิพพานิโก,
เป็นเครื่องสงบกิเลส, เป็นไปเพื่อปรินิพพาน ;
สัมโพธะคามี สุคะตัปปะเวทิโต ;
เป็นไปเพื่อความรู้พร้อม, เป็น ธรรมที่พระสุคตประกาศ ;
มะยันตัง ธัมมัง สุตวา เอวัง ชานามะ :  
พวกเราเมื่อได้ฟังธรรมนั้นแล้ว, จึงได้รู้อย่างนี้ว่า :  
ชาติปิ ทุกขา,
แม้ความเกิดก็เป็นทุกข์ ;
ชะราปิ ทุกขา,
แม้ความแก่ก็เป็นทุกข์ ;
มะระณัมปิ ทุกขัง
แม้ความตายก็เป็นทุกข์ ;
โสกะปะริเทวะทุกขะโทมะนัสสุปายาสาปิ ทุกขา,
แม้ความโศก ความร่ำไรรำพัน ความไม่สบายกาย ความไม่สบายใจ ความคับแค้นใจ ก็เป็นทุกข์ ;
อัปปิเยหิ สัมปะโยโค ทุกโข
ความประสบกับสิ่งไม่เป็นที่รักที่พอใจ ก็เป็นทุกข์ ;
ปิเยหิ วิปปะโยโค ทุกโข,
ความพลัดพรากจากสิ่งเป็นที่รักที่พอใจ ก็เป็นทุกข์ ;
ยัมปิจฉัง นะ ละภะติ ตัมปิ ทุกขัง,
มีความปรารถนาสิ่งใด ไม่ได้สิ่งนั้น นั่นก็เป็นทุกข์ ;
สังขิตเตนะ ปัญจุปาทานักขันธา ทุกขา,
ว่าโดยย่อ อุปาทานขันธ์ทั้ง ๕ เป็นตัวทุกข์ ;
เสยยะถีทัง,
ได้แก่สิ่งเหล่านี้ คือ :-
รูปูปาทานักขันโธ,
ขันธ์ อันเป็นที่ตั้งแห่งความยึดมั่น คือรูป ;
เวทะนูปาทานักขันโธ,
ขันธ์ อันเป็นที่ตั้งแห่งความยึดมั่น คือเวทนา ;
สัญญูปาทานักขันโธ,
ขันธ์ อันเป็นที่ตั้งแห่งความยึดมั่น คือสัญญา ;
สังขารูปาทานักขันโธ,
ขันธ์ อันเป็นที่ตั้งแห่งความยึดมั่น คือสังขาร ;
วิญญาณูปาทานักขันโธ,
ขันธ์ อันเป็นที่ตั้งแห่งความยึดมั่น คือวิญญาณ
เยสัง ปะริญญายะ,
เพื่อให้สาวกกำหนดรอบรู้อุปาทานขันธ์ เหล่านี้ เอง,
ธะระมาโน โส ภะคะวา,
จึงพระผู้มีพระภาคเจ้านั้น เมื่อยังทรงพระชนม์อยู่,
เอวัง พะหุลัง สาวะเก วิเนติ,
ย่อมทรงแนะนำสาวกทั้งหลาย เช่นนี้เป็นส่วนมาก ;
เอวังภาคา จะ ปะนัสสะ ภะคะวะโต สาวะเกสุ อะนุสาสะนี พะหุลา ปะวัตติตะติ,
อนึ่ง คำสั่งสอนของพระผู้มีพระภาคเจ้านั้น, ย่อมเป็นไปในสาวกทั้งหลาย, ส่วนมาก, มีส่วนคือการจำแนกอย่างนี้ว่า :-
รูปัง อะนิจจัง, รูปไม่เที่ยง ;
เวทะนา อะนิจจา, เวทนาไม่เที่ยง ;
สัญญา อะนิจจา, สัญญาไม่เที่ยง ;
สังขารา อะนิจจา, สังขารไม่เที่ยง ;
วิญญาณัง อะนิจจัง วิญญาณไม่เที่ยง ;
รูปัง อะนัตตา, รูปไม่ใช่ตัวตน ;
เวทะนา อะนัตตา, เวทนาไม่ใช่ตัวตน ; สัญญาอะนัตตา, สัญญาไม่ใช่ตัวตน ;
สังขาราอะนัตตา, สังขารไม่ใช่ตัวตน ;
วิญญาณัง อะนัตตา, วิญญาณไม่ใช่ตัวตน ;
สัพเพ สังขารา อะนิจจา,
สังขารทั้งหลายทั้งปวง ไม่เที่ยง..
สัพเพ ธัมมา อะนัตตาติ,
ธรรมทั้งหลายทั้งปวง ไม่ใช่ตัวตน ดังนี้.
เต (ตา) มะยัง โอติณณามหะ,
พวกเราทั้งหลาย เป็นผู้ถูกครอบงำแล้ว ; ชาติยา, โดยความเกิด
ชะรามะระเณนะ,
โดยความแก่และความตาย ;
โสเกหิ ปะริเทเวหิ ทุกเขหิ โทมะนัสเสหิ อุปยาเสหิ,
โดยความโศก ความร่ำไรรำพัน ความไม่สบายกาย ความไม่สบายใจ ความคับแค้นใจ ทั้งหลาย ;
ทุกโขติณณา,
เป็นผู้ถูกความทุกข์ หยั่งเอาแล้ว ;
ทุกขะปะเรตา,
เป็นผู้มีความทุกข์ เป็นเบื้องหน้าแล้ว ;
อัปเปวะนามิมัสสะ เกวะลัสสะ ทุกขันขันธัสสะ อันตะกิริยา ปัญญาเยถาติ.
ทำไฉน การทำที่สุดแห่งกองทุกข์ทั้งสิ้นนี้ . จะพึ่งปรากฏชัด แก่เราได้.
จิระปะรินิพพุตัมปิ ตัง ภะคะวันตัง สะระณัง คะตา,
เราทั้งหลายผู้ถึงแล้วซึ่งพระผู้มีพระภาคเจ้า แม้ปรินิพพานนานแล้ว พระองค์นั้น เป็นสรณะ ; ธัมมัญจะ สังฆัญจะ, ถึงพระธรรมด้วย, ถึงพระสงฆ์ด้วย ;
ตัสสะ ภะคะวะโต สาสะนัง ยะถาพะลัง มะนะสิกะโรมะ อะนุปะฏิปัชชามะ,
จักทำในใจอยู่ ปฏิบัติตามอยู่ ซึ่งคำสั่งสอนของพระผู้มีพระภาคเจ้านั้นตามสติกำลัง ;
 สา สา โน ปะฏิปัตติ, ขอให้ความปฏิบัตินั้น ๆ ของเราทั้งหลาย ;
อิมัสสะ เกวะลัสสะ ทุกขักขันธัสสะ อันตะกิริยายะ สังวัตตะตุ.
จงเป็นไปเพื่อการทำที่สุดแห่งกองทุกข์ ทั้งสิ้นนี้ เทอญ.


(จบคำทำวัตรเช้า)

วันเสาร์ที่ 30 กรกฎาคม พ.ศ. 2559

เหตุแห่งการตั้งชื่อธรรมแต่ละหมวดหมู่ เหตุแห่งการตั้งชื่อ ของธรรมแต่ละหมวดหมู่ ชื่อว่า อินทรีย์ เพราะมีสภาวะเป็นใหญ่ ชื่อว่า พละ เพราะมีสภาวะไม่หวั่นไหว ชื่อว่า โพชฌงค์ เพราะมีสภาวะนำออก ชื่อว่า มรรค เพราะมีสภาวะเป็นเหตุ ชื่อว่า สติปัฏฐาน เพราะมีสภาวะตั้งมั่น ชื่อว่า สัมมัปปธาน เพราะมีสภาวะดำรงไว้ ชื่อว่า อิทธิบาท เพราะมีสภาวะสำเร็จ ชื่อว่า สัจจะ เพราะมีสภาวะเป็นของแท้ ชื่อว่า สมถะ เพราะมีสภาวะไม่ฟุ้งซ่าน ชื่อว่า วิปัสสนา เพราะมีสภาวะพิจารณาเห็น ชื่อว่า สมถะและวิปัสสนา เพราะมีสภาวะ เป็นรสอย่างเดียวกัน ชื่อว่า ธรรมที่เป็นคู่กัน เพราะมีสภาวะ ไม่ล่วงเลยกัน ชื่อว่า สีลวิสุทธิ เพราะมีสภาวะสำรวม ชื่อว่า จิตตวิสุทธิ เพราะมีสภาวะไม่ฟุ้งซ่าน ชื่อว่า ทิฏฐิวิสุทธิ เพราะมีสภาวะเห็น ชื่อว่า วิโมกข์ เพราะมีสภาวะหลุดพ้น ชื่อว่า วิชชา เพราะมีสภาวะรู้แจ้ง ชื่อว่า วิมุตติ เพราะมีสภาวะสละ ชื่อว่า ญาณในความสิ้นไป เพราะมีสภาวะ ตัดขาด ชื่อว่า อนุปปาทญาณ (ญาณในความไม่เกิดขึ้น) เพราะมีสภาวะสงบระงับ ชื่อว่า ฉันทะ เพราะมีสภาวะเป็นมูล ชื่อว่า มนสิการ เพราะมีสภาวะเป็น สมุฏฐาน ชื่อว่า ผัสสะ เพราะมีสภาวะประมวลมา ชื่อว่า เวทนา เพราะมีสภาวะประชุมกัน ชื่อว่า สมาธิ เพราะมีสภาวะเป็นประธาน ชื่อว่า สติ เพราะมีสภาวะเป็นใหญ่ ชื่อว่า ปัญญา เพราะมีสภาวะเป็นธรรม ยิ่งกว่าธรรมนั้น ชื่อว่า วิมุตติ เพราะมีสภาวะเป็นแก่นสาร ธรรมที่หยั่งลงสู่อมตะคือนิพพาน เพราะมีสภาวะเป็นที่สุด ธรรมใดๆ ที่รู้ยิ่งแล้ว ธรรมนั้นๆ ก็เป็นอันรู้แล้ว ชื่อว่า ญาณ เพราะมีสภาวะรู้ธรรมนั้น ชื่อว่า ปัญญา เพราะมีสภาวะรู้ชัด เพราะฉะนั้น ท่านจึงกล่าวว่า การทรงจำธรรมที่ได้สดับมาว่า “ธรรมเหล่านี้ ควรรู้ยิ่ง” ปัญญารู้ชัดธรรมที่ได้สดับมานั้น ชื่อว่า สุตมยญาณ

เหตุแห่งการตั้งชื่อธรรมแต่ละหมวดหมู่




เหตุแห่งการตั้งชื่อ

ของธรรมแต่ละหมวดหมู่

ชื่อว่า อินทรีย์           เพราะมีสภาวะเป็นใหญ่

ชื่อว่า พละ               เพราะมีสภาวะไม่หวั่นไหว

ชื่อว่า โพชฌงค์         เพราะมีสภาวะนำออก

ชื่อว่า มรรค              เพราะมีสภาวะเป็นเหตุ    

ชื่อว่า สติปัฏฐาน       เพราะมีสภาวะตั้งมั่น
ชื่อว่า สัมมัปปธาน     เพราะมีสภาวะดำรงไว้
ชื่อว่า อิทธิบาท         เพราะมีสภาวะสำเร็จ       
ชื่อว่า สัจจะ              เพราะมีสภาวะเป็นของแท้ 
ชื่อว่า สมถะ              เพราะมีสภาวะไม่ฟุ้งซ่าน
ชื่อว่า วิปัสสนา       เพราะมีสภาวะพิจารณาเห็น 
ชื่อว่า สมถะและวิปัสสนา  เพราะมีสภาวะ
เป็นรสอย่างเดียวกัน 
ชื่อว่า ธรรมที่เป็นคู่กัน  เพราะมีสภาวะ
                               ไม่ล่วงเลยกัน 
ชื่อว่า สีลวิสุทธิ         เพราะมีสภาวะสำรวม 
ชื่อว่า จิตตวิสุทธิ       เพราะมีสภาวะไม่ฟุ้งซ่าน
ชื่อว่า ทิฏฐิวิสุทธิ       เพราะมีสภาวะเห็น 
ชื่อว่า วิโมกข์            เพราะมีสภาวะหลุดพ้น 
ชื่อว่า วิชชา              เพราะมีสภาวะรู้แจ้ง  
ชื่อว่า วิมุตติ             เพราะมีสภาวะสละ  
ชื่อว่า ญาณในความสิ้นไป เพราะมีสภาวะ
                             ตัดขาด       
ชื่อว่า อนุปปาทญาณ (ญาณในความไม่เกิดขึ้น)  
เพราะมีสภาวะสงบระงับ  
ชื่อว่า ฉันทะ             เพราะมีสภาวะเป็นมูล 
ชื่อว่า มนสิการ          เพราะมีสภาวะเป็น
                              สมุฏฐาน
ชื่อว่า ผัสสะ        เพราะมีสภาวะประมวลมา  
ชื่อว่า เวทนา       เพราะมีสภาวะประชุมกัน 
ชื่อว่า สมาธิ        เพราะมีสภาวะเป็นประธาน  
ชื่อว่า สติ            เพราะมีสภาวะเป็นใหญ่ 
ชื่อว่า ปัญญา       เพราะมีสภาวะเป็นธรรม 
                         ยิ่งกว่าธรรมนั้น 
ชื่อว่า วิมุตติ         เพราะมีสภาวะเป็นแก่นสาร 
ธรรมที่หยั่งลงสู่อมตะคือนิพพาน   
เพราะมีสภาวะเป็นที่สุด  
ธรรมใดๆ ที่รู้ยิ่งแล้ว ธรรมนั้นๆ ก็เป็นอันรู้แล้ว ชื่อว่า ญาณ  เพราะมีสภาวะรู้ธรรมนั้น ชื่อว่าปัญญา เพราะมีสภาวะรู้ชัด เพราะฉะนั้น ท่านจึงกล่าวว่า การทรงจำธรรมที่ได้สดับมาว่า “ธรรมเหล่านี้ ควรรู้ยิ่ง ปัญญารู้ชัดธรรมที่ได้สดับมานั้น ชื่อว่า สุตมยญาณ

การพิจารณาเห็นธรรมในธรรม.. ทุกขอริยสัจ ฯ..*** *************************************************** [๒๙๔] ดูกรภิกษุทั้งหลาย อีกข้อหนึ่ง ภิกษุพิจารณาเห็นธรรมในธรรม คืออริยสัจ ๔ อยู่ ภิกษุพิจารณาเห็นธรรมในธรรมคืออริยสัจ ๔ อยู่ อย่างไรเล่า ภิกษุในธรรมวินัยนี้ _________ ย่อมรู้ชัดตามเป็นจริงว่า... นี้ทุกข์ นี้ทุกขสมุทัย นี้ทุกขนิโรธ นี้ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา ฯ _______ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ทุกขอริยสัจเป็นไฉน แม้ชาติก็เป็นทุกข์ แม้ชราก็ เป็นทุกข์ แม้มรณะก็เป็นทุกข์ แม้โสกะ ปริเทวะทุกข์โทมนัสอุปายาส ก็เป็น ทุกข์ แม้ความประจวบกับสิ่งไม่เป็นที่รักก็เป็นทุกข์ แม้ความพลัดพรากจากสิ่ง ที่รักก็เป็นทุกข์ ปรารถนาสิ่งใดไม่ได้ แม้อันนั้นก็เป็นทุกข์ โดยย่อ อุปาทานขันธ์ ทั้ง ๕ เป็นทุกข์ ฯ _______ [๒๙๕] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ชาติเป็นไฉน ความเกิด ความบังเกิด ความหยั่งลงเกิด เกิดจำเพาะ ความปรากฏแห่งขันธ์ ความได้อายตนะครบ ใน หมู่สัตว์นั้นๆ ของเหล่าสัตว์นั้นๆ อันนี้เรียกว่าชาติ ฯ _______ ก็ชราเป็นไฉน ความแก่ ภาวะของความแก่ ฟันหลุด ผมหงอก หนังเป็นเกลียว ความเสื่อมแห่งอายุ ความแก่หง่อมแห่งอินทรีย์ ในหมู่สัตว์นั้นๆ ของเหล่าสัตว์นั้นๆ อันนี้ เรียกว่าชรา ฯ _______ ก็มรณะเป็นไฉน ความเคลื่อน ภาวะของความเคลื่อน ความแตกทำลาย ความหายไป มฤตยู ความตาย ความทำกาละ ความทำลายแห่งขันธ์ ความทอดทิ้งซากศพไว้ ความขาดแห่งชีวิตินทรีย์ จากหมู่สัตว์นั้นๆ ของเหล่าสัตว์ นั้นๆ อันนี้เรียกว่ามรณะ ฯ _______ ก็โสกะเป็นไฉน ความแห้งใจ กิริยาที่แห้งใจ ภาวะแห่งบุคคลผู้แห้งใจ ความผาก ณ ภายใน ความแห้งผาก ณ ภายใน ของบุคคลผู้ประกอบด้วยความ พิบัติอย่างใดอย่างหนึ่ง ผู้ถูกธรรมคือทุกข์อย่างใดอย่างหนึ่งกระทบแล้ว อันนี้ เรียกว่าโสกะ ฯ ________ ก็ปริเทวะเป็นไฉน ความคร่ำครวญ ความร่ำไรรำพัน กิริยาที่คร่ำครวญ กิริยาที่ร่ำไรรำพัน ภาวะของบุคคลผู้คร่ำครวญ ภาวะของบุคคลผู้ร่ำไรรำพัน ของ บุคคล ผู้ประกอบด้วยความพิบัติอย่างใดอย่างหนึ่ง ผู้ถูกธรรมคือทุกข์อย่างใดอย่าง หนึ่งกระทบแล้ว อันนี้เรียกว่าปริเทวะ ฯ _________ ก็ทุกข์เป็นไฉน ความลำบากทางกาย ความไม่สำราญทางกาย ความ เสวยอารมณ์อันไม่ดีที่เป็นทุกข์เกิดแต่กายสัมผัส อันนี้เรียกว่าทุกข์ ฯ __________ ก็โทมนัสเป็นไฉน ความทุกข์ทางจิต ความไม่สำราญทางจิต ความเสวยอารมณ์ อันไม่ดีที่เป็นทุกข์เกิดแต่มโนสัมผัส อันนี้เรียกว่าโทมนัส ฯ ___________ ก็อุปายาสเป็นไฉน ความแค้น ความคับแค้น ภาวะของบุคคลผู้แค้น ภาวะของบุคคลผู้คับแค้น ของบุคคลผู้ประกอบด้วยความพิบัติอย่างใดอย่างหนึ่ง ผู้ถูกธรรมคือทุกข์อย่างใด อย่างหนึ่งกระทบแล้ว อันนี้เรียกว่าอุปายาส ฯ ___________ ก็ความประจวบกับสิ่งไม่เป็นที่รัก ก็เป็นทุกข์ เป็นไฉน ความประสบ ความพรั่งพร้อม ความร่วม ความระคน ด้วยรูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ อันไม่น่าปรารถนา ไม่น่าใคร่ ไม่น่าพอใจ หรือด้วยบุคคลผู้ปรารถนาสิ่งที่ไม่เป็น ประโยชน์ ปรารถนาสิ่งที่ไม่เกื้อกูลปรารถนาความไม่ผาสุก ปรารถนาความไม่ เกษมจากโยคะ ซึ่งมีแก่ผู้นั้น อันนี้เรียกว่า ความประจวบกับสิ่งไม่เป็นที่รัก ก็เป็นทุกข์ ฯ ___________ ก็ความพลัดพรากจากสิ่งที่รัก ก็เป็นทุกข์ เป็นไฉน ความไม่ประสบ ความไม่พรั่งพร้อม ความไม่ร่วม ความไม่ระคน ด้วยรูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ อันน่าปรารถนา น่าใคร่ น่าพอใจ หรือด้วยบุคคลผู้ปรารถนาประโยชน์ ปรารถนาสิ่งที่เกื้อกูล ปรารถนาความผาสุก ปรารถนาความเกษมจาก โยคะ คือ มารดา บิดา พี่ชาย น้องชาย พี่หญิง น้อง หญิง มิตร อมาตย์ หรือ ญาติสาโลหิต ซึ่งมีแก่ผู้นั้น อันนี้เรียกว่า ความพลัดพรากจากสิ่งที่รักก็ เป็นทุกข์ ฯ ____________ ก็ปรารถนาสิ่งใดไม่ได้ แม้อันนั้น ก็เป็นทุกข์ เป็นไฉน ความปรารถนา ย่อมบังเกิดแก่สัตว์ผู้มีความเกิดเป็นธรรมดา อย่างนี้ว่า โอหนอ ขอเราไม่พึงมี...ความ เกิด.....เป็นธรรมดา ขอความเกิดอย่ามีมาถึงเราเลย ข้อนั้นสัตว์ไม่พึงได้สมความ ปรารถนา แม้ข้อนี้ ก็ชื่อว่าปรารถนา สิ่งใดไม่ได้ แม้อันนั้นก็เป็นทุกข์ _____________ ความ ปรารถนาย่อมบังเกิดแก่สัตว์ผู้มีความแก่เป็นธรรมดา อย่างนี้ว่า โอหนอ ขอเรา ไม่พึงมี...ความแก่....เป็นธรรมดา ขอความแก่อย่ามีมาถึงเราเลย ข้อนั้น สัตว์ไม่พึงได้ สมความปรารถนา แม้ข้อนี้ ก็ชื่อว่า ปรารถนาสิ่งใดไม่ได้ แม้อันนั้นก็เป็นทุกข์ ______________ ความปรารถนาย่อมบังเกิดแก่สัตว์ผู้มี..ความเจ็บ..เป็นธรรมดาอย่างนี้ว่า โอหนอ ขอเราไม่พึงมี..ความเจ็บ...เป็นธรรมดา ขอ..ความเจ็บ..อย่ามีมาถึงเราเลย ข้อนั้นสัตว์ไม่พึง ได้สมความปรารถนา แม้ข้อนี้ ก็ชื่อว่า ปรารถนาสิ่งใดไม่ได้ แม้อันนั้นก็เป็นทุกข์ _______________ ความปรารถนาย่อมบังเกิดแก่สัตว์ผู้มี..ความตาย..เป็นธรรมดาอย่างนี้ว่า โอหนอ ขอเราไม่พึงมี..ความตาย..เป็นธรรมดา ขอ..ความตาย..อย่ามีมาถึงเราเลย ข้อนั้นสัตว์ ไม่พึงได้สมความปรารถนา แม้ข้อนี้ ก็ชื่อว่า ปรารถนาสิ่งใดไม่ได้ แม้อันนั้นก็ เป็นทุกข์ ---------------- ความปรารถนา ย่อมบังเกิดแก่สัตว์ผู้มี..โสกปริเทวทุกขโทมนัสอุปายาส.. เป็นธรรมดา อย่างนี้ว่า โอหนอ ขอเราไม่พึง..มีโสกปริเทวทุกขโทมนัสอุปายาส..เป็นธรรมดา ขอ..โสกปริเทว ทุกขโทมนัสอุปายาส อย่ามีมาถึงเราเลย ข้อนั้นสัตว์ ไม่พึงได้สมความปรารถนา แม้ข้อนี้ ก็ชื่อว่า ปรารถนาสิ่งใดไม่ได้ แม้อันนั้น ก็เป็นทุกข์ ฯ ----------------- ก็โดยย่อ อุปาทานขันธ์ ๕ เป็นทุกข์ เป็นไฉน อุปาทานขันธ์ คือรูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ เหล่านี้เรียกว่า โดยย่อ อุปาทานขันธ์ทั้ง ๕ เป็นทุกข์ ฯ ------------- ดูกรภิกษุทั้งหลาย อันนี้เรียกว่า ***ทุกขอริยสัจ ฯ*** ------------- พระไตรปิฎก ภาษาไทย (ฉบับหลวง) เล่มที่ ๑๐ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๒ ทีฆนิกาย มหาวรรค หน้าที่ ๒๒๖/๒๖๑ ข้อที่ ๒๙๔

การพิจารณาเห็นธรรมในธรรม.. ทุกขอริยสัจ ฯ..***
***************************************************
[๒๙๔] ดูกรภิกษุทั้งหลาย อีกข้อหนึ่ง ภิกษุพิจารณาเห็นธรรมในธรรม คืออริยสัจ ๔
อยู่ ภิกษุพิจารณาเห็นธรรมในธรรมคืออริยสัจ ๔ อยู่ อย่างไรเล่า ภิกษุในธรรมวินัยนี้
_________
ย่อมรู้ชัดตามเป็นจริงว่า...
นี้ทุกข์
นี้ทุกขสมุทัย
นี้ทุกขนิโรธ
นี้ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา ฯ
_______
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ทุกขอริยสัจเป็นไฉน
แม้ชาติก็เป็นทุกข์
แม้ชราก็ เป็นทุกข์
แม้มรณะก็เป็นทุกข์
แม้โสกะ ปริเทวะทุกข์โทมนัสอุปายาส ก็เป็น ทุกข์
แม้ความประจวบกับสิ่งไม่เป็นที่รักก็เป็นทุกข์
แม้ความพลัดพรากจากสิ่ง ที่รักก็เป็นทุกข์
ปรารถนาสิ่งใดไม่ได้ แม้อันนั้นก็เป็นทุกข์
โดยย่อ อุปาทานขันธ์ ทั้ง ๕ เป็นทุกข์ ฯ
_______
[๒๙๕] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ชาติเป็นไฉน
ความเกิด
ความบังเกิด
ความหยั่งลงเกิด
เกิดจำเพาะ
ความปรากฏแห่งขันธ์
ความได้อายตนะครบ ใน หมู่สัตว์นั้นๆ
ของเหล่าสัตว์นั้นๆ อันนี้เรียกว่าชาติ ฯ
_______
ก็ชราเป็นไฉน
ความแก่
ภาวะของความแก่ ฟันหลุด ผมหงอก หนังเป็นเกลียว
ความเสื่อมแห่งอายุ ความแก่หง่อมแห่งอินทรีย์ ในหมู่สัตว์นั้นๆ
ของเหล่าสัตว์นั้นๆ อันนี้
เรียกว่าชรา ฯ
_______
ก็มรณะเป็นไฉน
ความเคลื่อน ภาวะของความเคลื่อน ความแตกทำลาย
ความหายไป มฤตยู ความตาย ความทำกาละ
ความทำลายแห่งขันธ์ ความทอดทิ้งซากศพไว้
ความขาดแห่งชีวิตินทรีย์ จากหมู่สัตว์นั้นๆ ของเหล่าสัตว์ นั้นๆ
อันนี้เรียกว่ามรณะ ฯ
_______
ก็โสกะเป็นไฉน
ความแห้งใจ กิริยาที่แห้งใจ ภาวะแห่งบุคคลผู้แห้งใจ
ความผาก ณ ภายใน ความแห้งผาก ณ ภายใน
ของบุคคลผู้ประกอบด้วยความ พิบัติอย่างใดอย่างหนึ่ง
ผู้ถูกธรรมคือทุกข์อย่างใดอย่างหนึ่งกระทบแล้ว อันนี้
เรียกว่าโสกะ ฯ
________

ก็ปริเทวะเป็นไฉน
ความคร่ำครวญ ความร่ำไรรำพัน กิริยาที่คร่ำครวญ
กิริยาที่ร่ำไรรำพัน ภาวะของบุคคลผู้คร่ำครวญ
ภาวะของบุคคลผู้ร่ำไรรำพัน ของ บุคคล
ผู้ประกอบด้วยความพิบัติอย่างใดอย่างหนึ่ง
ผู้ถูกธรรมคือทุกข์อย่างใดอย่าง หนึ่งกระทบแล้ว
อันนี้เรียกว่าปริเทวะ ฯ
_________
ก็ทุกข์เป็นไฉน
ความลำบากทางกาย ความไม่สำราญทางกาย
ความ เสวยอารมณ์อันไม่ดีที่เป็นทุกข์เกิดแต่กายสัมผัส
อันนี้เรียกว่าทุกข์ ฯ
__________
ก็โทมนัสเป็นไฉน
ความทุกข์ทางจิต ความไม่สำราญทางจิต ความเสวยอารมณ์
อันไม่ดีที่เป็นทุกข์เกิดแต่มโนสัมผัส
อันนี้เรียกว่าโทมนัส ฯ
___________
ก็อุปายาสเป็นไฉน
ความแค้น ความคับแค้น ภาวะของบุคคลผู้แค้น
ภาวะของบุคคลผู้คับแค้น
ของบุคคลผู้ประกอบด้วยความพิบัติอย่างใดอย่างหนึ่ง
ผู้ถูกธรรมคือทุกข์อย่างใด
อย่างหนึ่งกระทบแล้ว อันนี้เรียกว่าอุปายาส ฯ
___________
ก็ความประจวบกับสิ่งไม่เป็นที่รัก ก็เป็นทุกข์ เป็นไฉน
ความประสบ ความพรั่งพร้อม ความร่วม ความระคน
ด้วยรูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ
อันไม่น่าปรารถนา ไม่น่าใคร่ ไม่น่าพอใจ
หรือด้วยบุคคลผู้ปรารถนาสิ่งที่ไม่เป็น ประโยชน์
ปรารถนาสิ่งที่ไม่เกื้อกูลปรารถนาความไม่ผาสุก
ปรารถนาความไม่ เกษมจากโยคะ ซึ่งมีแก่ผู้นั้น อันนี้เรียกว่า
ความประจวบกับสิ่งไม่เป็นที่รัก ก็เป็นทุกข์ ฯ
___________
ก็ความพลัดพรากจากสิ่งที่รัก ก็เป็นทุกข์ เป็นไฉน
ความไม่ประสบ ความไม่พรั่งพร้อม ความไม่ร่วม
ความไม่ระคน ด้วยรูป เสียง กลิ่น รส
โผฏฐัพพะ อันน่าปรารถนา น่าใคร่ น่าพอใจ
หรือด้วยบุคคลผู้ปรารถนาประโยชน์
ปรารถนาสิ่งที่เกื้อกูล ปรารถนาความผาสุก
ปรารถนาความเกษมจาก โยคะ คือ
มารดา บิดา พี่ชาย น้องชาย พี่หญิง น้อง
หญิง มิตร อมาตย์ หรือ ญาติสาโลหิต ซึ่งมีแก่ผู้นั้น อันนี้เรียกว่า
ความพลัดพรากจากสิ่งที่รักก็ เป็นทุกข์ ฯ
____________
ก็ปรารถนาสิ่งใดไม่ได้ แม้อันนั้น ก็เป็นทุกข์ เป็นไฉน
ความปรารถนา ย่อมบังเกิดแก่สัตว์ผู้มีความเกิดเป็นธรรมดา
อย่างนี้ว่า โอหนอ
ขอเราไม่พึงมี...ความ เกิด.....เป็นธรรมดา
ขอความเกิดอย่ามีมาถึงเราเลย
ข้อนั้นสัตว์ไม่พึงได้สมความ ปรารถนา
แม้ข้อนี้ ก็ชื่อว่าปรารถนา สิ่งใดไม่ได้ แม้อันนั้นก็เป็นทุกข์
_____________
ความ ปรารถนาย่อมบังเกิดแก่สัตว์ผู้มีความแก่เป็นธรรมดา
อย่างนี้ว่า โอหนอ
ขอเรา ไม่พึงมี...ความแก่....เป็นธรรมดา
ขอความแก่อย่ามีมาถึงเราเลย ข้อนั้น
สัตว์ไม่พึงได้ สมความปรารถนา แม้ข้อนี้ ก็ชื่อว่า
ปรารถนาสิ่งใดไม่ได้ แม้อันนั้นก็เป็นทุกข์
______________
ความปรารถนาย่อมบังเกิดแก่สัตว์ผู้มี..ความเจ็บ..เป็นธรรมดาอย่างนี้ว่า
โอหนอ ขอเราไม่พึงมี..ความเจ็บ...เป็นธรรมดา
ขอ..ความเจ็บ..อย่ามีมาถึงเราเลย
ข้อนั้นสัตว์ไม่พึง ได้สมความปรารถนา แม้ข้อนี้
ก็ชื่อว่า ปรารถนาสิ่งใดไม่ได้ แม้อันนั้นก็เป็นทุกข์
_______________
ความปรารถนาย่อมบังเกิดแก่สัตว์ผู้มี..ความตาย..เป็นธรรมดาอย่างนี้ว่า
โอหนอ ขอเราไม่พึงมี..ความตาย..เป็นธรรมดา
ขอ..ความตาย..อย่ามีมาถึงเราเลย
ข้อนั้นสัตว์ ไม่พึงได้สมความปรารถนา แม้ข้อนี้ ก็ชื่อว่า
ปรารถนาสิ่งใดไม่ได้ แม้อันนั้นก็ เป็นทุกข์
----------------
ความปรารถนา ย่อมบังเกิดแก่สัตว์ผู้มี..โสกปริเทวทุกขโทมนัสอุปายาส..
เป็นธรรมดา อย่างนี้ว่า โอหนอ
ขอเราไม่พึง..มีโสกปริเทวทุกขโทมนัสอุปายาส..เป็นธรรมดา
ขอ..โสกปริเทว ทุกขโทมนัสอุปายาส อย่ามีมาถึงเราเลย
ข้อนั้นสัตว์ ไม่พึงได้สมความปรารถนา แม้ข้อนี้ ก็ชื่อว่า
ปรารถนาสิ่งใดไม่ได้ แม้อันนั้น ก็เป็นทุกข์ ฯ
-----------------
ก็โดยย่อ อุปาทานขันธ์ ๕ เป็นทุกข์ เป็นไฉน
อุปาทานขันธ์ คือรูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ
เหล่านี้เรียกว่า โดยย่อ อุปาทานขันธ์ทั้ง ๕ เป็นทุกข์ ฯ

-------------
ดูกรภิกษุทั้งหลาย อันนี้เรียกว่า ***ทุกขอริยสัจ ฯ***
-------------
พระไตรปิฎก ภาษาไทย (ฉบับหลวง) เล่มที่ ๑๐
พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๒ ทีฆนิกาย มหาวรรค
หน้าที่ ๒๒๖/๒๖๑ ข้อที่ ๒๙๔