วันเสาร์ที่ 30 กรกฎาคม พ.ศ. 2559

ฝนฟ้าอากาศมันก็ต้องตกไปตามเรื่องตามราว เราอยู่ในโลกก็ต้องการทั้งแดดทั้งฝน แต่ว่าความต้องการของมนุษย์นี่บางทีมันก็ขัดกัน บางที่ฝนตกไม่ชอบ บางทีแดดออกไม่ชอบ ลมพัดจัดก็ไม่ชอบ อย่างโน้นอย่างนี้ ก็ไม่ใคร่เป็นที่ชอบใจ อะไรๆ ในโลกนี้ ก็ไม่ใคร่เป็นที่ชอบใจ อะไรๆ ในโลกนี่จะเหมือนใจทุกอย่างไม่ได้ สิ่งทั้งหลายก็เป็นไปตามอำนาจของธรรมชาติ เราก็ต้องปลูกความรู้สึกในใจให้เกิดความพอดีๆ กับสิ่งเหล่านั้น คือ ให้รู้สึกในใจให้เกิดความพอดีๆ กับสิ่งเหล่านั้น คือ ให้รู้สึกพอใจแล้วก็สบาย แต่ถ้าไม่รู้สึกพอใจในเรื่องอะไรๆ ก็เกิดความทุกข์ความเดือดร้อนในชีวิตประจำวัน . ในทางธรรมะจึงสอนเราให้รู้จักสันโดษ หมายความว่า พอใจในสิ่งที่เราประสพอยู่เฉพาะหน้า คือ อะไรเกิดขึ้นเฉพาะหน้า เราก็นึกพอใจในสิ่งนั้น ความพอใจในสิ่งที่เกิดขึ้นเฉพาะหน้า คือสันโดษ เป็นศิลปะของความสุขความสบายในทางจิตใจ ในขณะใดที่เรามีความพอใจในเรื่องอะไรๆ ที่เกิดขึ้น เราก็รู้สึกสบายใจ ยิ้มได้ แต่ว่าในขณะใดที่เรารู้สึกขัดใจ ไม่ชอบใจ ในสิ่งที่เกิดมีอยู่เฉพาะหน้า ในขณะนั้นเราก็มีความทุกข์ มีความไม่สบายใจ อันความทุกข์ความเดือดร้อนใจนี่ ใครๆ ก็ไม่ค่อยชอบ ไม่ค่อยต้องการ . แต่ว่าพอเผลอ ความทุกข์ก็เกิดขึ้นในตัวเราได้ ที่ความทุกข์เกิดขึ้นได้ ก็เพราะความประมาท เผลอไป ไม่ได้ใช้ปัญญาคิดจึกตรึกตรองในเรื่องนั้น . มองอะไรก็มองแต่เพียงแง่เดียว ไม่มองไปในแง่ที่ว่า มันเป็นความจริงอย่างไร คุณ โทษ ประโยชน์ มิใช่ประโยชน์ ของสิ่งนั้นเป็นอย่างไร เรามองไม่ชัดเจนตามที่เป็นจริง เมื่อมองเห็นอะไรๆไม่ชัดเจนตามที่มันเป็นจริง ก็เป็นเหตุให้เกิดความทุกข์ ความเดือดร้อนในใจได้ . เพราะฉะนั้น ในทางพระพุทธศาสนา จึงมีหลักคำสอนว่า จงมองทุกสิ่งทุกอย่างตามที่มันเป็นจริง . ท่านใช้ศัพท์เทคนิคในทางธรรมะว่า ยถาภูตญาณทัสสนะ คำว่า "ยถาภูตญาณทัสสนะ" ถ้าแปลก็หมายความว่า "เห็นอะไรๆ ทุกอย่างตามที่มันเป็นจริงๆ" . ความจริงของสิ่งนั้นมันเป็นอย่างไร เราก็มองให้เห็นชัดในสิ่งนั้น ในขณะใดที่เรามองเห็นสิ่งนั้น ชัดแจ้งตามที่มันเป็นจริง ความหลงไม่มี ความยึดถือในสิ่งนั้นก็ไม่มี ใจเราก็ว่างจากความยึดถือ เมื่อใจว่างจากความยึดถือ เราก็มีความสงบใจ . เพราะฉะนั้นพระผู้มีพระภาคเจ้า ท่านจึงสอนเราให้หัดมองอะไรทุกอย่าง ที่ผ่านเข้ามาในวิถีชีวิตของเรา ให้รู้ชัดเห็นชัดตามที่เป็นจริงอยู่ตลอดเวลา อันการที่เราจะมองอะไรให้เห็นชัดนั้น ก็ต้องศึกษาให้รู้ธรรมะ . เพื่อเอามาใช้เป็นแว่นประกอบการมอง ประกอบการพิจารณาในสิ่งนั้นๆ จะได้รู้เข้าใจชัดเจนขึ้น เราจึงต้องมาวัดฟังธรรมบ้าง อ่านหนังสือทางศาสนาบ้าง สนทนาแลกเปลี่ยน ความคิดความเห็นในด้านธรรมะ กับผู้ที่มีความรู้ความเข้าใจบ้าง . หลวงพ่อปัญญานันทภิกขุ



ฝนฟ้าอากาศมันก็ต้องตกไปตามเรื่องตามราว
เราอยู่ในโลกก็ต้องการทั้งแดดทั้งฝน
แต่ว่าความต้องการของมนุษย์นี่บางทีมันก็ขัดกัน
บางที่ฝนตกไม่ชอบ บางทีแดดออกไม่ชอบ
ลมพัดจัดก็ไม่ชอบ อย่างโน้นอย่างนี้ ก็ไม่ใคร่เป็นที่ชอบใจ 
อะไรๆ ในโลกนี้ ก็ไม่ใคร่เป็นที่ชอบใจ
อะไรๆ ในโลกนี่จะเหมือนใจทุกอย่างไม่ได้
สิ่งทั้งหลายก็เป็นไปตามอำนาจของธรรมชาติ
เราก็ต้องปลูกความรู้สึกในใจให้เกิดความพอดีๆ กับสิ่งเหล่านั้น
คือ ให้รู้สึกในใจให้เกิดความพอดีๆ กับสิ่งเหล่านั้น
คือ ให้รู้สึกพอใจแล้วก็สบาย แต่ถ้าไม่รู้สึกพอใจในเรื่องอะไรๆ
ก็เกิดความทุกข์ความเดือดร้อนในชีวิตประจำวัน
.
ในทางธรรมะจึงสอนเราให้รู้จักสันโดษ
หมายความว่า พอใจในสิ่งที่เราประสพอยู่เฉพาะหน้า
คือ อะไรเกิดขึ้นเฉพาะหน้า เราก็นึกพอใจในสิ่งนั้น
ความพอใจในสิ่งที่เกิดขึ้นเฉพาะหน้า คือสันโดษ
เป็นศิลปะของความสุขความสบายในทางจิตใจ
ในขณะใดที่เรามีความพอใจในเรื่องอะไรๆ ที่เกิดขึ้น
เราก็รู้สึกสบายใจ ยิ้มได้
แต่ว่าในขณะใดที่เรารู้สึกขัดใจ ไม่ชอบใจ
ในสิ่งที่เกิดมีอยู่เฉพาะหน้า ในขณะนั้นเราก็มีความทุกข์
มีความไม่สบายใจ อันความทุกข์ความเดือดร้อนใจนี่
ใครๆ ก็ไม่ค่อยชอบ ไม่ค่อยต้องการ
.
แต่ว่าพอเผลอ ความทุกข์ก็เกิดขึ้นในตัวเราได้
ที่ความทุกข์เกิดขึ้นได้ ก็เพราะความประมาท เผลอไป
ไม่ได้ใช้ปัญญาคิดจึกตรึกตรองในเรื่องนั้น
.
มองอะไรก็มองแต่เพียงแง่เดียว
ไม่มองไปในแง่ที่ว่า มันเป็นความจริงอย่างไร
คุณ โทษ ประโยชน์ มิใช่ประโยชน์ ของสิ่งนั้นเป็นอย่างไร
เรามองไม่ชัดเจนตามที่เป็นจริง
เมื่อมองเห็นอะไรๆไม่ชัดเจนตามที่มันเป็นจริง
ก็เป็นเหตุให้เกิดความทุกข์ ความเดือดร้อนในใจได้
.
เพราะฉะนั้น ในทางพระพุทธศาสนา จึงมีหลักคำสอนว่า
จงมองทุกสิ่งทุกอย่างตามที่มันเป็นจริง
.
ท่านใช้ศัพท์เทคนิคในทางธรรมะว่า ยถาภูตญาณทัสสนะ
คำว่า "ยถาภูตญาณทัสสนะ" ถ้าแปลก็หมายความว่า
"เห็นอะไรๆ ทุกอย่างตามที่มันเป็นจริงๆ"
.
ความจริงของสิ่งนั้นมันเป็นอย่างไร เราก็มองให้เห็นชัดในสิ่งนั้น
ในขณะใดที่เรามองเห็นสิ่งนั้น ชัดแจ้งตามที่มันเป็นจริง
ความหลงไม่มี ความยึดถือในสิ่งนั้นก็ไม่มี
ใจเราก็ว่างจากความยึดถือ
เมื่อใจว่างจากความยึดถือ เราก็มีความสงบใจ
.
เพราะฉะนั้นพระผู้มีพระภาคเจ้า
ท่านจึงสอนเราให้หัดมองอะไรทุกอย่าง
ที่ผ่านเข้ามาในวิถีชีวิตของเรา
ให้รู้ชัดเห็นชัดตามที่เป็นจริงอยู่ตลอดเวลา
อันการที่เราจะมองอะไรให้เห็นชัดนั้น
ก็ต้องศึกษาให้รู้ธรรมะ
.
เพื่อเอามาใช้เป็นแว่นประกอบการมอง
ประกอบการพิจารณาในสิ่งนั้นๆ จะได้รู้เข้าใจชัดเจนขึ้น
เราจึงต้องมาวัดฟังธรรมบ้าง อ่านหนังสือทางศาสนาบ้าง
สนทนาแลกเปลี่ยน ความคิดความเห็นในด้านธรรมะ
กับผู้ที่มีความรู้ความเข้าใจบ้าง
.
หลวงพ่อปัญญานันทภิกขุ

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น