วันอังคารที่ 26 กรกฎาคม พ.ศ. 2559

ทิปการจัดองค์ประกอบสำหรับการถ่ายทะเล Seascape BY FOTOFAKA · FEBRUARY 1, 2015 กฏสำหรับการถ่ายรูปนั้นคงไม่มีกฏที่แน่นอนในการจัดองค์ประกอบนัก แต่ก็เลี่ยงไม่ได้ว่าการทำตามกฏต่างๆแล้วก็ได้ผลที่ไม่แย่นัก ทำไมนะหรอ ? บางทีอาจเป็นเพราะสมองของเราเป็นผลลัพธ์จากการวิวัฒนาการมากว่าล้านปี เช่นเมื่อเราเห็นจุดสองจุดและเส้น เราก็นึกถึงใบหน้า ไม่เชื่อหรอ ดูนี่ซิ  และการที่เราชอบภาพบางภาพมากกว่าภาพอื่นๆมันก็มีเหตุผลของมัน มาดูเทคนิคเล็กๆน้อยๆ ที่สามารถนำไปใช้ได้กับทริปทะเลครั้งต่อไปของคุณได้ เริ่มทำตามกฏ ก่อนที่จะแหกกฏ ต้องรู้จักกฏให้ดีซะก่อน พยายามลองทำตามกฏ เริ่มจาก กฏสามส่วน ใครยังไม่รู้ว่าคืออะไรก็ลองคลิ๊กไปอ่านดู เราจะวางสิ่งที่น่าสนใจไว้ตรงจุดตัดเก้าช่องดังภาพ เพื่อให้ภาพดูสมดุลขึ้น  สิ่งที่น่าสนใจในรูปคือ ประภาคาร ภาพผลลัพธ์จะออกมาดังนี้  เลือกสิ่งที่น่าสนใจ ถ้าคุณใช้กฏสามส่วน แน่นอนว่าเส้นขอบฟ้าคงไม่ได้อยู๋ตรงกลาง เว้นแต่จะเป็นภาพสะท้อนสวยๆ แต่ว่าจะเอาเส้นขอบฟ้าไว้ด้านบน หรือด้านล่าง ?  ลองดูภาพตัวอย่างนี้ ให้ทะเลเป็นพระเอก เลยแบ่งไปสองส่วน และให้ฟ้า หนึ่งส่วน  จะเห็นว่ามีหินเป็นฉากหน้าที่น่าสนใจ เลยอยากจะเน้นสิ่งที่น่าสนใจ ก็เลยแบ่งให้มันไป 2/3  เช็คเส้นขอบฟ้า ไม่มีสิ่งไหนที่กวนสายตาได้เท่ากันเส้นขอบฟ้าเอียงอีกแล้ว อาจใช้ ตัววัดระดับ ที่ติดกล้องของคุณ หรืออาจซื้อ ตัว hot shoe levle มาดังภาพ  เพราะว่า เวลาที่คุณต้องมาปรับเส้นขอบฟ้าทีหลังในโปรแกรมทีหลัง ทำให้คุณต้องเสียบางส่วนของภาพไป ใช้ ความยาวโฟกัส(focal length)อย่างฉลาด  บางครั้งคุณพยายามถ่ายมาด้วยระยะที่พอดี เป็นสิ่งที่ดี แต่บางครั้ง ควรถ่ายให้กว้างขึ้นถ้าทำได้ ถ้าคุณอยู่ที่ระยะ 24mm ลองถ่ายที่ 21 หรือ 18 mm อย่าขี้เกียจ  จำไว้ว่าเมื่อไปปรับแต่งภาพทีหลังคุณไป crop จาก 21 เป็น 24 mm ได้ แต่ทำกลับกันไม่ได้  ใช้เส้นนำสายตา ภาพก็เหมือนหนังสือ ต้องทำให้สนุกและสามารรถอ่านได้ตั้งแต่ต้นจนจบ  ลองใช้เส้นเพื่อเป็นตัวนำสายตา คุณสามารถใช้ ถนน หรือเส้นที่มีอยู่ในธรรมชาติ จำไว้ว่าให้ระวัง สิ่งที่กีดขวางเส้นนั้น มันจะเป็นเหมือน การอ่านหนังสือข้ามบรรทัด คนอ่านจะสูญเสียอรรถรส และเรื่องเล่าไป และหลีกเลี่ยงการใช้เส้นนำสายตาให้นำสายตาออกไปนอกภาพด้วย  ใช้ถนนเป็นเส้นนำสายตาไปยังสิ่งที่น่าสนใจ  หลีกเลี่ยงการวางวัตถุตรงขอบ ปัญหาที่เจอบ่อยของเลนส์ Wide คือเรื่อง distortion หรือการบิดเบี้ยวของเลนส์  การวางวัตถุตรงขอบนั้นทำให้ภาพบริเวณขอบนั้นบิดเบี้ยว บางคนอาจซื้อเลนส์ที่ราคาสูงเพื่อแก้ปัญหาตรงนี้ แต่ก็มีอีกหลายวิธี เช่น อย่าถ่ายให้ sbuject มันตรงเส้น ของกฏสามส่วน ให้เข้ามาตรงกลางอีกนิด หลังจากเราแก้ไข distortion ในโปรแกรมแล้วหรือ crop แล้ว มันก็ทำให้ไปอยู่ตรงเส้นพอดี  ถ้าเราถ่ายให้บ้านหลังนั้นอยู่ใกล้ๆขอบ มันก็เกิดการบิดเบี้ยวอันเกิดจากเลนส์ เมื่อเราแก้ด้วยโปรแกรมแล้ว ทำให้เสียเส้นนำสายตาไปเพราะ ต้องcrop บางส่วนออกไป  เพิ่มมิติและขนาด เมื่อเริ่มถ่ายทะเลใหม่ๆ ผมไม่ชอบให้มีคนหรือวัตถุต่างๆที่คนสร้างคนมาในภาพ (ถ้าไม่ใช่คนที่ผมตั้งใจใส่เข้าไปในภาพ) แต่บางครั้งก็เป็นความคิดที่ดีที่ใส่สิ่งก่อสร้างเข้าไปในภาพ เหตุผลหลักๆคือเรื่องของมิติ จากภาพด้านล่าง คนดูไม่รู้หรอกว่าโขดหินนั้นมีขนาดเท่าไหร่ เพราะไม่มีอะไรเทียบ หากเขาไม่เคยไปมาก่อน การให้มีพวกสิ่งก่อสร้าง เช่นประภาคาร สะพาน โบสถ์ มันทำให้มีมิติ และเกิดการเทียบขนาดได้ หินจะดูสวยขึ้น ถ้าเรารู้ว่ามันสูงและใหญ่มาก  ประภาคารเป็นตัวที่ให้มิติกับหินต่างๆในภาพ (ลองใช้นิ้วปิดประภาคารดูซิ)  ใช้ negative space negative space เป็นพื้นที่รอบๆวัตถุในภาพ มันมีความสำคัญเท่าๆกับวัตถุนั้นแหละ ตัว Negative space ช่วยกำหนดขอบเขตของ positive space และช่วยให้ภาพสมดุล มันยังช่วยเน้นให้ subject มีความน่าสนใจยิ่งขึ้น ภาพโบสถ์ที่อยู่บนหน้าผาจะให้ความรู้สึกกล้าหาญมากขึ้น เมื่อมันท้าทายความกว้างใหญ่ของทะเล   สนุกกับมัน สุดท้ายนี้จำไว้ว่า ทุกกฏสามารถแหกได้ ถ้าเส้นขอบฟ้ามันไม่ดีนักหากวางไว้ตรงเส้นแรกของกฏสามส่วน เพราะไม่มีเมฆ ก็วางมันขึ้นไปอีก, ถ้าคุณวางประภาคารไว้ใกล้ขอบ เพื่อใช้เส้นนำสายตา ก็ทำมันซะ จุดประสงค์หลักของภาพคือไม่จำเป็นต้องทำตามกฏ แต่กระตุ้นอามรณ์ความสนใจให้คนดู สื่อสารกับคนดู จำไว้ว่าไม่มีองค์ประกอบไหนที่จะมาเอาชนะคุณได้  ประภาคารนี้อยู่ด้านขวาของเส้นในกฏสามส่วน โชคไม่ดีที่ผมไม่มีเลนส์กว้างพอ ผมต้องนำมันไว้ตรงนั้นเพราะ ไม่อยากตัดคลื่นสวยๆ ตรงขอบหินด้านมุมบนซ้าย   Credits: DPS

ทิปการจัดองค์ประกอบสำหรับการถ่ายทะเล Seascape

BY FOTOFAKA · FEBRUARY 1, 2015

กฏสำหรับการถ่ายรูปนั้นคงไม่มีกฏที่แน่นอนในการจัดองค์ประกอบนัก แต่ก็เลี่ยงไม่ได้ว่าการทำตามกฏต่างๆแล้วก็ได้ผลที่ไม่แย่นัก

ทำไมนะหรอ ? บางทีอาจเป็นเพราะสมองของเราเป็นผลลัพธ์จากการวิวัฒนาการมากว่าล้านปี เช่นเมื่อเราเห็นจุดสองจุดและเส้น เราก็นึกถึงใบหน้า ไม่เชื่อหรอ ดูนี่ซิ

และการที่เราชอบภาพบางภาพมากกว่าภาพอื่นๆมันก็มีเหตุผลของมัน มาดูเทคนิคเล็กๆน้อยๆ ที่สามารถนำไปใช้ได้กับทริปทะเลครั้งต่อไปของคุณได้

เริ่มทำตามกฏ

ก่อนที่จะแหกกฏ ต้องรู้จักกฏให้ดีซะก่อน พยายามลองทำตามกฏ เริ่มจาก กฏสามส่วน ใครยังไม่รู้ว่าคืออะไรก็ลองคลิ๊กไปอ่านดู

เราจะวางสิ่งที่น่าสนใจไว้ตรงจุดตัดเก้าช่องดังภาพ เพื่อให้ภาพดูสมดุลขึ้น

สิ่งที่น่าสนใจในรูปคือ ประภาคาร ภาพผลลัพธ์จะออกมาดังนี้

เลือกสิ่งที่น่าสนใจ

ถ้าคุณใช้กฏสามส่วน แน่นอนว่าเส้นขอบฟ้าคงไม่ได้อยู๋ตรงกลาง เว้นแต่จะเป็นภาพสะท้อนสวยๆ

แต่ว่าจะเอาเส้นขอบฟ้าไว้ด้านบน หรือด้านล่าง ?  ลองดูภาพตัวอย่างนี้ ให้ทะเลเป็นพระเอก เลยแบ่งไปสองส่วน และให้ฟ้า หนึ่งส่วน

จะเห็นว่ามีหินเป็นฉากหน้าที่น่าสนใจ เลยอยากจะเน้นสิ่งที่น่าสนใจ ก็เลยแบ่งให้มันไป 2/3

เช็คเส้นขอบฟ้า

ไม่มีสิ่งไหนที่กวนสายตาได้เท่ากันเส้นขอบฟ้าเอียงอีกแล้ว อาจใช้ ตัววัดระดับ ที่ติดกล้องของคุณ หรืออาจซื้อ ตัว hot shoe levle มาดังภาพ

เพราะว่า เวลาที่คุณต้องมาปรับเส้นขอบฟ้าทีหลังในโปรแกรมทีหลัง ทำให้คุณต้องเสียบางส่วนของภาพไป

ใช้ ความยาวโฟกัส(focal length)อย่างฉลาด 

บางครั้งคุณพยายามถ่ายมาด้วยระยะที่พอดี เป็นสิ่งที่ดี แต่บางครั้ง ควรถ่ายให้กว้างขึ้นถ้าทำได้ ถ้าคุณอยู่ที่ระยะ 24mm ลองถ่ายที่ 21 หรือ 18 mm อย่าขี้เกียจ  จำไว้ว่าเมื่อไปปรับแต่งภาพทีหลังคุณไป crop จาก 21 เป็น 24 mm ได้ แต่ทำกลับกันไม่ได้

ใช้เส้นนำสายตา

ภาพก็เหมือนหนังสือ ต้องทำให้สนุกและสามารรถอ่านได้ตั้งแต่ต้นจนจบ  ลองใช้เส้นเพื่อเป็นตัวนำสายตา คุณสามารถใช้ ถนน หรือเส้นที่มีอยู่ในธรรมชาติ จำไว้ว่าให้ระวัง สิ่งที่กีดขวางเส้นนั้น มันจะเป็นเหมือน การอ่านหนังสือข้ามบรรทัด

คนอ่านจะสูญเสียอรรถรส และเรื่องเล่าไป และหลีกเลี่ยงการใช้เส้นนำสายตาให้นำสายตาออกไปนอกภาพด้วย

ใช้ถนนเป็นเส้นนำสายตาไปยังสิ่งที่น่าสนใจ

หลีกเลี่ยงการวางวัตถุตรงขอบ

ปัญหาที่เจอบ่อยของเลนส์ Wide คือเรื่อง distortion หรือการบิดเบี้ยวของเลนส์  การวางวัตถุตรงขอบนั้นทำให้ภาพบริเวณขอบนั้นบิดเบี้ยว บางคนอาจซื้อเลนส์ที่ราคาสูงเพื่อแก้ปัญหาตรงนี้ แต่ก็มีอีกหลายวิธี เช่น อย่าถ่ายให้ sbuject มันตรงเส้น ของกฏสามส่วน ให้เข้ามาตรงกลางอีกนิด หลังจากเราแก้ไข distortion ในโปรแกรมแล้วหรือ crop แล้ว มันก็ทำให้ไปอยู่ตรงเส้นพอดี

ถ้าเราถ่ายให้บ้านหลังนั้นอยู่ใกล้ๆขอบ มันก็เกิดการบิดเบี้ยวอันเกิดจากเลนส์ เมื่อเราแก้ด้วยโปรแกรมแล้ว ทำให้เสียเส้นนำสายตาไปเพราะ ต้องcrop บางส่วนออกไป

เพิ่มมิติและขนาด

เมื่อเริ่มถ่ายทะเลใหม่ๆ ผมไม่ชอบให้มีคนหรือวัตถุต่างๆที่คนสร้างคนมาในภาพ (ถ้าไม่ใช่คนที่ผมตั้งใจใส่เข้าไปในภาพ)

แต่บางครั้งก็เป็นความคิดที่ดีที่ใส่สิ่งก่อสร้างเข้าไปในภาพ เหตุผลหลักๆคือเรื่องของมิติ จากภาพด้านล่าง คนดูไม่รู้หรอกว่าโขดหินนั้นมีขนาดเท่าไหร่ เพราะไม่มีอะไรเทียบ หากเขาไม่เคยไปมาก่อน การให้มีพวกสิ่งก่อสร้าง เช่นประภาคาร สะพาน โบสถ์ มันทำให้มีมิติ และเกิดการเทียบขนาดได้ หินจะดูสวยขึ้น ถ้าเรารู้ว่ามันสูงและใหญ่มาก


ประภาคารเป็นตัวที่ให้มิติกับหินต่างๆในภาพ (ลองใช้นิ้วปิดประภาคารดูซิ)

ใช้ negative space

negative space เป็นพื้นที่รอบๆวัตถุในภาพ มันมีความสำคัญเท่าๆกับวัตถุนั้นแหละ ตัว Negative space ช่วยกำหนดขอบเขตของ positive space และช่วยให้ภาพสมดุล มันยังช่วยเน้นให้ subject มีความน่าสนใจยิ่งขึ้น ภาพโบสถ์ที่อยู่บนหน้าผาจะให้ความรู้สึกกล้าหาญมากขึ้น เมื่อมันท้าทายความกว้างใหญ่ของทะเล

สนุกกับมัน

สุดท้ายนี้จำไว้ว่า ทุกกฏสามารถแหกได้ ถ้าเส้นขอบฟ้ามันไม่ดีนักหากวางไว้ตรงเส้นแรกของกฏสามส่วน เพราะไม่มีเมฆ ก็วางมันขึ้นไปอีก, ถ้าคุณวางประภาคารไว้ใกล้ขอบ เพื่อใช้เส้นนำสายตา ก็ทำมันซะ

จุดประสงค์หลักของภาพคือไม่จำเป็นต้องทำตามกฏ แต่กระตุ้นอามรณ์ความสนใจให้คนดู สื่อสารกับคนดู จำไว้ว่าไม่มีองค์ประกอบไหนที่จะมาเอาชนะคุณได้

ประภาคารนี้อยู่ด้านขวาของเส้นในกฏสามส่วน โชคไม่ดีที่ผมไม่มีเลนส์กว้างพอ ผมต้องนำมันไว้ตรงนั้นเพราะ ไม่อยากตัดคลื่นสวยๆ ตรงขอบหินด้านมุมบนซ้าย

 Credits: DPS

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น