วันอังคารที่ 26 กรกฎาคม พ.ศ. 2559

3 อย่างที่ควรคิด เมื่อคุณจัดองค์ประกอบภาพ BY FOTOFAKA · NOVEMBER 12, 2014 ในช่องมองภาพที่คุณเห็นนั้น มันเป็นส่วนสำคัญมากในการจัดองค์ประกอบภาพ และคุณควรตั้งคำถาม 3 อย่างนี้ ตอนที่คุณกำลังจัดองค์ประกอบภาพ 1) อะไรที่ควรอยู่นอกเฟรม (กรอบของภาพของคุณ) 2) อะไรที่ควรอยู่ในเฟรม 3) subject หลักของภาพควรวางไว้ที่ไหน มันฟังดูง่ายมากใช่ไหมละ แต่เอาเข้าจริงๆ คุณต้องฝึกฝนพอสมควร วิธีที่ดีที่สุดคือ ดูภาพหลายๆภาพ แล้วอธิบายด้วยหลักการ 3 ข้อข้างต้น เราลองมาดูตัวอย่างกันนะ ย่อหน้านี้จะบอกว่าส่วนไหนควรเอาออกไป  ภาพนี้เป็นภาพบุคคล พื้นหลังเป็นป่า เมื่อดูจจากสีก็จะรู้ว่า เป็นคู่สีที่อยู่ตรงข้ามกัน หรือตัดกันนั่นเอง แต่วันนี้เราจะมาพูดถึงการจัดองค์ประกอบ จึงขอเว้นเรื่องนี้ไว้ก่อน คนนี้เป็นนักร้องท้องถิ่น ที่ผมถ่ายไว้ที่ สวนพฤกษศาสตร์ Wellington ผมให้เธอเป็น subject หลักของภาพนี้ เลยถ่ายเธอโดยให้เธออยู่ด้านหน้าพิ้นหลังที่เป็นป่า ฉันใช้เลนส์ 85 mm บนกล้องฟูลเฟรม เลนส์ 85mm เป็นเลนส์เทเลระยะสั้นนี้จะเก็บรายละเอียดของพื้นหลังได้ไม่เยอะเหมือนเลนส์ wide ฉันจึงได้พื้นหลังที่เบลอ (ไม่ชัด) โดยการใช้ aperture ที่ f/2.8 นี่ทำให้ต้นไม้ ใบไม้พื้นหลังไม่ดึงดูความสนใจไปจากนางแบบ (ไม่รกตา) แต่ก็ยังเห็นว่าเป็นต้นไม้ใบไม้อยู่ ผมวางนางแบบไว้ตรงกลางเฟรม การวางแบบไว้ตรงกลางเฟรม มันจะได้ผลดีในกรณีที่แบบนั้นมีความโดดเด่นมาก ในกรณีนี้ก็เช่นกัน ดังนั้นเธอก็ไม่จำเป็นต้องไปอยู่ในกฏสามส่วน แน่นอนว่านี่เป็นเรื่องของมุมมองของแต่ละคน บางคนก็ไม่เห็นด้วยกับผม เดี๋ยวผมจะลอง crop ภาพนี้ให้เป็นไปตามกฏสามส่วน ในโลกอุดมคติเราพยายามถ่ายรูปออกมาให้สมบูรณ์แบบที่สุด แต่บางครั้งเราอาจต้องมา crop รูปเพื่อทำให้องค์ประกอบดีขึ้น ผมเอาสองเวอร์ชั่นมาให้ดูครับ  คุณชอบรูปไหนมากกว่ากัน ซ้าย หรือ ขวา ส่วนผมชอบซ้ายนะ ผมรู้สึกว่ามันสมดุลกันระหว่างนางแบบและพื้นหลัง รูปขวาเป็นรูปที่ครอป แล้วทำให้เห็นพื้นหลังน้อยลง อย่างไนก็ตามเราเห็นนักร้องใหญ่ขึ้น มันดึงดูดความสนใจจากคนดูได้มากขึ้น มันไม่มีอันไหนผิด หรือ ถูกหรอก สิ่งที่น่าสนใจคือเมื่อเรา ครอปภาพหรือเปลี่ยนองค์ประกอบนิดหน่อย มันทำให้เกิดความเปลี่ยนแปลงไปอย่างมากในภาพเดิมนั้น มาดูภาพถ่ายนางแบบที่ทะเลกันครับ ย่อนหน้านี้จะทำให้รู้ว่าอะไรที่เราควรเอาเข้ามาในเฟรม  ในตัวอย่างแรกนั้น ผมเก็บพื้นหลังมาน้อยมาก แต่ในภาพนี้ผมเก็บพื้นหลังมาเยอะพอสมควร สิ่งแวดล้อมพื้นหลังต่างๆนั้นเป็นสิ่งที่จำเป็นในการถ่ายภาพบุคคล ผมได้ถ่ายรวมทั้ง เมฆที่ครึ้มฝน ภูเขา บ้านคน โดยรวมมันจะทำให้บรรยากาศที่เปล่าเปลี่ยว ทีนี้ผมมีความคิดว่าอยากให้สายตาคนนั้นดึงนางแบบ ออกจากพื้นหลังเหล่านั้นซะ ผมเลยใช้เลนส์ไวด์ 24mm บนกล้องฟูลเฟรม ผมเข้าใกล้นางแบบมากขึ้น เลนส์นี้มันจะเก็บพื้นหลังมาเยอะพอสมควร  ผมเลยใช้ f/2.8 ทำพื้นหลังให้ชัดน้อยลงนิดหน่อย จุดที่นางแบบยืนนั้นสำคัญมากกับการจัดองค์ประกอบ ถ้าคุณเคยใช้เลนส์ไวด์ คุณจะรู้ว่า การเปลี่ยนแปลงเล็กน้อยในจุดที่ยืนนั้น ทำให้เกิดความแตกต่างในการจัดองค์ประกอบมาก  ผมเลยตั้งใจถือกล้องให้สูงพอที่จะเห็นชายหาดอยู่สูงกว่าหัวนางแบบ ตัดบ้านที่อยู่ในพื้นหลังออกไป ทำให้คุณเห็นแค่นางแบบ และ ชายหาด  ผมพยายามป้องกันไม่ให้นางแบบ และบ้านอยู่ซ้อนกัน นั่นทำให้การจัดองค์ประกอบแข็งแรงยิ่งขึ้น เทศกาลโคมไฟจีน ย่อนหน้านี้จะทำให้รู้ว่าควรวางแบบ (subject) ไว้ที่ไหน ภาพนี้ผมถ่ายเทศกาลโคมไฟจีนที่ Auckland มีโคมไฟที่น่าสนใจอยู่เป็นร้อยชิ้นเลย มันเป็น Subject ที่ดีมากๆเลย  ผมไปถ่ายมันแบบเรียบง่ายโดยใช้กล้องและเลนส์ตัวเดียว 85 mm ผมโฟกัสบนตัวแบบ และตั้งรูรับแสงให้กว้างทำให้ฉากหลังเบลอ นี่เป็นหนึ่งในรูปที่ผมชอบจากการไปที่นั่น ผมถ่ายมันจากหลายๆมุมมอง คำถามคือผมควรจะถ่ายเก็บตัวแบบนี้มามากแค่ไหน ตัวแบบเต็มๆนี้จะถือกรงนกอยู่ ถ่ายเก็บมาทั้งหมดจะทำให้องค์ประกอบดูไม่น่าสนใจ แต่ถ้าใกล้ไปก็อาจแน่นเกินไป ทางออกคือ พยายามนึกมุมมอง และลองถ่ายดูจากหลายๆมุม เข้าไปใกล้ดูหน่อย ออกห่างดูนิด คุณก็จะตัดสินใจได้ว่ารูปไหนดีทีสุด ยิ่งคุณถ่ายเยอะ คุณก็สามารถเห็นรูปหลากหลายมุมมองอย่างชัดเจนขึ้น การถ่ายแบบนี้มันเป็นการวอร์มความคิดของคุณ ให้เห็นภาพจริงๆ มันช่วยให้คุณเห็นมุมมองที่แตกต่างได้อีกหลายๆมุม มันช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการจัดองค์ประกอบของคุณได้ นี่เป็นตัวอย่างภาพจากหลายๆมุมมอง  Credits: digital-photography-school Andrew S. Gibson

3 อย่างที่ควรคิด เมื่อคุณจัดองค์ประกอบภาพ

BY FOTOFAKA · NOVEMBER 12, 2014

ในช่องมองภาพที่คุณเห็นนั้น มันเป็นส่วนสำคัญมากในการจัดองค์ประกอบภาพ

และคุณควรตั้งคำถาม 3 อย่างนี้ ตอนที่คุณกำลังจัดองค์ประกอบภาพ

1) อะไรที่ควรอยู่นอกเฟรม (กรอบของภาพของคุณ)

2) อะไรที่ควรอยู่ในเฟรม

3) subject หลักของภาพควรวางไว้ที่ไหน

มันฟังดูง่ายมากใช่ไหมละ แต่เอาเข้าจริงๆ คุณต้องฝึกฝนพอสมควร วิธีที่ดีที่สุดคือ ดูภาพหลายๆภาพ แล้วอธิบายด้วยหลักการ 3 ข้อข้างต้น

เราลองมาดูตัวอย่างกันนะ ย่อหน้านี้จะบอกว่าส่วนไหนควรเอาออกไป

ภาพนี้เป็นภาพบุคคล พื้นหลังเป็นป่า

เมื่อดูจจากสีก็จะรู้ว่า เป็นคู่สีที่อยู่ตรงข้ามกัน หรือตัดกันนั่นเอง แต่วันนี้เราจะมาพูดถึงการจัดองค์ประกอบ จึงขอเว้นเรื่องนี้ไว้ก่อน

คนนี้เป็นนักร้องท้องถิ่น ที่ผมถ่ายไว้ที่ สวนพฤกษศาสตร์ Wellington ผมให้เธอเป็น subject หลักของภาพนี้ เลยถ่ายเธอโดยให้เธออยู่ด้านหน้าพิ้นหลังที่เป็นป่า ฉันใช้เลนส์ 85 mm บนกล้องฟูลเฟรม เลนส์ 85mm เป็นเลนส์เทเลระยะสั้นนี้จะเก็บรายละเอียดของพื้นหลังได้ไม่เยอะเหมือนเลนส์ wide ฉันจึงได้พื้นหลังที่เบลอ (ไม่ชัด) โดยการใช้ aperture ที่ f/2.8 นี่ทำให้ต้นไม้ ใบไม้พื้นหลังไม่ดึงดูความสนใจไปจากนางแบบ (ไม่รกตา) แต่ก็ยังเห็นว่าเป็นต้นไม้ใบไม้อยู่

ผมวางนางแบบไว้ตรงกลางเฟรม การวางแบบไว้ตรงกลางเฟรม มันจะได้ผลดีในกรณีที่แบบนั้นมีความโดดเด่นมาก ในกรณีนี้ก็เช่นกัน ดังนั้นเธอก็ไม่จำเป็นต้องไปอยู่ในกฏสามส่วน

แน่นอนว่านี่เป็นเรื่องของมุมมองของแต่ละคน บางคนก็ไม่เห็นด้วยกับผม เดี๋ยวผมจะลอง crop ภาพนี้ให้เป็นไปตามกฏสามส่วน
ในโลกอุดมคติเราพยายามถ่ายรูปออกมาให้สมบูรณ์แบบที่สุด แต่บางครั้งเราอาจต้องมา crop รูปเพื่อทำให้องค์ประกอบดีขึ้น

ผมเอาสองเวอร์ชั่นมาให้ดูครับ

คุณชอบรูปไหนมากกว่ากัน ซ้าย หรือ ขวา ส่วนผมชอบซ้ายนะ ผมรู้สึกว่ามันสมดุลกันระหว่างนางแบบและพื้นหลัง

รูปขวาเป็นรูปที่ครอป แล้วทำให้เห็นพื้นหลังน้อยลง อย่างไนก็ตามเราเห็นนักร้องใหญ่ขึ้น มันดึงดูดความสนใจจากคนดูได้มากขึ้น

มันไม่มีอันไหนผิด หรือ ถูกหรอก สิ่งที่น่าสนใจคือเมื่อเรา ครอปภาพหรือเปลี่ยนองค์ประกอบนิดหน่อย มันทำให้เกิดความเปลี่ยนแปลงไปอย่างมากในภาพเดิมนั้น

มาดูภาพถ่ายนางแบบที่ทะเลกันครับ ย่อนหน้านี้จะทำให้รู้ว่าอะไรที่เราควรเอาเข้ามาในเฟรม

ในตัวอย่างแรกนั้น ผมเก็บพื้นหลังมาน้อยมาก แต่ในภาพนี้ผมเก็บพื้นหลังมาเยอะพอสมควร สิ่งแวดล้อมพื้นหลังต่างๆนั้นเป็นสิ่งที่จำเป็นในการถ่ายภาพบุคคล ผมได้ถ่ายรวมทั้ง เมฆที่ครึ้มฝน ภูเขา บ้านคน โดยรวมมันจะทำให้บรรยากาศที่เปล่าเปลี่ยว

ทีนี้ผมมีความคิดว่าอยากให้สายตาคนนั้นดึงนางแบบ ออกจากพื้นหลังเหล่านั้นซะ

ผมเลยใช้เลนส์ไวด์ 24mm บนกล้องฟูลเฟรม ผมเข้าใกล้นางแบบมากขึ้น เลนส์นี้มันจะเก็บพื้นหลังมาเยอะพอสมควร  ผมเลยใช้ f/2.8 ทำพื้นหลังให้ชัดน้อยลงนิดหน่อย

จุดที่นางแบบยืนนั้นสำคัญมากกับการจัดองค์ประกอบ ถ้าคุณเคยใช้เลนส์ไวด์ คุณจะรู้ว่า การเปลี่ยนแปลงเล็กน้อยในจุดที่ยืนนั้น ทำให้เกิดความแตกต่างในการจัดองค์ประกอบมาก  ผมเลยตั้งใจถือกล้องให้สูงพอที่จะเห็นชายหาดอยู่สูงกว่าหัวนางแบบ ตัดบ้านที่อยู่ในพื้นหลังออกไป ทำให้คุณเห็นแค่นางแบบ และ ชายหาด

ผมพยายามป้องกันไม่ให้นางแบบ และบ้านอยู่ซ้อนกัน นั่นทำให้การจัดองค์ประกอบแข็งแรงยิ่งขึ้น

เทศกาลโคมไฟจีน ย่อนหน้านี้จะทำให้รู้ว่าควรวางแบบ (subject) ไว้ที่ไหน

ภาพนี้ผมถ่ายเทศกาลโคมไฟจีนที่ Auckland มีโคมไฟที่น่าสนใจอยู่เป็นร้อยชิ้นเลย มันเป็น Subject ที่ดีมากๆเลย

ผมไปถ่ายมันแบบเรียบง่ายโดยใช้กล้องและเลนส์ตัวเดียว 85 mm ผมโฟกัสบนตัวแบบ และตั้งรูรับแสงให้กว้างทำให้ฉากหลังเบลอ นี่เป็นหนึ่งในรูปที่ผมชอบจากการไปที่นั่น

ผมถ่ายมันจากหลายๆมุมมอง คำถามคือผมควรจะถ่ายเก็บตัวแบบนี้มามากแค่ไหน ตัวแบบเต็มๆนี้จะถือกรงนกอยู่ ถ่ายเก็บมาทั้งหมดจะทำให้องค์ประกอบดูไม่น่าสนใจ แต่ถ้าใกล้ไปก็อาจแน่นเกินไป

ทางออกคือ พยายามนึกมุมมอง และลองถ่ายดูจากหลายๆมุม เข้าไปใกล้ดูหน่อย ออกห่างดูนิด คุณก็จะตัดสินใจได้ว่ารูปไหนดีทีสุด

ยิ่งคุณถ่ายเยอะ คุณก็สามารถเห็นรูปหลากหลายมุมมองอย่างชัดเจนขึ้น การถ่ายแบบนี้มันเป็นการวอร์มความคิดของคุณ ให้เห็นภาพจริงๆ มันช่วยให้คุณเห็นมุมมองที่แตกต่างได้อีกหลายๆมุม มันช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการจัดองค์ประกอบของคุณได้ นี่เป็นตัวอย่างภาพจากหลายๆมุมมอง

Credits: digital-photography-school Andrew S. Gibson

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น